ธ.ก.ส.เตรียมวงเงินกว่า 1 พันล้านบาทเพื่อดูดซับปริมาณและกระจายผลผลิตผลไม้ในฤดูกาลไปยังตลาดเป้าหมาย

ธ.ก.ส.เตรียมวงเงินกว่า 1 พันล้านบาทเพื่อดูดซับปริมาณและกระจายผลผลิตผลไม้ในฤดูกาลไปยังตลาดเป้าหมาย

เผยผลผลิตลำไยปีนี้ค่อนข้างมาก ขณะที่ตลาดส่งออกยังทำได้ไม่เต็มที่ ธ.ก.ส. เตรียมวงเงินสินเชื่อกว่า 1,000 ล้านบาท หนุนเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดำเนินธุรกิจ รวบรวมผลไม้ เพื่อดูดซับปริมาณและกระจายผลผลิตผลไม้ในช่วงฤดูกาลไปยังตลาดในจุดต่าง ๆ

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.63 ที่โรงแรมเมอร์เคียวเชียงใหม่ นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการลำไยปีการผลิต 2563และเสวนาเรื่อง เสวนา “การเชื่อมโยงธุรกิจตลอดห่วงโซ่ผลผลิตลำไยไทย” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ผู้บริหาร ธ.ก.ส.,.ผู้อ านวยการกลุ่มส่งเสริมการผลิตและพัฒนาการผลิต สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่6 ,พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ ,4.นายกสมาคมผู้ผลิตลำไยอบแห้งภาคเหนือ,นายกสมาคมผู้ค้าผลไม้ภาคเหนือ,ผู้บริหาร TOPs เครือเซ็นทรัล ,รองประธานสหกรณ์การเกษตรประตูป่า จำกัด และรักษาการรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดขึ้น โดยมีเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและผู้ประกอบการลำไย เจ้าหน้าที่ธ.ก.ส.ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก

นายภูมิ เกลียวสิริกุล ผู้อานวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมผลไม้ ปี 2563 เพื่อสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนและสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจรับซื้อรวบรวมผลไม้ของเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร เป็นการช่วยดูดซับปริมาณผลไม้ในช่วงฤดูกาลไม่ให้ราคาตกต่ำและเพิ่มทางเลือกในการกระจายผลไม้ไปยังแหล่งจาหน่ายต่างๆ อีกทั้งช่วยยกระดับมาตรฐานการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ ปี 2563 กับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยเน้นผลไม้หลัก 7 ชนิด ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง วงเงินสินเชื่อรวม 1,000 ล้านบาท ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 กันยายน 2563

สำหรับผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อต้องเป็นเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีประสบการณ์ในการรวบรวมผลไม้ กำหนดวงเงินกู้กรณีเป็นเกษตรกรสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) กรณีกลุ่มเกษตรกร สูงสุดไม่เกิน 30 ล้านบาท กรณีสหกรณ์การเกษตร สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท และกรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สูงสุดไม่เกิน 20 เท่าของเงินทุนตนเองและไม่เกิน 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี) โครงการดังกล่าวกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจะชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3.00 ต่อปี ในช่วง 6 เดือนแรกนับจากวันที่จัดทาสัญญาเงินกู้ โดยกำหนดชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่จัดทำสัญญาเงินกู้ และไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564

“จากการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตลำไยในปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดส่งออกได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งลำไยจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ ดังนั้น ธ.ก.ส.จึงได้จัดประชุมและเสวนาในครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนและวางมาตรการแนวทางในการสนับสนุนช่วยเหลือทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยธนาคารมีเงินทุนหมุนเวียนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในการรับซื้อลำไยจากเกษตรกร เพื่อนำไปรวบรวมหรือแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยพร้อมสนับสนุนสินเชื่อ SME เกษตร อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ในระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR หรือ MLR แล้วแต่กรณีด้วย”   ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  (ธ.ก.ส.) กล่าวและชี้แจงอีกว่า

ในส่วนของฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ซึ่งดูแล 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงราย แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) ขณะนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมทุกโครงการแล้วกว่า 100 ราย วงเงินที่ขอกู้กว่า 400 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินกู้เพื่อไปดำเนินการรับซื้อลำไยได้เร็วที่สุดภายในไม่เกินเดือนกรกฎาคมนี้  ทั้งนี้ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและติดต่อขอเข้าร่วมโครงการได้ที่ ธ.ก.ส. ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนได้ทุกสาขา.

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้