ปักหมุด“ชัยภูมิ ป่าแส” รำลึกถูกวิสามัญฯ ครบ 2 เดือน กระตุ้นสังคมแสวงหาสัจจะ-ยุติธรรม

ปักหมุด“ชัยภูมิ ป่าแส” รำลึกถูกวิสามัญฯ ครบ 2 เดือน กระตุ้นสังคมแสวงหาสัจจะ-ยุติธรรม

- in headline, จับกระแสสังคม

เชียงใหม่ (17 พ.ค.60) / กลุ่มนักกิจกรรม-ชาวบ้าน-นักวิชาการ ร่วมรำลึก 60 วัน “ชัยภูมิ ป่าแส” อย่างคึกคัก หลายฝ่ายลั่นช่วยสานฝันทำงานเพื่อสังคมต่อ พร้อมปักหมุดอนุสาวรีย์ เตือนให้สังคมไทยระลึกถึงหลัก 3 ประการของกระบวนการยุติธรรม เพื่อแสวงหาสัจจะแสะความยุติธรรม  เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 17 พ.ค. กลุ่มพื้นที่นี้…ดีจัง ได้จัดกิจกรรมรำลึก 60 วัน ชัยภูมิ-สานฝันจะอุ๊ คืนความจริง คืนความเป็นธรรม ที่บริเวณด่านตรวจรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดยมีกลุ่มนักกิจกรรม และชาวบ้านในพื้นที่ เข้าร่วมอย่างคับคั่ง นอกจากนี้ยังคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาทิ ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร จากศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์, นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์, รศ.สมชาย ปรีชากุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ จากคณะมนุษยศาสตร์ และนายชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการ ม.เที่ยงคืน เดินทางมาร่วมกิจกรรมด้วยกิจกรรมเริ่มจากพิธีทำบุญเลี้ยงข้าวให้คนตาย และเชิญชวนผู้ร่วมงานรับประทานอาหารร่วมกัน จากนั้นจึงจุดเทียนอธิษฐานให้แก่ผู้เสียชีวิตตามความเชื่อของชาวลาหู่  เพื่อขอให้ความจริงและความเป็นธรรมปรากฏโดยเร็ว ก่อนที่คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายติดตามคดีวิสามัญฯ นายชัยภูมิ ป่าแส นำโดย ดร.มาลี จะอ่านคำประกาศ ใจความโดยสรุปคือครบ 2 เดือน ที่นายชัยภูมิ ถูกฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเหตุให้สามัญชนผู้คาดหวังในสัจจะและความยุติธรรม มารวมตัวกันเพื่อระลึกถึงความตายของเขา ซึ่งนายชัยภูมิ ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และต่อสู้ขัดขืน ทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยระเบิด จึงถูกฆาตกรรม และแม้ว่าคดีความจะไม่ได้ดำเนินไปตามจังหวะที่น่าพอใจสำหรับสาธารณชน แต่ผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ กลับออกมาแสดงความคิดเห็นเชิงปกป้องเพื่อนร่วมอาชีพ โดยไม่ได้สำเหนียกถึงข้อเท็จจริง ว่าคดียังไม่มีความกระจ่าง และแสดงถึงความไร้มนุษยธรรม ว่าไม่พึงมีสามัญชนคนใดสังหารสามัญชนอีกคนหนึ่งได้เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน พบว่านายชัยภูมิ เป็นเพียงหนึ่งในสามัญชนที่ประสบกับการกระทำอันร้ายกาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งภายใต้รัฐที่ไร้ความรับผิดชอบเราทุกคนไม่ว่าจะอยู่เชื้อชาติ ภาษา ท้องถิ่น หรือชนชั้นใดก็ตาม ล้วนมีโอกาสกลายเป็นเหยื่อของความรุนแรง อันป่าเถื่อนโดยเจ้าหน้าที่รัฐได้ทั้งสิ้น ตราบเท่าที่สัจจะและความยุติธรรมยังถูกเพิกเฉยโอกาสนี้พวกเราจึงจัดทำอนุสาวรีย์ เพื่อรำลึกโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับสามัญชนทุกหมู่เหล่าที่เจ้าหน้าที่รัฐได้ข่มเหงคุกคามทางกายภาพ ชีวิต และศักดิ์ศรี โดยขออัญเชิญนามของนายชัยภูมิ ป่าแส มาสถิตย์จารึกไว้ ณ อนุสาวรีย์แห่งนี้ และแผ่นหินอ่อนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสีดำ พึงเตือนให้สังคมไทยระลึกถึงหลักการสำคัญ 3 ประการของกระบวนการยุติธรรม คือ 1) การแสวงหาสัจจะในคดีความ 2) การมีจิตประภัสสรอันปราศจากอคติ และ 3) มนุษยธรรมหรือความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ตลอดจนเหตุที่เลือกให้เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า เพื่อย้ำเตือนความสำคัญของความเท่าเทียม ความเสมอภาค โดยไม่คำนึงถึงสภาพทางสังคมและเชื้อชาติภาษาหมุดหรืออนุสาวรีย์นี้ จะบรรลุผลก็ต่อเมื่อ มันได้ทำหน้าที่ของมันคือการบรรจุและส่งต่อข้อความความหมายความรู้สึกและความจำอันขมขื่นของสามัญชนทั้งปวงจากกลุ่มหนึ่งสู่อีกกลุ่มหนึ่งจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นที่สอง จากสังคมนี้ไปสังคมคนอื่น เพื่อแสวงหาสัจจะและความยุติธรรมอันเป็นเป้าหมายสุดท้าย

ต่อมาตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ได้ออกมากล่าวแสดงความรำลึกถึงนายชัยภูมิ และปลุกให้มีการสานฝันของนายชัยภูมิ ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไปนายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า กรณีของนายชัยภูมิ ไม่ใช่กรณีแรกของประเทศไทย มีคนถูกยิง ถูกซ้อมทรมาน อุ้มหาย ในกลุ่มนักเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมเพื่อสังคมชาติพันธุ์จำนวนมาก ซึ่งรัฐจำเป็นต้องแก้ปัญหาให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ คนเล็กคนน้อย กับเจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมกันนั้น ยังได้เสนอ 6 ข้อคือ 1) รัฐต้องเลิกใช้การดูแลคนเชิงอำนาจ เช่น การตั้งด่าน ตรวจค้น แล้วยิง แล้วใช้วิธีการเข้าหาให้เกิดการยอมรับแทน 2) ต้องยอมรับว่าไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม มีความหลากหลาย มีกลุ่มชาติพันธุ์ 3) รัฐต้องกำจัดอคติต่อชาติพันธุ์ ไม่ใช่คิดว่ากลุ่มชาติพันธุ์คือกลุ่มค้ายา  4) รัฐต้องรีบออกร่าง พ.รบ.ป้องกันการซ้อมทรมาน 5) รัฐต้องมีกระบวนการคุ้มครองคนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสังคม 6) ต้องมีการเยียวยาผู้สูญเสียด้านนายสุมิตรชัย หัตถสาร  ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 พ.ค.60 เวลา 14.00 น. ทีมทนายความ พร้อมด้วยนางนาปอย ป่าแส มารดาของนายชัยภูมิ จะเดินทางไปยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ที่สำนักงานอัยการเชียงใหม่ เพื่อติดตามความคืบหน้าของคดีความให้ดำเนินไปด้วยความโปร่งใส  และยุติธรรม โดยอยากให้อัยการรวบรวมหลักฐานให้ได้มากที่สุด เพื่อให้นำไปสู่การซักถาม หรือหาพยานหลักฐานอื่นๆ มาประกอบเพิ่มเติม ให้เกิดความชัดเจน“สิ่งที่กังวลอยู่ขณะนี้คือกลัวภาพจากกล้องวงจรปิดไม่สามารถเปิดได้ เพราะเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่เห็นเหตุการณ์ตอนที่เกิดเหตุ ซึ่งที่ผ่านมาทางแม่ทัพภาคที่ 3 บอกว่าได้ดูแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าภาพยังมีอยู่ ส่วนภาพจะตอบโจทย์หรือไม่ หรือเห็นเหตุการณ์แค่ไหน เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในคดีอีกชั้นหนึ่ง แต่อย่างน้อยก็ได้เห็น ดังนั้นจึงกังวลอยู่ว่าถ้าภาพเหล่านี้เสียหายไป ในการดำเนินคดี หรือไต่สวน ก็จะไม่ชัดเจน” ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชน กล่าว

ด้านนางนาปอย  กล่าวสะท้อนความรู้สึก ด้วยภาษาลาหู่เพียงสั้นๆ ว่า ในวันนี้ไม่มีลูกอยู่แล้ว แต่ยังรู้สึกคิดถึงลูกมากในช่วงสุดท้าย คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ปักหมุดชัยภูมิ ก่อนให้กลุ่มผู้ร่วมงานวางอ่อเวะ หรือดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นชื่อชัยภูมิ โดยมีกลุ่มเยาวชนที่เป็นเสมือนลูกศิษย์ด้านดนตรีของนายชัยภูมิ ออกมาเต้นแจโก่ เพื่อรำลึกถึงนายชัยภูมิเป็นการปิดท้ายกิจกรรมในช่วงบ่าย ก่อนจะเคลื่อนย้ายไปลานโบสถ์บ้านกองผักปิ้ง เตรียมจัดกิจกรรมมินิคอนเสิร์ตสานฝันจะอุ๊ ในช่วงเย็นวันเดียวกัน

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้