“รื้อฟื้นของดี วิถีพวกแต้ม” ฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่ร่วมกันผลักดันให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลก

“รื้อฟื้นของดี วิถีพวกแต้ม” ฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่ร่วมกันผลักดันให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลก

พ่อเมืองเชียงใหม่ เปิดงานเสวนา “รื้อฟื้นของดี วิถีพวกแต้ม” ฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของภาคประชาชน ในการอนุรักษ์และสืบสาน ร่วมกันผลักดันให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลก

นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดกิจกรรม “รื้อฟื้นของดี วิถีพวกแต้ม” โดยสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่, คณะวิจิตรศิลป์ และคณะสถาปัตย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ จัดขึ้น เพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของภาคประชาชนต่อการอนุรักษ์สืบสานชุมชนวัดพวกแต้ม และของเมืองเชียงใหม่ อีกทั้ง ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้ร่วมกันของภาคประชาชน ภาคเครือข่าย ในการพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์สืบสานมรดกทางวัฒนธรรม

สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม และ มรดกทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ โครงการการพัฒนาตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ “พวกแต้มคัวตอง” อาคารทางศาสนา และพื้นที่โดยรอบภายในของวัดพวกแต้ม จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นกิจกรรมสุดท้ายของโครงการการพัฒนาตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ “พวกแต้มคัวตอง” ที่มีการจัดกิจกรรมมาก่อนหน้านี้ทั้งสิ้น 5 กิจกรรม ได้แก่ 1.สืบซ่อม ฮอมแฮง แปงสร้าง 2.คนแต้ม คัวตอง 3.เตียวล่องกอง ผ่อของงาม 4.ช่างฟ้อน กลองชุม และ 5.รื้อฟื้นของดี วิถีพวกแต้ม ซึ่งกิจกรรมทั้ง 5 มุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเน้นกระบวนการดำเนินงานระหว่าง วัด บ้าน และชุมชนร่วมถึงหน่วยงานจากทางภาครัฐ สถาบันการศึกษา เอกชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางความคิดทางความช่วยเหลือ อันจะส่งผลไปสู่เป้าหมายในการอนุรักษ์

สำหรับ ภายในงานได้จัดโซนนิทรรศการเพื่อให้ความรู้มากมาย อาทิ นิทรรศการ “สืบซ่อม ฮอมแฮง แปงสร้าง” แสดงถึงสถาปัตยกรรมหอไตรของวัดพวกแต้ม , นิทรรศการ “คนแต้ม คัวตอง” รวบรวมรูปภาพเก่าของชุมชนวัดพวกแต้ม , นิทรรศการ “เตียวล่องกอง ผ่อของงาม” รวบรวมแผนที่ทางวัฒนธรรมของชุมชนพวกแต้ม ที่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปภายในชุมชน ตลอดจน นิทรรศการ “ช่างฟ้อน กลองชุม” ที่ให้ความรู้ในเรื่องของการแต่งกายสำหรับช่างฟ้อน และความสำคัญในเรื่องของการแสดงว่ามีความสำคัญ ในการรักษาคุณค่า ทางอาคารสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่ สู่เป้าหมายของการเป็นเมืองมรดกโลกต่อไป

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้