กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เปิดทาง กศ.หนุนเด็กติด G ได้เลขประจำตัว 13 หลัก

กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เปิดทาง กศ.หนุนเด็กติด G ได้เลขประจำตัว 13 หลัก

เชียงราย / กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ลุยจัดสัมมนาสัญจร เปิดรับฟังปัญหาผู้ขอสัญชาติไทย ผู้แทนคณะย้ำจะเร่งผลักดันคำร้องขอที่ค้างอยู่ในระบบนับหมื่นรายให้เสร็จ พร้อมหนุนเยาวชนกลุ่ม G ให้ได้เลขประจำตัว 13 หลัก กรุยทางเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา หวังเป็นแรงขับเคลื่อน ศก.ไทยในอนาคตเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 24 ม.ค. ผู้แทนคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ นำโดย พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่ 3 และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ ได้จัดโครงการสัมมนา กมธ.ความมั่นคงสัญจร ครั้งที่ 1 เรื่อง “การเสริมสร้างความมั่นคงและกิจการชายแดนคนไทย” ที่ อาคารอเนกประสงค์ ที่ว่าการอำเภอดอยหลวง จ.เชียงราย เพื่อรับฟังปัญหา พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีผู้ไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ โดยมีวิทยากรทั้งจากภาครัฐ และภาคประชาชน เข้าร่วม ได้แก่ นางประนอม กิจเจริญ ปลัดอำเภอดอยหลวง, นายอริยะ เพ็ชร์สาคร และ น.ส.อุนทิพย์ พุทธวงค์ เครือข่ายสถานะบุคคล จ.เชียงราย

นายพีรเดช คำสมุทร โฆษกคณะกรรมาธิการฯ และ ส.ส.เชียงราย เขต 6 กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ว่าปัญหาของผู้ขอสัญชาติไทย ส่วนหนึ่งอยู่ที่ความหลากหลายของกฎเกณฑ์ เช่น การขอสัญชาติของวัยแรกเกิด การขอสัญชาติของประชาชนที่อายุอยู่ในเกณฑ์ 18 ปี การขอสัญชาติของประชาชนที่มีอายุเกิน 18 ปี หรือผู้ขอสัญชาติที่อยู่ในวัยสูงอายุ ทำให้มีผู้ขอสัญชาติไทยที่ยังคงติดอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก  กมธ.ความมั่งคงแห่งรัฐฯ จึงได้จัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อจะได้จัดทำข้อมูลและแก้ไขกระบวนการที่สร้างผลกระทบต่อการขอสัญชาติของประชาชนขณะเดียวกันในฐานะที่เป็น ส.ส.ในพื้นที่ เบื้องต้นจะช่วยรวบรวมรายชื่อ และเอกสารของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่ ที่ยังคงมีปัญหาในการขอสัญชาติไทย รวมถึงการขอบัตรยืนยันสถานะบุคคลชนิดต่างๆ ให้นักศึกษาจาก ม.ราชภัฏ เชียงราย และ ม.แม่ฟ้าหลวง ที่ได้ประสานไว้ ร่วมกับกลุ่ม NGOs จากเครือข่ายสถานะบุคคล จ.เชียงราย พิจารณาว่าปัญหาในแต่ละกรณีจะต้องดำเนินการขั้นตอนใด รวมถึงจะเป็นกระบอกเสียงขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวในสภา เพื่อหาแนวทางผลักดันการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ได้รับสถานะใดสถานะหนึ่งอย่างชัดเจน ไม่ใช่บุคคลที่ถูกลืมจากสังคมเช่นปัจจุบัน ทั้งนี้บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ก็ต้องกระตือรือร้นในการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ และรู้ถึงสิทธิที่ตนจะได้รับด้วย ไม่ใช่รอรับการช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว

นางประนอม กล่าวว่าในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ มองความล่าช้าส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากขั้นตอน และเงื่อนไขการตรวจสอบที่มีหลายชั้น รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บางส่วน ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน เมื่อถูกโยกย้ายไปพื้นที่อื่นก็ขาดความต่อเนื่อง ทำให้เอกสารยื่นคำร้องสูญหายไปบางส่วน

น.ส.อุนทิพย์ เสริมว่า ในส่วนของผู้ไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่ยื่นคำร้องขอสัญชาติ หรือขอยืนยันสถานะบุคคลในรูปแบบต่างๆ ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างโปร่งใสด้วย ไม่ใช่ติดสินบนเจ้าหน้าที่ หรือสร้างพยานเท็จขึ้นมา เพราะอาจจะทำให้ชื่อของผู้ยื่นคำร้องติดบัญชีดำได้ด้าน พล.ต.ต.สุพิศาล กล่าวว่า กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ มุ่งเน้นความมั่นคงของประชาชนเป็นหลัก ในการเข้ามาแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน จะร่วมมือกับภาครัฐ และ NGOs ผลักดันคำร้องการขอสัญชาติไทย และการขอยืนยันสถานะบุคคลที่ค้างอยู่ในระบบจำนวน 10,000 คน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมตั้งเป้าไว้ 25,000 คน ในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทาง กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ จะผลักดันให้มีเลขประจำตัว 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยตัว G ครบทุกคน เพื่อมอบโอกาสให้สามารถเข้าถึงสิทธิการศึกษาในโรงเรียนไทยได้ ในอนาคตจะได้สามารถเป็นแรงงานที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยได้.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่​ ร่วมภาคีเครือข่าย เฉลิมพระเกียรติ​ในหลวง ร.10 ครบ 6 รอบ “ปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา ที่หนองเขียว”

จำนวนผู้