กลุ่มละครไต้หวันจับมือมะขามป้อม จัด Satoyama Encounter in Thailand

กลุ่มละครไต้หวันจับมือมะขามป้อม จัด Satoyama Encounter in Thailand

เชียงใหม่ / กลุ่มละคร “Assignment Theatre” ไต้หวัน จับมือ “มะขามป้อม” จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ  Satoyama Encounter in Thailand 2019 ระหว่าง 3 -11 เม.ย.นี้ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมเผยแพร่แนวคิดการดำรงอยู่อย่างเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติผ่านศาสตร์การละคร Mr.Chung Chiao ผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะ กลุ่มละคร Assignment Theatre  ไต้หวัน กล่าวในงานแถลงข่าว โครงการ Satoyama Encounter ที่ Lanyim Theater จ.เชียงใหม่  เมื่อค่ำวันที่ 5 เม.ย.ว่า ทางกลุ่มละคร  Assignment Theatre และกลุ่มละครมะขามป้อม ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ  Satoyama Encounter in Thailand 2019 ขึ้น ระหว่าง 3 -11 เม.ย.นี้ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ผ่านการลงพื้นที่เรียนรู้ชุมชน การอบรมทักษะละคร และการฉายภาพยนตร์สารคดีการเดินทางของโครงการ เพื่อเผยแพร่แนวคิดการดำรงอยู่อย่างเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติผ่านศาสตร์การละครที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทยโดยโครงการนี้เป็นโครงการระยะยาว 5 ปีของกลุ่มละคร Assignment Theatre  และการร่วมกิจกรรมกับกลุ่มละครมะขามป้อม ก็ถือเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ข้ามวัฒนธรรม ซึ่งกลุ่ม Assignment Theatre  จะนำเสนอข้อมูลด้านภูมิปัญญาของชนเผ่า  Aboriginal  Austronesian จากการลงพื้นที่ในโครงการที่ผ่านมา และลงเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในหมู่บ้านปกากะญอ อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่ จากนั้นทั้งสองกลุ่มจะแลกเปลี่ยนทักษะการละครเพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารในประเด็นดังกล่าว และนำผลงานจากการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ไปพัฒนาเป็นผลงานสมบูรณ์เพื่อแสดงในมหกรรมการแสดง Satoyama ในปี 2564Mr.Chung Chiao ยังกล่าวด้วยว่า Satoyama เป็นคำภาษาญี่ปุ่น หมายถึงภูมิปัญญาดั้งเดิมของมนุษย์ในการจัดการพื้นที่ใช้สอยและทรัพยากรธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความหลากหลายและความยั่งยืนทางชีวภาพ ในปี พ.ศ.2552 ยูเนสโกได้จัดประชุมเวทีนานาชาติขึ้นที่กรุงปารีส เพื่อสนับสนุนให้นานาประเทศขับเคลื่อนให้เกิดการใช้สอยพื้นที่การเกษตร ภายใต้แนวคิด Satoyama หรือการสร้างสังคมที่คงอยู่อย่างสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ  และปี พ.ศ.2553 ได้มีการระบุในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ว่าแนวคิด Satoyama เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้างความเข้าใจการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษย์ทั้งนี้ในการอบรมที่ประเทศไทยจะจัดให้มีกิจกรรมที่ประชาชนผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้คือการฉายภาพยนตร์สารคดี Satoyama Encounter ที่บันทึกการดำเนินงานของโครงการตั้งแต่เริ่มต้น และการร่วมพูดคุยกับศิลปินกลุ่ม Assignment Theatre  เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนที่สนใจแนวคิดการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน โดยได้จัด 2 รอบคือที่อำเภอเชียงดาว บริเวณ Ding Ding Dong Bar เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 62 เวลา 18.00 – 20.00 น. และที่โรงละครลานยิ้ม-สวนอัญญา อ.เมือง เชียงใหม่ วันที่ 5 เม.ย. 62 เวลา 17.00 – 20.00 น.

You may also like

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

จำนวนผู้