กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเสวนาMedia Innovations Showcase&Forum 2022 สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเสวนาMedia Innovations Showcase&Forum 2022 สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์

- in headline, รอบรั้วทั่วเหนือ

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ Media Innovations Showcase&Forum 2022 เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมในยุคประเทศไทย 4.0

เมื่อวันที่ 25 ก.พ.65 ที่โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดงานเสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ Media Innovations Showcase&Forum 2022 โดยมีนายพิชิตชัย เกลอดู ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและเสวนาในครั้งนี้

ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์และที่มาของงานในครั้งนี้ว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นกองทุนที่ก่อตั้งขึ้นมาจากพระราชบัญญัติ                   มีชื่อว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หรือเรียกชื่อโดยย่อว่า กองทุนพัฒนาสื่อ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 จากการร่วมแรงร่วมใจกันจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะภาครัฐ ภาคประชาชน ร่วมมือกันผลักดัน ออกมาเป็นกฎหมายที่สนับสนุนให้มีงบประมาณให้กับผู้ผลิตสื่อและประชาชนทั่วไปที่มีใจรักอยากผลิตสื่อที่ดี โดยได้รับเงินทุนมาจาก กสทช. มาโดยประมาณ 500 ล้านบาท กองทุนพัฒนาสื่อฯ ได้นำมาจัดสรรให้กับผู้ผลิตสื่อทั่วๆไป รวมไปถึงทุก ๆ คนที่มีใจอยากจะผลิตสื่อดี ๆ ได้มีเงินทุนในการสร้าง สรรค์สื่อ นอกจากการให้ทุนแล้ว กองทุนสื่อฯ ได้มีการจัดตั้งอนุกรรมการย่อยอีกหลายอนุกรรมการ

สำหรับอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ ก่อตั้งขึ้นมาได้ประมาณ 2 ปี ขับเคลื่อนมาเป็นลำดับโดยมีเป้าหมายหรืออำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  2. ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  3. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และรายงานต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อทราบ

แรกเริ่มจากการกำหนดนิยามของนวัตกรรมสื่อจากการประชุมหลายครั้งจึงได้เกิดแนวทาง 9 ข้อ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

  1. การพัฒนาคนให้คิดสร้างสรรค์ มีทักษะการเล่าเรื่องผ่านสื่อ การผลิตสื่อ เพื่อสร้างนวัตกรตั้งแต่ระดับเยาวชนไปถึงถึงผู้ผลิตสื่อมืออาชีพ
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ความรู้เท่าทันสื่อ และการคิดเชิงวิพากษ์
  3. เปิดพื้นที่เพื่อรับฟังความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้ามาย และปัญหาที่ควรแก้ไข เข้าใจชุมชม สังคม วัฒนธรรมที่หลากหลาย
  4. สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ
  5. สร้างโอกาส สร้างความรู้ และการเรียนรู้จากกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศในการส่งเสริมนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  6. ยกย่องและให้รางวัลแก่ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  7. ส่งเสริมการเผยแพร่ การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และการต่อยอดนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสาธารณประโยชน์
  8. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และสนับสนุนการเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนด้านนวัตกรรมสื่อจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  9. ติดตามและประเมินผลการสร้างนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

   ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวอีกว่า ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ทุกคนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบ สื่อมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในสังคม รวมถึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรมและวิถีชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ การส่งเสริมให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ที่เหมาะสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนา ทุกวัฒนธรรมให้มีมากขึ้นในสังคมจึงมีความสำคัญยิ่ง

ทั้งนี้การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้น จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากปราศจากความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของคนในสังคมจากทุกภาคส่วน และทุกภูมิภาคในประเทศไทย งานเสวนานี้จึงเป็นรากฐานในการสร้างปรากฏการณ์ในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมในยุคประเทศไทย 4.0ด้วย.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่​ ร่วมภาคีเครือข่าย เฉลิมพระเกียรติ​ในหลวง ร.10 ครบ 6 รอบ “ปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา ที่หนองเขียว”

จำนวนผู้