แกะปม ป.ป.ช.ฟันทุจริตซื้อผ้าห่มกันหนาว  บทเรียนราคาแพงที่ ขรก.ต้องจดจำ

แกะปม ป.ป.ช.ฟันทุจริตซื้อผ้าห่มกันหนาว  บทเรียนราคาแพงที่ ขรก.ต้องจดจำ

ากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหาอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ “ภุชงค์ โพธิกุฎสัย” กับพวก ทุจริตโครงการจัดซื้อผ้าห่มกันหนาวเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ภัยหนาว ปีงบประมาณ 2558 ทำให้รัฐเสียหายนั้น ตามรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แสดงให้เห็นการใช้งบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน “ภัยหนาว” ปีงบประมาณ 2558 โดยขณะที่ ภุชงค์ โพธิกุฎสัย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์  จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ประกาศให้เป็นเขตภัยหนาว และตั้งเรื่องจัดซื้อผ้าห่มกันหนาว กับบริษัท ราชาเครื่องนอน จำนวนกว่า 4,000 ผืน ในราคาผืนละ 200 บาท วงเงิน 9 แสนบาทเศษนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยพฤติการณ์นี้ ว่า เมื่อตรวจสอบเอกสารเบิกจ่ายเงินค่าผ้าห่ม กลับระบุว่า จ.กาฬสินธุ์ เบิกจ่ายเงินซื้อผ้าห่มกันหนาวจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านโคกกลาง และกลุ่มผ้าห่มเพื่อประชาชน ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชน

และที่พบความผิดปกติอีกประการหนึ่งคือ เอกสารเบิกจ่ายเงิน ลงราคาในใบเสร็จค่าผ้าห่มผืนละ 240 บาท ทำให้การซื้อขายครั้งนี้ มีส่วนต่าง ราว 1 แสน 6 หมื่นบาท

เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ย้ำว่า จากการติดตามเส้นทางเงิน พบการจ่ายเงินกลุ่มส่งเสริมอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านโคกกลาง และกลุ่มผ้าห่มเพื่อประชาชน จากนั้น ทั้ง 2 แห่งเบิกเงินไปจ่ายบริษัท ราชาเครื่องนอน ในราคาผืนละ 200 บาท ขณะที่เงินส่วนต่าง นายภุชงค์ เป็นผู้รับไว้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงลงมติชี้มูลความผิดนายภุชงค์ และบริษัทเอกชน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 โดยชี้มูลความผิดทั้งทางอาญา และวินัย มูลค่าความเสียหาย  1 แสน 6 หมื่นบาทสำหรับความผิดปกติการจัดซื้อผ้าห่มกันหนาวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีลักษณะที่คล้ายกับการจัดซื้อของ อบจ. เพราะบางแห่งไม่ได้จัดซื้อจากกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งถือว่าผิดระเบียบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แต่ไปซื้อผ้าห่มที่มีขายทั่วไป โดยจะกำหนดราคาไม่ให้เกินราคากลาง 240 บาท ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตั้งราคากลางไว้

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เปิดเผยผลการตรวจสอบสอบการจัดหาและแจกผ้าห่มภัยหนาว เฉพาะ จ.กาฬสินธุ์ ในปีงบประมาณ 2558 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาฬสินธุ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ รวม 101 หน่วยงาน เป็นเงินงบประมาณ 35 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้ระบุถึงปัญหาเรื่องการทุจริตและรายชื่อผู้เกี่ยวข้องที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดแต่อย่างใดโดย สตง.ตั้งข้อสังเกตที่ตรวจสอบพบ มีดังนี้ 1) มีการแจกผ้าห่มกันหนาวซ้ำครอบครัวจากหลายหน่วยงาน บางครอบครัวได้รับแจกผ้าห่มกันหนาว 2-3 ผืนในปีงบประมาณเดียวกัน 2) ครอบครัวของผู้ที่ได้รับแจกผ้าห่มกันหนาวส่วนใหญ่มีผ้าห่มกันหนาวที่ทอใช้เอง ซื้อ และรับแจกในปีงบประมาณที่ผ่านมา และปัจจุบัน รวมประมาณ 6-20 ผืน บางครอบครัวมีมากกว่า 50 ผืนขึ้นไป ซึ่งมีมากพอและไม่ขาดแคลนผ้าห่มกันหนาวจริง 3) ไม่มีการสำรวจความต้องการเพื่อให้ทราบผู้ที่ขาดแคลนก่อนแจกผ้าห่มกันหนาว โดยครอบครัวของผู้ที่ได้รับแจก รวมแล้วมีมากกว่าจำนวนสมาชิกในครอบครัว4) ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่ประกาศการยุติการให้ความช่วยเหลือทันทีเมื่อภัยพิบัติหนาวสิ้นสุดลงโดยจังหวัดกาฬสินธุ์ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557 ทำการประกาศครอบคลุมทั้งจังหวัด ซึ่งมีทั้งหมด 18 อำเภอ และสภาพอากาศตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2558 เป็นต้นไป มีอุณหภูมิเพิ่มสูงกว่า 15 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับอุณหภูมิตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 กรณีภัยหนาว แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ประกาศสิ้นสุดภัยพิบัติเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2558 ล่าช้ากว่าข้อเท็จจริง 37 วัน ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งยังมีการแจกผ้าห่มกันหนาวหลังจากวันดังกล่าวอยู่  5) มีการจัดซื้อผ้าห่มกันหนาวในราคาแพงกว่าราคาตามท้องตลาด 83 หน่วย จากทั้งหมด 101 หน่วย เป็นเงิน 10.61 ล้านบาท6) อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังประกาศ ไม่สอดคล้องกับความหมายของอากาศหนาวจัดผิดปกติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ส่งผลให้รัฐต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณมากเกินกว่าที่ควร เนื่องจากจำนวนผู้ประสบภัยหนาวตามเกณฑ์อากาศหนาวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส จะมีมากกว่ากรณีอากาศหนาวจัดผิดปกติ ทำให้เป็นช่องทางให้หน่วยงานต่างๆ ของรัฐใช้จ่ายเงินงบประมาณ เพื่อจัดหาผ้าห่มให้กับผู้ประสบภัยหนาวมากเกินความจำเป็น

การจัดการกับปมทุจริตของ ป.ป.ช. จึงนับเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู ที่ทำให้หลายจังหวัดเกิดการตื่นตัว มีการตรวจสอบภายในอย่างเข้มงวด และรัดกุมยิ่งขึ้น เพราะอากาศหนาวคือภัยพิบัติซ้ำซากที่เกิดขึ้นทุกปี หากบริหารจัดการไม่โปร่งใส โอกาสที่จะเกิดบทเรียนราคาแพงเช่นนี้ซ้ำรอยย่อมเป็นไปได้สูง.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่จับมือภาคีเครือข่าย จัดงาน “วันสิ่งแวดล้อมไทย ประจำปี ภายใต้แนวคิด “รักษ์ป่า รักษ์ดิน รักษ์สิ่งแวดล้อม”

จำนวนผู้