ทอท.ศึกษาพื้นที่สร้างสนามบินฯแห่งที่ 2 งบ 7 หมื่นล้าน เริ่มเวนคืนที่ดินปี 68 ส่วนพื้นที่ยังไม่ฟันธงมีแคนดิเดต 2-3 แห่ง

ทอท.ศึกษาพื้นที่สร้างสนามบินฯแห่งที่ 2 งบ 7 หมื่นล้าน เริ่มเวนคืนที่ดินปี 68 ส่วนพื้นที่ยังไม่ฟันธงมีแคนดิเดต 2-3 แห่ง

ท่าอากาศยานไทยเผยการก่อสร้างสนามบินนานาชาติเชียงใหม่แห่งที่ 2 อยู่ระหว่างศึกษาพื้นที่แคนดิเดต 2-3 แห่ง ใช้งบฯลงทุน 7 หมื่นล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 7 ปีแล้วเสร็จในปี 2576 มีแผนเชื่อมการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน คาดเริ่มกระบวนการเวนคืนที่ดินได้ในปี 68

วันที่ 11 มกราคม 2567 ที่ห้องประชุมเดชะตุงคะ กองบิน 41นาย กีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสนามบินล้านนา(เชียงใหม่แห่งที่ 2 )ต่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีซึ่งเดินทางมาประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นpm2.5 ว่า โครงการก่อสร้างสนามบินล้านนาหรือสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 ปัจจุบันได้มีการศึกษาความเหมาะสมในเชิงพื้นที่โดยลงพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ซึ่งมีอยู่หลายพื้นที่ ดูโฉนด เพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในด้านการบินและทำงานกับวิทยุการบิน เพื่อดูเส้นทางบิน รูทวิ่งต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการสัญจร

โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่แห่งที่ 2 PHASE1 เป้าหมายใช้การได้ในปี 2576 ซึ่งจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกประกอบด้วยระบบทางวิ่งและทางขับรันเวย์กว้าง 45 เมตร ยาว 3,000 เมตร ทางขับคู่ขนาน 1 เส้นตลอดรันเวย์ ทางขับออกด่วนด้านละ 2 เส้น Aircraft Stand หลุมจอดประชิดอาคารพร้อมติดตั้งสะพานเทียบ 34 หลุมจอด หลุมจอดระยะไกลและIsolate Parking มีอาคารผู้โดยสาร 1 อาคารขนาดประมาณ 1 แสนตารางเมตร

มีอาคารจอดรถ อาคารดับเพลิง อาคารสำนักงานท่าอากาศยานเชียงใหม่  อาคารระบบสาธารณูปโภค อาคารบำรุงรักษา ระบบถนน อาคารคลังสินค้า อาคารสำนักงานหน่วยราชการ ผู้ประกอบการฯ  ศูนย์ขนส่งสาธารณะ และอาคารสนับสนุนอื่นๆ  สำหรับระยะเวลาดำเนินการ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ แห่งที่ 2 PHASE I ระยะเวลาโครงการ พ.ศ.2561-2573 วงเงินลงทุน 66,000 ล้านบาท สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ 21 ล้านคน/ปี แยกเป็น ผู้โดยสารระหว่างประเทศ 8 ล้านคน/ปี ผู้โดยสารภายในประเทศ 13 ล้านคนปี ความจุในการรองรับปริมาณผู้โดยสารสูงสุด 24 ล้านคน/ปี สามารถรองรับสินค้าได้ 29,000 ตัน/ปี

สำหรับการเดินทางเข้าสู่สนามบินฯแห่งที่ 2 ทางราง มีระบบรางเชื่อมต่อท่าอากาคยานเชียงใหม่แห่งที่ 2 จากโครงข่ายทางรางเดิมระยะทาง 11.5 กิโลเมตร ทำให้โครงข่ายทางรางสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นเป็น 22 ระยะทางถนน ระยะทางจากสนามบินฯ แห่งที่ 1 ถึง สนามบิน แห่งที่ 2 ระยะทาง 22 กิโลเมตร

กระทรวงคมนาคม (คค.) มีมติให้ ทอท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบคำเนินโครงการก่อสร้างท่าอากาศยาน จ.เชียงใหม่แห่งใหม่ ตามแผนแม่บท การจัดตั้งสนามบินพาณิชย์ของประเทศโดยให้ ทอท. ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาความเป็นไปได้ และความคุ้มคำในการลงทุนโครงการในเบื้องต้น (Preliminary Feasibility Study)เพื่อประกอบการนำเสนอ กบร. ต่อไปที่ตั้งอ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่เชื่อมต่อกับอ.บ้านธิ จ.ลำพูน วงเงินลงทุน 70,000 ล้านบาท แยกเป็นงานเขตการบิน 25,000 ล้านบาท งานอาคารผู้โดยสาร 22,000 ล้านบาท  งานสนับสนุนและสาธารณูปโภค 12,500 ล้านบาท สำรองราคาและภาษี 10,500 ล้านบาท ซึ่งสนามบินฯแห่งที่ 2 มีแผนระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี โดยคาดว่าจะเข้าสู่กระบวนการจัดหาที่ดิน และเวนคืนที่ดินได้ในปี 2568

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เชื่อว่าหลังจากได้ฟังแผนการพัฒนาระบบคมนาคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ของกระทรวงคมนาคมแล้วชาวเชียงใหม่และภาคเหนือที่ได้รับฟังจะมีกำลังใจขึ้นเยอะ ซึ่งมีการทำงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ครบวงจรซึ้งมั่นใจแน่นอนว่าเราจะ Quick Team มีการทำงานกันอย่างใกล้ชิด ได้คุยกับผู้ว่าททท.แล้วว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวจากอินเดียเข้ามายังมีเที่ยวบินน้อย ซึ่งตนจะพบกับทูตอินเดียอีกก็เชื่อว่าจะช่วยได้ดีขึ้น ตัวเลขนักท่องเที่ยวเกาหลีก็ดีอย่างต่อเนื่อง

“ปัญหาที่จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่มาเชียงใหม่คือ pm2.5 ซึ่งรัฐบาลก็ขอให้ขับเคลื่อนทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว และรักษาไว้ซึ่งภาพลักษณืเชียงใหม่ เช่นรถแดงที่จะมีการเปลี่ยนให้เป็นรถไฟฟ้า เพื่อทำให้เชียงใหม่มีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น และอยากให้นำโมเดลนี้ไปใช้กับหลายๆ จังหวัดด้วย ขอชื่นชมทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม เป็นทีมไทยแลนด์ชัดเจน ทั้งฝ่ายที่ปิดทองหลังพระอย่างฝ่ายความมั่นคงด้วย”นายกรัฐมนตรี กล่าวและให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกับสื่อมวลชนเพิ่มเติม โครงการก่อสร้างสนามบินแห่งที่ 2 ยังอยู่ในช่วงระหว่างการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ ซึ่งมีพื้นที่ที่ทำการศึกษาอยู่ 2-3 แห่ง  อย่างไรก็ตามขณะนี้ท่าอากาศยานเชียงใหม่มีแผนพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่เดิมให้ดีขึ้นและสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้