ชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ  ฟื้นฟูวิถีดั้งเดิมคนหาดสูง

ชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ  ฟื้นฟูวิถีดั้งเดิมคนหาดสูง

ทคโนโลยีและการคมนาคมที่สะดวกมากขึ้น ทำให้คนในยุคปัจจุบันติดความสะดวกสบาย และส่วนใหญ่เพิกเฉยต่อการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการหันมาใช้รถยนต์ จักรยานยนต์ แทนการเดิน หรือปั่นจักรยาน จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย ทั้งยังมีส่วนก่อมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต อวัยวะ หรือทรัพย์สินเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส่งเสริมให้ชุมชนบ้านหาดสูง เป็นชุมชนจักรยาน เพื่อสร้างสุขภาวะให้กับคนในท้องถิ่น และนำร่องให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไปกาญจนา ดีเอี่ยม ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว และผู้รับผิดชอบโครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ต.หาดเสี้ยว เล่าถึงสาเหตุที่เลือกบ้านหาดสูงว่า  เป็นชุมชนขนาดเล็ก มี 384 หลังคาเรือน ประชากร 1,021 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและทอผ้าพื้นเมือง พื้นที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม มีถนนภายในชุมชนที่เหมาะสมและเอื้อต่อการใช้จักรยานประชาชนบางส่วนยังใช้จักรยานในการเดินทางมาซื้อสินค้าที่ตลาด เดินทางมาทำบุญตักบาตร เดินทางมาร่วมประชุมหมู่บ้าน เด็กนักเรียนในชุมชนใช้จักรยานเดินทางไปเรียนหนังสือ กลุ่มผู้ใช้จักรยานมีหลากหลายช่วงอายุ ที่สำคัญคือผู้สูงอายุเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมของชุมชน ใช้จักรยานเดินทางไปร่วมกิจกรรมในชุมชน และมีผู้นำชุมชนเป็นตัวอย่างในการใช้จักรยานเพื่อออกกำลังกาย“จากการสำรวจ พบว่าครัวเรือนร้อยละ 90 มีจักรยานอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ใช้ เพราะชาวบ้านหันไปใช้พาหนะอื่นที่สะดวก รวดเร็วมากกว่า เมื่อชักชนให้กลับมาปั่นจักรยานในชีวิตประจำวัน ก็มีข้ออ้างจักรยานแพง ต้องมีเสื้อผ้า หมวก และอุปกรณ์ประดับอีกหลายอย่าง จึงรณรงค์ให้ใส่ชุดอะไรก็ได้ พร้อมกับประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย เข้ามาให้ความรู้เรื่องประโยชน์จากจักรยานที่มีต่อสุขภาพ สภ.ศรีสัชนาลัย แนะนำเรื่องกฎหมายจราจร ความปลอดภัยในการขี่จักรยาน รวมทั้งชมรมจักรยานศรีสัชนาลัย ก็สร้างความเข้าใจเรื่องสัญลักษณ์ต่างๆ ขณะเดียวกันในโครงการยังมีการเปิดศูนย์ซ่อมให้ด้วย เพื่อสร้างแรงจูงใจ ทำให้คนกลับมาใช้จักรยานมากขึ้น และคนที่ยังไม่มีก็หาซื้อมาเพิ่ม” ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อธิบาย หากเปรียบเทียบเป็นสถิติ ช่วงแรกมีผู้เข้าร่วมปั่นจักรยานในโครงการประมาณร้อยละ 15 แต่ตอนนี้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกอาชีพ หันมาปั่นจักรยานกันราวร้อยละ 35 เด็กก่อนวัยเรียน ฝึกปั่นบีเอ็มเอ็กซ์เล่น เมื่อโตพอเข้าโรงเรียนได้ก็ปั่นจักรยานไปโรงเรียน ในตลาดมีชาวบ้านปั่นจักรยานไปซื้อของหรือค้าขาย บ้างก็ใช้เป็นพาหนะตระเวนขายสินค้าตามชุมชน  ผู้สูงอายุปั่นออกกำลังกาย และทำกิจกรรมในชุมชน ส่วนคนทำงาน ข้าราชการ มักจะปั่นทุกวันพุธ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ปั่นออกเยี่ยมบ้าน เยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียง สำรวจลูกน้ำยุงลาย รณรงค์ไข้เลือดออก ฯลฯกิจกรรม และโครงการต่างๆ ที่ทางเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว และชุมชนจัดขึ้น จะถูกนำมาบูรณาการกับการปั่นจักรยาน มีสติ๊กเกอร์หลากสีแจกให้คนเข้าร่วมกิจกรรม เช่น ปั่นจักรยานมาประชุม อสม. จะได้สติ๊กเกอร์สีแดง 1 ดวง/ครั้ง  ปั่นมาทำงานในเทศบาล ได้สติ๊กเกอร์สีขาว ปั่นรณรงค์ไข้เลือดออกใช้สีเหลือง ปั่นเยี่ยมบ้านสีส้ม กิจกรรม“คนหาดเสี้ยว พร้อมเจอกัน ปั่นรถถีบ เห้อบ้านเฮาร่มเย็นเป็นสุข” ใช้สีน้ำเงิน กิจกรรมเดินปั่นทำดีใช้สีเขียว ฯที่สำคัญคือเกิดเส้นทางจักรยาน ที่ช่วยบ้านหาดสูงช่วยกันทำเชื่อมสู่สถานที่สำคัญต่างๆ จำนวน 5 สายหลัก คือวัดหาดสูง, ตลาดสดหาดเสี้ยว, โรงเรียนเมืองเชลียง, โรงเรียนหาดเสี้ยววิทยา และเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว แต่ละเส้นทางมีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมดีๆ เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านปั่นจักรยานอย่างสม่ำเสมอ เช่น กิจกรรม “สามวัยไทยพวนชวนกันปั่น ชมบ้านชมเมือง” หรือกิจกรรมรณรงค์“คนหาดเสี้ยว พร้อมเจอกัน ปั่นรถถีบ เห้อบ้านเฮาร่มเย็นเป็นสุข” เป็นต้นชยาภา บุญประจวบ นักเรียนชั้น ป.4 โรงเรียนหาดเสี้ยววิทยา เล่าว่า บ้านอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย ระยะทางไป-กลับ โรงเรียนเพียงวันละ 4 กิโลเมตร แต่แม่ต้องทำงานทุกวัน ไม่ว่างมาส่ง จึงให้ขึ้นรถรับ-ส่ง เสียค่าใช้จ่าย 200 บาท/เดือน ล่าสุดรถเต็มไม่สามารถไปรับได้ แม่จึงตัดสินใจซื้อจักรยานให้ปั่นมาเอง ช่วงแรกรู้สึกเหนื่อยล้ามาก พอผ่านไปแค่ 1 สัปดาห์ ก็เริ่มสนุก ได้เพื่อนใหม่ระหว่างทางที่ปั่นมาโรงเรียนด้วยกัน พูดคุยกันทุกวัน ร่างกายก็แข็งแรงขึ้นไม่เหนื่อยง่าย ไม่ง่วงนอนตอนเรียนหนังสือเช่นเดียวกับธิดารัตน์ มนาคม เด็กสาวชั้น ม.5  โรงเรียนเมืองเชลียง ที่แม้จะพักหอในโรงเรียน แต่ก็ปั่นจักรยานมาตลอดตั้งแต่ชั้น ม.4 โดยใช้จักรยานของครูปั่นออกกำลังกายกับเพื่อนๆ ทุกวัน ช่วยเรียกเหงื่อ และประหยัดค่าเดินทางเมื่อไปทำธุระในระยะใกล้ๆ ซึ่งแตกต่างจากก่อนหน้านี้ ในช่วงมัธยมศึกษาตอนต้น เธออาศัยรถรับ-ส่ง จากบ้านมาโรงเรียน พอขึ้นรถปุ๊บทั้งตัวเองและเพื่อนๆ ก็จะก้มหน้าจิ้มโทรศัพท์มือถือ เพื่อเล่นเกม หรือออนไลน์คุยกับคนอื่น บางคนเลิกเล่นก็หลับจนถึงจุดหมาย ก่อให้เกิดความห่างเหินทั้งที่นั่งอยู่ในรถคนเดียวกันนานหลายปีในภาพรวมโครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ต.หาดเสี้ยว จึงไม่เพียงแค่ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง หากคนในชุมชนยังมีสุขภาพดีขึ้น ผลในเชิงสุขภาวะ กลุ่มติดบ้านติดเตียง และติดสังคม (โซเชียล, เกม) ลดลง จากเดิมติดบ้านร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 1.5, กลุ่มติดเตียง ร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 0.5  และติดสังคม ร้อยละ 87 เหลือเพียงร้อยละ 9.8  ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ลดความรุนแรง หรือความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย. 

You may also like

เครือข่ายแรงงานภาคเหนือลั่นสู้ พร้อมรวมพลังทวงคืนความมั่งคั่งจากนายทุน

จำนวนผู้