“ไซยะบุรี” เขื่อนลาวสัญชาติไทย ภัยพิบัติทางนิเวศวิทยาในลุ่มน้ำโขง

“ไซยะบุรี” เขื่อนลาวสัญชาติไทย ภัยพิบัติทางนิเวศวิทยาในลุ่มน้ำโขง

- in Exclusive, headline, mekong focus

วิกฤติในลำน้ำโขง  ยังคงขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ จากการที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงผันผวน ขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว เพราะเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งเป็นเขื่อนลาว สัญชาติไทย ได้เก็บกักน้ำบางส่วนไว้เหนือเขื่อนตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค.62 เพื่อเตรียมทดสอบผลิตไฟฟ้า และได้ปล่อยน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง 72 ชั่วโมง (3 วัน) ตั้งแต่เที่ยงวันของวันที่ 17-19 ก.ค. ที่ผ่านมาแม้ว่าขณะนี้เขื่อนไซยะบุรี จะยุติการทดสอบผลิตไฟฟ้าแล้ว แต่ผลกระทบยังคงหนัก โดยเฉพาะในเขต อ.เชียงคาน อ.ปากชม อ.สังคม จ.หนองคาย รวมถึง จ.บึงกาฬ เพราะการที่แม่น้ำโขงแห้งลงทันที ทำให้หาดทรายที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำโดยเฉพาะหอยต่างๆ เช่น หอยเล็บม้า โผล่เหนือน้ำ ซ้ำหาดทรายที่ร้อนระอุในตอนกลางวันยังทำให้หอยตายเกลื่อนหาด และส่งกลิ่นเหม็น ขณะที่หอยที่ยังมีชีวิตรอด เนื่องจากอยู่น้ำลึกลงไปก็ง่ายต่อการถูกจับ ดังเช่นบริเวณหาดแห่ บ้านต้าย ต.นากั้ง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ ที่หอยโผล่เหนือน้ำ ซึ่งไม่เคยเกิดปรากฏการณ์น้ำแห้งในช่วงเวลานี้มาก่อนดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระบุว่า ช่วงที่เขื่อนไซยะบุรีทดลองเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเจเนอเรเตอร์ตัวที่ 5 ทำให้ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงบริเวณเสียหายยับเยินประมาณร้อยละ 60 และที่ได้รับผลกระทบรุนแรงคือป่าไคร่นุ่น ที่เป็นป่าน้ำท่วมตามฤดูกาล เป็นแหล่งอาหาร แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ที่ทำหน้าที่คล้ายป่าชายเลนของทะเลขณะที่พันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนที่ยังไม่แข็งแรง และสัตว์น้ำขนาดเล็กเกือบทั้งหมดตาย เพราะสัตว์เหล่านี้ปกติจะอาศัยหลบซ่อนตัวตามป่าไคร่ และแก่งหิน นอกจากนั้น ยังมีปลาพ่อแม่พันธุ์ที่บางตัวมีไข่เต็มท้องหนีลงน้ำลึกไม่ทันต้องตายด้วย ล่าสุดน้ำที่เหลือขังในแม่น้ำบางจุดเริ่มเป็นสีคล้ำ และปลาตายลอยขึ้นอืดส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว ส่วนปลาขนาดใหญ่ ถูกชาวบ้านที่มาจากทุกสารทิศลงมาจับ เนื่องจากระดับน้ำโขงแห้งจับปลาได้ง่ายแม่น้ำโขงที่บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย ท้องน้ำแตกระแหงกว้างไกล และร้อนระอุราวกับทะเลทราย สัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น กุ้ง และลูกปลาที่คาดว่าพ่อแม่ของมันเพิ่งวางไข่และผสมพันธุ์ ไม่มีโอกาสที่จะสืบทอดเผ่าพันธุ์ ตามซอกหินที่เคยมีน้ำและหลบซ่อนตัวกลายเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น เมื่อบวกกับความร้อนระอุที่สะสมในแก่งหิน มันก็สุกจนดูเหมือนมันถูกปิ้งย่างบนเตา ขณะที่ต้นไคร่เหลือแต่ซากต้นและกิ่งก้านเหยียดขึ้นฟ้าให้แดดแผดเผา“สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ถือเป็นภัยพิบัติทางนิเวศวิทยาที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของลุ่มน้ำโขง มันคือการฆาตกรรมสรรพชีวิต แต่นี่เป็นเพียงปฐมบทของเขื่อนขนาดใหญ่ที่กั้นลำแม่น้ำโขงสายหลักแห่งแรก และมันยังไม่จบเท่านี้ เพราะเดือนตุลาคมที่จะถึง เขื่อนแห่งนี้จะผลิตกระแสไฟเต็ม 100% เมื่อถึงวันนั้น ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะผันผวน (fluctuation) และนิเวศวิทยาของแม่น้ำโขงจะเสียหายอย่างยับเยิน” ดร.ไชยณรงค์ อธิบายหากท่ามกลางสถานการณ์ที่เลวร้ายนี้ หน่วยงานราชการของไทยที่รับผิดชอบด้านน้ำแทบไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน การเตือนภัยทำหลังจากเขื่อนกักเก็บน้ำแล้ว 10 กว่าวัน หรือเมื่อเหตุการณ์โกลาหลแล้ว เช่น ชาวบ้านในชุมชนริมฝั่งโขง รวมทั้งตัวเมืองหนองคายต้องหยุดจ่ายน้ำประปา เรือชาวประมงและเรือนั่งท่องเที่ยวต้องค้างเท้งเต้งบนหาดทรายกลางลำน้ำโขง และที่จุกในอก ก็คือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มีการแถลงเมื่อวันที่ 19 ก.ค. ขอให้เขื่อนไซยะบุรีเลื่อนการทดลองผลิตกระแสไฟฟ้าออกไป เพื่อรอให้จีนปล่อยน้ำจากเขื่อนลงมาก่อน ซึ่งการแถลงขอให้เลื่อนนี้เกิดขึ้นในวันเดียวกันกับการที่เขื่อนไซยะบุรีทดลองผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นวันสุดท้าย !!!ทั้งนี้ หากมองลึกลงไป ก็จะเห็นได้ว่า เขื่อนไซยะบุรี สร้างโดยทุนไทย ได้เงินกู้จากสถาบันการเงินของไทย 6 แห่ง และไฟฟ้าร้อยละ 95 ที่ผลิตได้จากเขื่อนแห่งนี้ จะส่งมาขายยังประเทศไทย.

You may also like

รมว.ท่องเที่ยวฯเตรียมเสนอรัฐบาลดันโครงการ”แอ่วเหนือคนละครึ่ง”จัดครม.สัญจรสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวหวังฟื้นฟูได้ทันพ.ย.นี้

จำนวนผู้