แนะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ไขปัญหาคนอยู่ป่า-ชนเผ่า ถูกละเมิดสิทธิ

แนะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ไขปัญหาคนอยู่ป่า-ชนเผ่า ถูกละเมิดสิทธิ

เชียงใหม่ / คนอยู่ป่า-ชนเผ่า ถูกละเมิดสิทธิแบบทับซ้อน ขณะที่กระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยว ทำงานขาดอิสระ ชี้ทางออกชาวบ้านต้องแสวงหาความร่วมมือจากภาคี และรวมกลุ่มกัน  ออกแบบสร้างภูมิคุ้มกันในการจัดการตนเอง พร้อมปฏิรูป“ยุติธรรม”ทั้งกระบวนเมื่อเวลา 10.00 วันที่ 20 ก.ย.62 ที่ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาชาติพันธ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มช. ได้ร่วมกับเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ และสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “สิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงความยุติธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ชนผ่า กลุ่มเปราะบาง กับการปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรม” โดยมีนักวิชาการ ภาคประชาชน กลุ่มชาติพันธุ์ นักศึกษา ตัวแทนพรรคการเมือง และผู้สนใจเข้าร่วมอย่างคับคั่งนายศักดิ์ดา แสนมี่ ผอ.สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาในประเทศไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์โดยรวมด้านสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงความยุติธรรม ชองกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่า และกลุ่มเปราะบางว่า นโยบาย กฎหมาย ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์ หรือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่า เพราะรัฐจะใช้นโยบาย และกฎหมาย เข้ามาจัดการ หรือกระทำกับคนที่อยู่ในเขตป่าส่วนการเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม ที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยหลักคือกระบวนการยุติธรรมมีปัญหาอุปสรรคตั้งแต่ต้นทาง คือชั้นสืบสวน ที่มาที่ไปของปัญหา เมื่อนำประเด็นเหล่านี้เข้าสู่การแก้ไขปัญหาโดยกระบวนการยุติธรรม กลไกของกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นตำรวจ ไปจนถึงกระบวนการกฎหมายนั้น ต้นทางจะรับคดีดำเนินการหรือไม่ ก็เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ ความไม่รู้ ขาดข้อมูล ขาดความรู้ ความเข้าใจในนโยบายกฎหมาย รวมทั้งสิทธิของตัวเอง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านเข้าไม่ถึงความยุติธรรม“ปรากฏการณ์ที่เป็นเรื่องความไม่เท่าเทียม หรือความอยุติธรรม ถูกปรากฏออกมาหลายระดับ บางคนหรือบางกรณีถูกทับซ้อนหลายชั้นมาก เช่น กรณีชาวบ้านไม่มีบัตร หรือไม่มีสถานะบุคคล และอยู่ในเขตป่า กลุ่มนี้จะถูกกระทำหลายชั้น ด้วยกฎหมายหรือระเบียบต่างๆ ขณะเดียวกันในการใช้ระเบียบ กฎหมายของเจ้าหน้าที่ ก็มักจะเป็นเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์ หรือใช้กฎหมายในแง่ที่เป็นคุณต่อตนเอง แต่จัดการกับคนอื่น ทำให้ชาวบ้านถูกตอกย้ำ ถูกกระทำมากขึ้น” นายศักดิ์ดา กล่าวดังนั้นกลุ่มชาวบ้านที่อยู่ในเขตป่า ไม่ว่าจะเป็นชาติพันธุ์หรือไม่ ล้วนจำเป็นที่ต้องแสวงหาแนวทางต่อสู้ จากการถูกกระทำ ถูกละเมิดสิทธิ และต้องแสวงหาความร่วมมือจากภาคี ทั้งภาคประชาสังคม หรือองค์กร หน่วยงาน สถาบันวิชาการ แม้กระทั่งชาวบ้านเองก็ต้องรวมกลุ่มกัน  ออกแบบ สร้างภูมิคุ้มกันในการจัดการตนเอง เพื่อป้องกันภัยต่างๆ ที่จะเข้ามากระทำต่อพวกเขา ซึ่งนั่นก็จะสามารถปกป้อง รักษาสิทธิของตนเองได้ นอกจากนี้ขบวนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย และสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ก็จัดตั้งกลไกร่วมขึ้นมา เพื่อผลักดันนโยบาย หรือกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อชนเผ่าพื้นเมือง รวมถึงผลักดันให้มีการยกเลิก หรือปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกฎหมาย นโยบาย ที่กระทบต่อสิทธิ ความเป็นอยู่ ของชนเผ่าพื้นเมืองด้วยด้านนางสมศรี หาญอนันทสุข กรรมการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) กล่าวว่า การถูกรีดไถ จับกุม ส่งส่วย ตั้งด่านผิดกฎหมาย จับแพะ บิดเบือนคดี ยังมีอยู่จริงในสังคมไทย สป.ยธ.จึงเน้นเรื่องกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถทำงานแบบตรงไปตรงมา และไม่บิดเบี้ยว โดยเฉพาะการทำงานขั้นต้น การสอบสวน ถือเป็นหัวใจสำคัญ จึงต้องเป็นอิสระ การปฏิรูปจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วต้องปฏิรูปทั้งกระบวนด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะตำรวจ อัยการ ศาล หรือเรือนจำ.

You may also like

ททท. จัดใหญ่เอาใจคนรักเนื้อและชาวแคมป์มาแอ่วเหนือรับลมหนาวกับงาน “Amazing Chiang Mai Meat and Camp 2024” ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคมนี้ ที่สวนอบจ.เชียงให

จำนวนผู้