เวทีสุดยอดผู้นำท้องถิ่นเหนือ เชื่อต้องนำคิด-นำทำ-นำพาให้ชุมชนน่าอยู่

เวทีสุดยอดผู้นำท้องถิ่นเหนือ เชื่อต้องนำคิด-นำทำ-นำพาให้ชุมชนน่าอยู่

เชียงใหม่ / ชุมนุมสุดยอดผู้นำท้องถิ่นภาคเหนือ หวังเฟ้นหาต้นแบบรับมือสถานการณ์วิกฤต ระบุผู้นำที่ดีต้องนำคิด นำทำ นำพา ให้ชุมชนอยู่อย่างมีความสุข เชื่อประเทศไทยจะเข้มแข็งถ้าเราร่วมกันสร้างสุดยอดผู้นำตำบลละ 200 คนเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2563 ที่ห้องสักทอง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ วาระทศวรรษร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นนาอยู่ พื้นที่ภาคเหนือ โดยมีผู้นำท้องถิ่นในเขตภาคเหนือทั้งตอนบนและตอนล่าง 17 จังหวัด เข้าร่วมกว่า 600 คน ซึ่งมีเป้าหมายในการขยายแนวคิด แนวทาง และวิธีการพัฒนาสู่ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งอย่างยั่งยืนนายปวัน พรหมตัน ผู้จัดการศูนย์สนับสนุนทางวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวว่า เวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมศักยภาพผู้นำชุมชนท้องถิ่นให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปธรรมการปรับตัวหรือตั้งรับของชุมชนท้องถิ่นทั้งในสถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์วิกฤตตามประเด็นต่างๆ 6 เรื่อง ได้แก่ 1.ระบบเศรษฐกิจชุมชน 2.การเตรียมพร้อมสังคมผู้สูงอายุ 3.การจัดการโรคติดต่อ 4.การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5.การสร้างชุมชนเกื้อกูล และ 6.การรับมือวิกฤตสิ่งแวดล้อม ซึ่งรูปธรรมเหล่านี้มาจากบทบาทและผลงานของผู้นำชุมชนท้องถิ่นต่างๆ จากนั้นจะนำแนวคิดและแนวทางการดำเนินงานตามประเด็นเหล่านี้ ไปขยายผลสู่ชุมชนอื่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไปนายปวัน กล่าวต่อไปว่า ผู้นำชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสูงมากในการขับเคลื่อนชุมชน ซึ่งผู้นำที่ดีต้อง นำคิด นำทำ และนำพา นอกจากนี้ผู้นำจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องเป็นผู้ประสานให้ 4 องค์กรหลักในท้องถิ่น ประกอบด้วย 1)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2)กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน 3)หน่วยงานรัฐในพื้นที่ เช่น รพ.สต., กศน.เป็นต้น และ 4)องค์กรชุมชนและภาคประชาชน ทำงานอย่างราบรื่น สอดคล้อง เพื่อให้ชุมชนอยู่อย่างมีความสุขขณะเดียวกัน น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโสสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการแผนสุขภาวะชุมชน สำนัก 3 กล่าวว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งพยายามสานพลังในพื้นที่ จากระดับเล็กที่สุด คือตำบล ทำให้เกิดความร่วมมือของ 4 องค์กรชัดขึ้น เพราะพื้นที่ใดก็ตามที่ 4 องค์กรหลักในพื้นที่ร่วมมือกัน ประชาชนจะมีความสุข ทำให้เกิดระบบ เกิดนวัตกรรม ซึ่งกระบวนการนี้สามารถประยุกต์ใช้ในระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศได้“พื้นที่ของเราเป็นชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง มีระบบการคุ้มครองทางสังคมดีหรือไม่ ดูจาก 2 ส่วน คือ บริการสาธารณะ เช่น ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ฯ ทุกคนต้องเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นดัชนีชี้วัด คือ สวัสดิการ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ เงินทอง การช่วยเหลือ” น.ส.ดวงพร กล่าวและว่าประเทศไทยจะเข้มแข็ง น่าอยู่ ถ้าร่วมกันสร้างสุดยอดผู้นำ ตำบลละ 200 คน และ 110 ทุนทางสังคม นั่นคือ 3,000 ตำบลของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ต้องสร้าง 600,000 ผู้นำ กับ 330,000 ทุนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ หรือนวัตกรรม ซึ่งเชื่อมั่นว่าเราทำได้อย่างแน่นอน และจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชน สังคม ทำให้เกิดศักยภาพ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน.

You may also like

ชมรมผู้บริหารงานแม่บ้านโรงแรมจัดงาน“ Chiang Mai Housekeeping Fair 2024

จำนวนผู้