“คุยความจริง เพื่อบิลลี่-จะอุ๊” หลายฝ่ายชี้สังคมไทยยังมีอคติ-กดขี่ชาติพันธุ์

“คุยความจริง เพื่อบิลลี่-จะอุ๊” หลายฝ่ายชี้สังคมไทยยังมีอคติ-กดขี่ชาติพันธุ์

เชียงใหม่ (5 ส.ค.60) / “คุยความจริง เพื่อบิลลี่-จะอุ๊” ตัวแทนเยาวชนโครงการเกี่ยวก้อย ชี้ภาพยนตร์ทำหน้าที่สื่อสารความจริงได้มากและแตกต่างจากข่าว ขณะที่นักกิจกรรมชาติพันธุ์พ้อ สังคมอคติกับชนเผ่า ไม่เปิดช่องรักษาสิทธิ ด้านนักวิชาการย้ำสังคมไทยเกิดปัญหาทับซ้อน กลไกทางกฎหมายทำงานไม่เต็มที่เมื่อเวลา 13.00-17.00 น. มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “คุยความจริง เพื่อบิลลี่ – พอละจี รักจงเจริญ และ จะอุ๊ – ชัยภูมิ ป่าแส” ที่สมาคมฝรั่งเศส จ.เชียงใหม่  โดยกิจกรรมประกอบด้วยการจัดนิทรรศการ จัดบอร์ดแสดงความคิดเห็น การฉายภาพยนตร์เกี่ยวก้อย 11 ความจริง (หนังสั้น 11 เรื่อง) และกิจกรรมเสวนา“คุยความจริง” วิทยากรประกอบด้วย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการจากนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,  นายสมชาติ หละแหลม นักกิจกรรมชาติพันธุ์ และนายธงชัย ชคัตประสิทธิ์ ตัวแทนเยาวชนโครงการเกี่ยวก้อย โดยมีนางอัจฉราวดี บัวคลี่ จากไทยพีบีเอส เป็นผู้ดำเนินรายการนายธงชัย กล่าวว่า สื่อมวลชนไม่สามารถที่จะสื่อสารความจริงที่ได้มาทั้งหมด ด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น เพื่อปกป้องแหล่งข่าว หรือเพื่อป้องกันปัญหาการฟ้องร้อง แต่ภาพยนตร์จะทำหน้าที่ในตัวมันเองในการเล่าเรื่อง และยังสามารถตั้งคำถามกับคนดูได้ ภาพยนตร์กับข่าวจึงทำหน้าที่ต่างกัน ทั้งนี้กรณีของนายชัยภูมิ ป่าแส แม้ในพื้นที่เกิดเหตุ จะมีกล้องวงจรปิดจำนวนมาก แต่กลับถูกปกปิดไว้นานมาก อีกทั้งช่วงแรกมีการออกมาให้ข่าวว่ากล้องเสีย แต่ต่อมากลับให้ข่าวใหม่ว่าไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด จึงคาดหวังว่ากิจกรรมนี้จะกระตุ้นให้สังคมกลับมาให้ความสนใจข่าวการวิสามัญ บิลลี่ – พอละจี รักจงเจริญ และ จะอุ๊ – ชัยภูมิ ป่าแส เพื่อที่จะได้ตามหาความจริงต่อไปด้านนายสมชาติ กล่าวว่า กลุ่มชาติพันธุ์ถูกสังคมมองว่าทำลายป่าไม้ เป็นภัยต่อความมั่นคง และค้ายาเสพติด เมื่อกลุ่มชาติพันธุ์ออกมาปกป้องสิทธิตนเอง และป่าไม้ แต่ไปขัดผลประโยชน์คนบางกลุ่มจนบิลลี่ – พอละจี ถูกอุ้มหาย และกรณีนายชัยภูมิ ป่าแส ที่ถูกทำลายความชอบธรรมด้วยยาเสพติด ปัจจุบันหากกลุ่มชาติพันธุ์จะมีบ้าน มีรถยนต์ ก็จะถูกสังคมมองว่ามาจากการค้ายาเสพติด ทั้งนี้กลุ่มชาติพันธุ์พยายามเรียกร้องสิทธิเกี่ยวกับป่าชุมชน ที่ดินทำกิน หากก็ขัดกับนโยบายรัฐ สาเหตุเพราะกลุ่มชาติพันธุ์ไม่มีส่วนร่วมในการร่างนโยบายนั่นเองขณะที่ รศ.สมชาย กล่าวว่าปัจจุบันมีปัญหาซ้อนทับกัน 3 เรื่อง คือเรื่องแรกสังคมมีทัศนคติด้านลบต่อชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงอุดมการณ์ กล่าวคือสังคมไทยมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์ทำลายป่าไม้ เป็นภัยความมั่นคง และค้ายาเสพติด  2. การวิสามัญ การอุ้มหาย เป็นปัญหาเชิงระบบกฎหมาย ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์แต่เป็นปัญหาของสังคมไทย 3. สถานการณ์ปัจจุบัน อยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงจำเป็นต้องมองว่ากลไกทางกฏหมายทำงานได้เต็มที่หรือไม่ อย่างไร.

You may also like

เครือข่ายแรงงานภาคเหนือลั่นสู้ พร้อมรวมพลังทวงคืนความมั่งคั่งจากนายทุน

จำนวนผู้