ชลประทานเชียงใหม่ ยืนยันมีน้ำเพียงพอใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ขณะที่พื้นที่วิกฤติเขื่อนแม่กวงฯที่มีปริมาณน้ำเหลือเพียง 13% ให้เกษตรกรเริ่มปลูกข้าวได้ตั้งแต่ 27 ก.ค.นี้เป็นต้นไป

ชลประทานเชียงใหม่ ยืนยันมีน้ำเพียงพอใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ขณะที่พื้นที่วิกฤติเขื่อนแม่กวงฯที่มีปริมาณน้ำเหลือเพียง 13% ให้เกษตรกรเริ่มปลูกข้าวได้ตั้งแต่ 27 ก.ค.นี้เป็นต้นไป

 

 

นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักชลประทานที่ 1 กล่าวถึง สถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดเชียงใหม่ ว่า  มีฝนตกเฉลี่ยทั้งจังหวัด 240.25 มิลลิเมตร น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 53 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งเกณฑ์ปกติโดยเฉลี่ยจะมีฝนตก 515 มม. แต่ขณะนี้สถานการณ์ฝนตกมีแนวโน้มเริ่มดีขึ้น  ส่วนปริมาณน้ำท่า มีน้ำท่าเฉลี่ยสะสมในแม่น้ำปิง 114.3 ล้านลบ.ม. โดยน้ำมาจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล 100 %  ซึ่งจะเห็นได้ว่าสถานการณ์น้ำของลำน้ำปิงจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงกลางน้ำถึงท้ายน้ำ เพราะมีน้ำจากลำน้ำธรรมชาติไหลลงเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีฝนตกเพิ่มขึ้น

สำหรับพื้นที่การเพาะปลูกทำการเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด 3.02 ล้านไร่  แบ่งเป็นพื้นที่ชลประทาน จำนวน 1.12 ล้านไร่ พื้นที่นอกเขตชลประทาน(พื้นที่การเกษตรน้ำฝน) 1.90 ล้านไร่  ขณะนี้ พื้นที่การเพาะปลูกในเขตชลประทายังไม่มีปัญหา ส่วนพื้นที่เกษตรน้ำฝนอาจมีปัญหาขาดแคลนน้ำบ้าง อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการในเขตพื้นที่ชลประทานที่ยังอยู่ในสภาวะปกติ ได้แก่เขื่อนแม่งัด  มีปริมาณน้ำกักเก็บปัจจุบัน อยู่ที่ 51.52 ล้าน ลบ.ม มีปริมาณน้ำใช้การได้ 41.52 ล้าน ลบ.ม. และมีปริมาณน้ำเข้าเขื่อน 0.117 ล้านลบ.ม. ซึ่งขณะนี้ปล่อยน้ำให้พื้นที่เกษตร พื้นที่การประปา และเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ยังมีปริมาณน้ำเพียงพออยู่

ส่วนฝายแม่แตง มีปริมาณน้ำเข้าคลอง 11.96 ลบ.ม. ต่อวินาที เริ่มมีการปลูกพืชแล้ว  31.20  เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยืนยันว่ามีน้ำไว้ใช้เพียงพอ สำหรับพื้นที่สูบน้ำด้วยไฟฟ้าในลำน้ำปิง 66 สถานี  มีปริมาณน้ำไหลเข้า 1.70 ล้าน ลบม.ต่อสัปดาห์ มีพื้นที่เพาะปลูกไปแล้ว 95 เปอร์เซ็นต์ ยืนยันว่ามีน้ำเพียงพอ ส่วนโครงการชลประทานขนาดเล็กและน้ำชลประทานในโครงการพระราชดำริ 644 แห่ง  ซึ่งต้องดูพื้นที่อ่างเก็บน้ำแต่ละแห่งว่าปริมาณน้ำมีเพียงพอหรือไม่   ส่วนโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีการใช้พื้นที่เพาะปลูกไปแล้ว 57 เปอร์เซ็นต์ ยืนยันว่ามีปริมาณน้ำเพียงพอใช้

ผอ.โครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า ส่วนสถานการณ์น้ำที่ค่อนข้างวิกฤต คือ ปริมาณน้ำในเขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีปริมาณน้ำกักเก็บปัจจุบัน 32.64 ล้าน ลบ.ม.หรือประมาณ 12.32 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยจะเริ่มส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกในวันที่ 27 กรกฎาคม นี้ แต่จะใช้วิธีทยอยส่งน้ำไปเรื่อยๆ  ส่วนน้ำอุปโภคบริโภคส่งให้เมืองเชียงใหม่วัน 123,000 ลบ.ม. ต่อวัน หรือคิดเป็น ประมาณ 45 ล้านลบ.ม. ต่อปี ซึ่งขอยืนยันว่ามีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค ยังคงมีเพียงพอ นอกจากนั้นยังมีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค สำหรับผลิตน้ำประปาส่งให้เมืองเชียงใหม่ วันละ 123,000 ลบ.ม.ต่อวัน หรือ ประมาณ 45 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี  ขอยืนยันว่ามีปริมาณน้ำมีเพียงพอใช้ รวมไปถึงน้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศในลำน้ำปิง ซึ่งมีการส่งน้ำปริมาณ 1.7 ล้าน ลบ.ม. ต่อสัปดาห์  ยืนยันว่ามีน้ำเพียงพอ  เพราะน้ำจำนวนนี้มาจากเขื่อนแม่งัด สมบูรณ์ชล โดยจะลดปริมาณการปล่อยน้ำลง เนื่องจากเริ่มมีฝนตกลงมาแล้ว

นายเจนศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับในพื้นที่ชลประทาน มีพื้นที่เพาะปลูก 360,000 ไร่ โดยจขณะนี้มีพื้นที่เพาะปลูกแล้ว 110,000 ไร่ และคาดว่าจะทยอยเพาะปลูกได้เต็มพื้นที่  สำหรับในพื้นที่เพาะปลูกเขตชลประทานอยู่ในภาวะที่บริหารจัดการน้ำได้ ยกเว้นพื้นที่ทำการเกษตรในเขตเขื่อนแม่กวงฯ ประมาร 150,000 ไร่ ที่ให้ชะลอการเพาะปลูก โดยมีแผนทยอยส่งน้ำต้นเดือนสิงหาคม ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการจัดการชลประทาน โดยได้มีการประชุมชี้แจงให้กลุ่มผู้ใช้น้ำเข้าใจแล้ว.

You may also like

บสย. จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โครงการ “บสย. ร่วมใจ ทำดี เพื่อสังคม” ครั้งที่ 2 ร่วมซ่อมแซม ทาสี เครื่องเล่นเด็ก ปลูกต้นไม้ ณ สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์

จำนวนผู้