มช.เดินหน้าโครงการยกระดับการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงครบวงจร

มช.เดินหน้าโครงการยกระดับการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงครบวงจร

มช.เดินหน้าโครงการยกระดับการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงครบวงจร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่เกษตรกรเลี้ยงผึ้งในภูมิภาคฯเพื่อพัฒนาสู่การผลิตเชิงพาณิชย์อย่างคุ้มค่า พร้อมแข่งขันตลาดโลก เผยปีที่ผ่านมาไทยมีปริมาณการส่งออกน้ำผึ้งจำนวน 8,945.17 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 577.64 ล้านบาท มีตลาดส่งออกหลัก คือ ประเทศเยอรมนี ไต้หวัน และซาดุดิอาระเบีย

เมื่อวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 ที่ห้องประชุม โรงแรม ยู นิมมาน เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ“การยกระดับการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงครบวงจร” ซึ่งภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้น โดยมีนาย Yang Jiong ผู้อำนวยการสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ และ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ พร้อมคณาจารย์และผู้ประกอบการด้านการเลี้ยงผึ้งจากประเทศในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ประกอบด้วย ไทย จีน ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม  เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้

รองศาสตราจารย์ ดร. เทิด ดิษยธนูวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ในฐานะหัวหน้าโครงการฯกล่าวว่า สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการฯนี้ ก็เพื่อยกระดับการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2567 โดยแผนดำเนินงานในปี พ.ศ.2566  มุ่งหวังจัดการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในด้านการผลิตอย่างครบวงจร พัฒนาไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์อย่างคุ้มค่า และช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

“ เนื่องจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรวบรวมองค์ความรู้ และถ่ายทอดผลงานวิจัยต่าง ๆ  โครงการนี้จึงช่วยยกระดับและส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงอย่างเป็นระบบ  เพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากลและอนุรักษ์พันธุ์ผึ้งในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ดังนั้นโครงการจึงดำเนินการวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ในการสำรวจสุขภาพของผึ้งและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง/อุตสาหกรรมเลี้ยงผึ้งและนักวิทยาศาสตร์ เพื่อติดตามสุขภาพของผึ้ง การจัดการการเลี้ยงผึ้งอย่างเป็นระบบ สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์จากผึ้งที่มีคุณภาพ เพื่อการค้าและการบริโภค พร้อมทั้งยังเป็นการแบ่งปันนโยบายทางการค้าของผลิตภัณฑ์ผึ้งที่มีคุณภาพ เช่น น้ำผึ้ง นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูล (Big data analyze) ขององค์ความรู้ที่เกิดจากดำเนินโครงการ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้กับลักษณะทางสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เกิดภาพแบบองค์รวม เพื่อช่วยให้เห็นภาพใหญ่ในการอนุรักษ์ผึ้งเอเชียอีกด้วย”หัวหน้าโครงการยกระดับการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงครบวงจร กล่าวและชี้แจงอีกว่า

โดยปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกน้ำผึ้งจำนวน 8,945.17 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 577.64 ล้านบาท มีตลาดส่งออกหลัก คือ ประเทศเยอรมนี ไต้หวัน และซาดุดิอาระเบีย โดยกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งของไทยและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น น้ำผึ้ง นมผึ้ง ไขผึ้ง เกสรผึ้ง และพรอพอลิส ได้ขยายตัวเติบโตเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศไทยมีการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในพื้นที่ 40 จังหวัด ได้ผลผลิตน้ำผึ้งประมาณ 10,000 ตัน ทั้งยังผลิตนมผึ้ง ได้ประมาณ 200 ตัน ไขผึ้ง 300 ตัน และเกสรผึ้งประมาณ 100 ตัน สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงผึ้งค่อนข้างสูง ทั้งยังเกิดการจ้างงานในระดับชุมชนและระดับประเทศ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมมากกว่า 10,000 คน คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งหากมีการส่งเสริมและยกระดับองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งอย่างจริงจังพร้อมพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถ สามารถแข่งขันกับสินค้าน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้งของไทยในตลาดโลกได้.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่​ ร่วมภาคีเครือข่าย เฉลิมพระเกียรติ​ในหลวง ร.10 ครบ 6 รอบ “ปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา ที่หนองเขียว”

จำนวนผู้