นักเรียนตะพานหินชวนกินข้าวเช้า สำแดงพลังเด็ก“กินเปลี่ยนชีวิต”

นักเรียนตะพานหินชวนกินข้าวเช้า สำแดงพลังเด็ก“กินเปลี่ยนชีวิต”

มื้อเช้านับว่ามีความสำคัญ โดยเฉพาะกับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโตที่ต้องการอาหารและพลังงานไปหล่อเลี้ยงสมอง และเซลล์ต่างๆ ของร่างกายให้เติบโตสมวัย แต่ปัจจุบันมื้อเช้าดูจะถูกละเลยไปโดยเฉพาะในวัยเด็ก

“ไม่มีเวลา ยังไม่หิว ตื่นสาย รีบไปโรงเรียน ผู้ปกครองไม่ทำให้ทาน” ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นข้ออ้างต้นๆ ของเด็กที่ปฏิเสธมื้อเช้าที่สำคัญนี้โรงเรียนตะพานหิน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ซึ่งมีนักเรียนมากกว่า 2,000 คน แม้จะเป็นโรงเรียนต่างจังหวัดแต่ก็ประสบปัญหานักเรียนมีพฤติกรรมไม่ทานมื้อเช้า ไม่ต่างจากเด็กในเมืองที่ดูเร่งรีบไปทุกสิ่ง

ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการ “เช้านี้กินข้าวกันเถอะ” เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการทานมื้อเช้า โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ภายใต้ชุดโครงการพลังเด็กและเยาวชนสร้างสุขภาวะชุมชน : เปลี่ยนโลกด้วยมือเรา Food for Change “พลังเด็ก กินเปลี่ยนโลก”น.ส.พัชรินทร์ พูลสวัสดิ์ นักเรียนชั้น ม.4 แกนนำโครงการ เล่าถึงสาเหตุของการไม่ทานมื้อเช้าของตนเองและเพื่อนๆ ว่า เพราะต้องตื่นเช้ามาโรงเรียน บางคนอยู่ต่างอำเภอต้องนั่งรถมาโรงเรียนตั้งแต่เช้ามืด บางคนพ่อแม่ไม่ได้ทำอาหารเช้าให้ บ้างก็รีบทำการบ้านก่อนเข้าเรียน ทำให้ไม่รู้สึกหิว แต่พอช่วงพักเบรก หลายๆ คนจะรีบหาอะไรมาทานกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการบริหารเวลาในแต่ละวันไม่ดี จึงเกิดผลกระทบต่อเนื่องกันไปหมดพัชรินทร์จึงอยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาทานข้าวเช้ากันโดยเริ่มจากนักเรียนแกนนำ 5 คน แล้วขยายไปยังกลุ่มเป้าหมาย คือ น้อง ม.1 ซึ่งเปรียบเสมือนต้นกล้าแรกเริ่มของโรงเรียนที่ต้องช่วยกันดูแลกิจกรรมจะเริ่มจากสร้างเยาวชนแกนนำเพิ่มอีก 15 คน รวมเป็น 20 คน ประชาสัมพันธ์โครงการชักชวนน้องๆ ม.1 ซึ่งได้สำรวจแล้วว่าไม่รับประทานอาหารเช้า ให้มาเข้าร่วมโครงการอีก 46 คน รวมผู้เข้าร่วมโครงการ 66 คนจากนั้นก็พาน้องไปอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความตระหนักในการบริหารจัดการเวลา ประโยชน์ของมื้อเช้า โทษของการไม่ทานมื้อเช้า เช่น ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย ส่งผลต่อการเรียน เป็นต้น ตลอดจนทำป้ายประชาสัมพันธ์ติดประกาศตามจุดต่างๆ ภายในโรงเรียน เพื่อเชิญชวนและให้ความรู้แก่นักเรียนกลุ่มอื่นๆ ผู้เข้าร่วมโครงการจะจดบันทึกประจำตัว เพื่อบันทึกข้อมูลการรับประทานอาหารเช้าในแต่ละวัน โดยเน้นรับประทานมาจากบ้านมากกว่ากินที่โรงเรียน ให้มีการทำตารางเวลาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อไม่ให้ชีวิตยุ่งเหยิงทำให้มีเวลาในการรับประทานอาหารเช้า“เรายังยังส่งเสริมเรื่องของการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ “กินให้ครบจบที่ 5 หมู่” ด้วยการจัดกิจกรรมตอบคำถามร่วมสนุก จัดประกวดป้ายหรรษาพาเพลิน และแจกเมล็ดพันธุ์และกล้าผักให้น้องๆ ไปปลูกไว้รับประทานที่บ้าน ซึ่งน้องๆ เหมือนต้นกล้าแรกเริ่มของโรงเรียน เราจะต้องช่วยกันดูแลให้ต้นกล้านี้เจริญเติบโตอย่างสวยงาม” น้องพัชรินทร์ กล่าวสำหรับการติดตามประเมินผลนั้น พัชรินทร์ บอกว่า หลังจากทำโครงการพบว่ามีการรับประทานอาหารเช้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 โดยให้แกนนำรุ่นพี่ประกบน้อง 2-3 คน เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด ในการสร้างความคุ้นเคย สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจคอยสอบถามน้องว่าได้ทานข้าวเช้ามาหรือไม่ ตรวจดูสมุดบันทึกของน้องๆ และการใช้โซเชียลมีเดียในการปลุกกระแส ซึ่งแต่ละวันน้องๆ ก็จะอัพรูปการทานข้าวเช้ามาอวดกัน“การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าทุกคนช่วยกัน ร่วมมือกันก็จะสำเร็จ” น.ส.พัชรินทร์  เยาวชนแกนนำ ย้ำถึงความตั้งใจการทำงาน

ด้าน เด็กหญิงกวินธิดา ชำนงค์การ น้อง ม.1 กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการว่า ตอนที่พี่แกนนำมาสอบถามที่หน้าชั้นเรียน ว่า มีน้องๆ คนไหนไม่ทานข้าวเช้ามาบ้าง เธอไม่กล้ายกมือ ไม่มั่นใจ และไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการ เพราะคิดว่าพี่ๆ คงเลือกคนอื่นที่ดีกว่า แต่เมื่อเพื่อนๆ ชั้นเดียวกันชักชวนเลยลองเข้าร่วมดู ซึ่งได้ความรู้ ความสนุกสนานมาก ได้รู้ถึงข้อดีของอาหารเช้า และข้อเสียของการไม่กินอาหารเช้า และการกินให้ครบ 5 หมู่ จากแค่ก่อนจะไม่กินมื้อเช้าเลย มาตอนนี้จะกินข้าวเช้าทุกวันขณะที่ ทิพย์สุดา อ่อนพุทธา ครูที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นแกนนำในการทำทั้งหมด โดยครูมีหน้าที่เพียงให้คำปรึกษา หลังจากตอบรับเข้าร่วมโครงการก็ให้แกนนำช่วยกันคิดโครงการด้วยตัวเอง ซึ่งเด็กๆ จะคิดมาในวงกว้างมากมาย ครูก็มีหน้าที่ช่วยตบประเด็น รวบรัดโครงการให้ ว่าอันไหนทำได้ อันไหนทำไม่ได้ ซึ่ง “เช้านี้กินข้าวเช้ากันเถอะ” เกิดขึ้นจากเรื่องใกล้ตัวของเยาวชนแกนนำทั้ง 5 คน ที่ไม่ชอบทานมื้อเช้าเลย ดังนั้นจึงคิดว่าทำในเรื่องใกล้ตัว น่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งก่อนและหลังโครงการได้มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพเพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการอีกทางหนึ่งนอกจากกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพแล้ว เด็กๆ ยังได้รู้จักการทำงานเป็นทีม มีจิตอาสา พัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำ ซึ่งแกนนำ 5 คน ที่ทำโครงการนี้ ไม่ได้เป็นเด็กที่เรียนดีที่สุด หรือเป็นแกนนำของโรงเรียนมาก่อนเลย แต่เราเปิดโอกาสให้เด็กๆ ทุกคนได้สร้างความเป็นผู้นำให้กล้าพูด กล้าแสดงออก กล้านำเสนอ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับสังคม ได้รับประสบการณ์มากมาย“เช้านี้กินข้าวเช้ากันเถอะ” แม้จะเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ของน้องๆ แกนนำ แต่สามารถขยายผลไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนทั้งโรงเรียนได้ เหนืออื่นใด การที่น้องๆ  ได้พัฒนาศักยภาพ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายและเยาวชนในการมีบทบาทต่อชุมชน สังคม และการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโลกรอบตัว.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้