กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เปิดตัว”หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์”หวังดึงคนรุ่นใหม่ไม่ให้ทิ้งถิ่นฐาน

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เปิดตัว”หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์”หวังดึงคนรุ่นใหม่ไม่ให้ทิ้งถิ่นฐาน

เปิดตัว “หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industry Village : CIV) หรือ “หมู่บ้าน CIV” 4 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน  ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีอาชีพ ลดการทิ้งถิ่นฐาน

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวกิจกรรมแผนพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภาคเหนือตอนบน  ๔ จังหวัด พร้อมเปิดตัวหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศให้เป็นยุค 4. 0 (Thailand 4.0) ภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นฐานความได้เปรียบเชิงวัฒนธรรม ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยนำเสนอภาพลักษณ์ของประเทศไทยในมุมมองใหม่ผนวกกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์สร้างมูลค่าบนพื้นฐานความรู้ มุ่งเน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก

สำหรับกิจกรรมการพัฒนา “หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industry Village : CIV)หรือ “หมู่บ้าน CIV” ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือ หมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเพื่อสร้างมูลค่า มีจิตบริการ ที่บริหารโดยชุมชน เป็นการสร้างเสริมรายได้เพิ่มขึ้นภายในชุมชน  ส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีอาชีพ ลดการทิ้งถิ่นฐาน โดยดำเนินมา ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบของการบูรณาการงานร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ตอบสนองแผนพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์นี้อย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อวางรากฐานแนวคิดในการนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจ อุตสาหกรรมเพื่อสร้างรายได้ให้แกชุมชน  ส่งเสริมให้ชุมชนนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณค่าตรงกับความต้องการของผู้ซื้อในตลาดการท่องเที่ยว  และเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดและสร้างรายได้แก่ชุมชนโดยการสร้างกิจกรรมรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

จากการศึกษาความพร้อมของชุมชนในพื้นที่ บางพื้นที่โดดเด่นเรื่องผลิตภัณฑ์แต่ขาดความรู้ในการบริหาร มีการจัดการด้านการท่องเที่ยวแต่ขาดกิจกรรมที่จะดึงนักท่องเที่ยว ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ภาคที่ 1 ได้มีส่วนช่วยประสานสนับสนุนให้มีการจัดอบรม สัมมนา ฝึกอบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ยกระดับคุณภาพสินค้าและการท่องเที่ยวควบคู่กันไป ดึงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและภูมิปัญญาของแต่พื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ของชุมชน ให้แนวคิดและวางแผนการทำงานในสิ่งที่ชุมชนต้องการ  เป็นการพัฒนาแบบองค์รวมร่วมกันกับผู้นำชุมชน  โดยผลักดันให้ภาคส่วนต่างๆ  และหมู่บ้านร่วมกันจัดทำแผนธุรกิจเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว โดยใช้ความสร้างสรรค์และเสน่ห์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในพื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการของชุมชนตามแนวประชารัฐ เพื่อยกระดับชุมชน ซึ่งในระยะยาวจะช่วยให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สร้างการพัฒนา การจ้างงาน ประชาชนมีศักยภาพในการใช้จ่ายทำให้เศรษฐกิจหมุนอีกครั้ง

จังหวัดที่ได้เข้าร่วมพัฒนาในปีนี้ได้แก่ หมู่บ้านภาคเหนือตอนบน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

จังหวัดเชียงใหม่           บ้านจุ้ม เมืองเย็น ร้อยเรื่องเล่า พันนาภูเลา พื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

”บ้านจุ้ม เมืองเย็น” คือ การรักษาวิถีชีวิตพื้นบ้านที่มีความผูกพันภายในชุมชน มีความโอบอ้อมอารีมีน้ำใจ นั่นหมายถึงวิถีชีวิตแบบ “บ้านจุ้ม เมืองเย็น” (บ้านที่อุดมสมบูรณ์ เมืองที่สงบร่มเย็น) “ร้อยเรื่องเล่า” หมายถึง ชุมชนออนใต้นั้นเป็นเมืองเก่าที่มีตำนานมากมาย ในลักษณะ “ร้อยเรื่องเล่า” หนึ่งใน “ร้อยเรื่องเล่า” คือ การค้นพบศิลาจารึกในวัดเชียงแสน เป็นหลักฐานที่บอกว่าชาวบ้านที่นี่ อพยพมาจาก พันนาพูเลา แขวงเมืองเชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงราย) มาตั้งอยู่ริมน้ำแม่ออนก่อ ตั้งบ้านเมือง ผลิตเครื่องถ้วยชาม สร้างถิ่นฐานอยู่บนผืนดินแห่งนี้จนกระทั่งถึงกาลล่มสลายพื้นที่แห่งนี้คือ ตำบลออนใต้ ในปัจจุบัน

จังหวัดลำพูน พื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือ ตำบลหนองเงือก และ ตำบลบ้านดอนหลวง อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน             “เลื่องลือหัตถกรรม นำเด่นผ้าฝ้าย” เรื่องของหัตถกรรมการทอผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นผ้าฝ้ายทอมือ ลวดลายแบบโบราณที่สืบทอดต่อๆ กันมาเป็นเวลานานนับร้อยๆ ปี “วัฒนธรรมสืบสาย ชาติพันธุ์ไทยอง” ซึ่ง ชาวหนองเงือกมีบรรพบุรุษเป็นชาวยอง อาศัยอยู่ในมณฑลยูนาน แคว้นสิบสองปันนาซึ่งปัจจุบันอยู่ในการปกครองของประเทศจีน อพยพมาตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มแม่น้ำทา อำเภอป่าซาง

จังหวัดลำปาง พื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  คือ  บ้านศาลาบัวบก และ บ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง “ถิ่นเครื่องปั้นลือนาม เล่าขานผ่านวิถีชุมชนเซรามิค” วิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนทั้งสองแห่ง ที่มีอาชีพผลิตเครื่องปั้นดินเผาหรือเซรามิคจำหน่าย เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน เป็นวิถีชีวิตที่ได้สืบทอดทำต่อกันมายาวนานซึ่งมีประวัติเรื่องราวและภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนแบบดั้งเดิม ทั้งในแง่ของศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และการดำเนินวีถีชีวิต

จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตำบลผาบ่อง ตำบลหมอกจำแป่ และตำบลปางหมู  อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน“เรื่องเล่าแห่งสายน้ำ” คือเรื่องราวและวิถีชุมชนของทั้ง 3 ตำบล นั้น มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำ โดยเฉพาะลุ่มน้ำปายตอนล่าง ซึ่งเรื่องราวทุกอย่างนั้นล้วนเกิดขึ้นจากประเพณี และวิถีวัฒนธรรมชองชาวไทยใหญ่ “ข้ามสะพานแห่งวัฒนธรรม” คือเรื่องราวของสะพานต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใน 3 ตำบลนั้น แต่ละแห่งมีจุดเริ่มต้นมากจากความศรัทธาของคนในชุมชนนั้นๆ อย่างเช่น สะพานซูตองเป้ เป็นสะพานที่ถูกสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวบ้านปางหมู และชาวบ้านกุงไม้สัก เพื่อให้พระภิกษุ และสามเณร สามารถมีหนทางที่ข้ามมาเพื่อรับบิณฑบาตได้ ในช่วงหน้าน้ำ.

 

 

 

You may also like

อบจ.เชียงใหม่​ ร่วมภาคีเครือข่าย เฉลิมพระเกียรติ​ในหลวง ร.10 ครบ 6 รอบ “ปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา ที่หนองเขียว”

จำนวนผู้