คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภาติดตามความคืบหน้าก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่แตง-แม่งัด พอใจภาพรวมงานก่อสร้างคืบหน้าร้อยละ 77

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภาติดตามความคืบหน้าก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่แตง-แม่งัด พอใจภาพรวมงานก่อสร้างคืบหน้าร้อยละ 77

คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภาติดตามความคืบหน้าก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่แตง-แม่งัด พอใจภาพรวมงานก่อสร้างคืบหน้าร้อยละ 77 คาดเสร็จสมบูรณ์ในปี 70 “พลเอกฉัตรชัย”ฝากถึงรัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ ชี้เอลนิโญ่ลากยาวถึง 3 ปีหวั่นพื้นที่นอกชลประทานอาจได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง

เมื่อวันที่ 5 ก.ค.66 พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา และคณะ เดินทางมาศึกษาดูงานความก้าวหน้าโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา และงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด สัญญาที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่โดยมี นายอภิชาต  ชุมนุมมณี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ พร้อมด้วยนายจิตะพล รอดพลอย ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 หัวหน้าฝ่าย และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมบริเวณงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง – แม่งัด สัญญาที่ 1 บริเวณอุโมงค์เข้า – ออก หมายเลข 2 ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

นายจิตะพล  รอดพลอย​ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่​ 1 หรือ​ ผสญ.1 กล่าวว่า โครงการก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำแม่แตง-แม่งัด-แม่กวง ผลงานรวมทั้งหมดปัจจุบัน 77% เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ.2558 แบ่งเป็น 4 ช่วง ที่ 1 อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด เป็นงานก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่ตะมาน+อาคารประกอบ ผลงานปัจจุบัน 96.579 ระยะขุดเจาะอุโมงค์รวม 13,170.568 เมตร ช่วงที่ 2 เขื่อนแม่งัดฯระยะขุดอุโมงค์ 5,763.532 ม.ผลงานปัจจุบัน 51.049 ช่วงที่ 3 ผลงานปัจจุบัน 60.339 ระยะขุดอุโมงค์ 8,679.707 ม.และช่วงที่ 4 อาคารระบายน้ำท้ายอุโมงค์ส่งน้ำ ผลงานเสร็จ 100%

“เมื่อ 22 ก.พ.61 ครั้งนั้นพลเอกฉัตรชัย สมัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาติดตามดูงานก่อสร้างครั้งหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นผลงานได้ 17% ผ่านมา 5 ปีปัจจุบันการดำเนินงานก้าวหน้าไปจากเดิมถึง 5 เท่า โดยเฉพาะในส่วนของสัญญา 2 ซึ่งเป็นงานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด(งานจุดระเบิดเหลือ 6 กม.แต่ท้ายน้ำเหลือไม่เกิน 200 เมตร)ขณะนี้การก่อสร้างในภาพรวมแล้วเสร็จไปประมาณ 77% คากว่าจะแล้วเสร็จในปี 2570 โดยโครงการจะผันน้ำจากแม่แตง จุดแม่ตะมาน ไปไว้ที่แม่งัดฯ และจากแม่งัดฯ จะส่งไปให้แม่กวงฯ ในแต่ละปีที่วางแผนกันไว้แต่ต้นจะผันน้ำส่วนเกินราวปีละ 160 ล้าน ลบ.ม. เพราะฉะนั้นน้ำส่วนเกินที่แม่แตงก็จะหายไปน้ำจำนวนนั้นก็จะไปเพิ่มให้ที่แม่กวงฯ จะสามารถเพิ่มปริมาณพื้นที่ชลประทานได้อีกราว 100,000 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่”ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่​ 1 หรือ​ ผสญ.1 กล่าวและว่า

ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการอุโมงค์ฯ ประการแรกคือ สามารถลดผลกระทบจากความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ลำน้ำแม่แตง ประการที่ 2 เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนของเชียงใหม่และลำพูนบางส่วน ที่สำคัญในการผันน้ำส่วนหนึ่งจะมีการส่งน้ำย้อนกลับมาให้กับทางแม่แตงด้านท้ายซึ่งจะผันกลับไปจากแม่งัดฯ จะเกิดประโยชน์กับประชาชนเชียงใหม่และจังหวัดท้ายๆ น้ำ ทั้งเรื่องอุทกภัย การบริหารจัดการน้ำเพื่อเกษตรกรรม รวมถึงการสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคให้กับประชาชนชาวเชียงใหม่และใกล้เคียงได้ด้วย

ทางด้านพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่การมาดูงานครั้งนี้เห็นว่าโครงการมีความคืบหน้าไปมาก ซึ่งโครงการนี้ต้องบอกว่าเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ตามกำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2570 เนื่องจากมีอุปสรรคทางด้านเทคนิคการก่อสร้างที่เจอโพรงถ้ำขนาดใหญ่ แต่ถ้าหากสำเร็จก่อนได้จะถือว่าดีที่สุด และขอให้ทุกภาคส่วนช่วยกันขับเคลื่อนให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะไม่ใช่แค่ประชาชน 2 จังหวัดที่จะได้รับประโยชน์ แต่ยังรวมไปถึงประชาชนในเขตพื้นที่ภาคกลางด้วย และยังเป็นโครงการแรกที่น้อมนำแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการทำอุโมงค์ผันน้ำ ที่พระราชทานไว้มาดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งในพื้นที่อับฝน

ประธานคณะกรรมาธิการเกษตรฯ วุฒิสภา กล่าวอีกว่า คณะกรรมาธิการฯมาดูการบริหารจัดการน้ำที่ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งการบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศก็มีแผนงานอยู่แล้วและสามารถเดินตามแผนได้ อย่างไรก็ตามปีนี้เข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนิโญ่แล้ว คาดว่าปีหน้าผลกระทบยิ่งจะรุนแรงซึ่งการบริหารจัดการน้ำจะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย บางประเทศคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์นี้อาจจะลากลาวถึง 3 ปี ที่กังวลมากอีกส่วนหนึ่งคือพื้นที่นอกเขตชลประทาน ที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของกรมชลประทานแต่เป็นของหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งก็ต้องมีการปรับตัวและเตรียมการไปพร้อมกันเพื่อลดผลกระทบให้กับประชาน ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่เกษตร แต่ยังรวมไปถึงเรื่องของการอุปโภค บริโภค และภาคอุตสาหกรรมด้วย ดังนั้นหากไม่มีการเตรียมความพร้อมให้ดีก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างได้ ดังนั้นก็ต้องฝากถึงรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารด้วย แม้ตอนนี้รัฐบาลรักษาการณ์จะยังดำเนินงานตามแผน แต่เมื่อมีรัฐบาลใหม่ก็ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มากๆ ด้วย.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่​ ร่วมภาคีเครือข่าย เฉลิมพระเกียรติ​ในหลวง ร.10 ครบ 6 รอบ “ปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา ที่หนองเขียว”

จำนวนผู้