เปิดเวทีโครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน HAZE FREE THAILAND 2018

เปิดเวทีโครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน HAZE FREE THAILAND 2018

เปิดเวทีโครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน HAZE FREE THAILAND 2018 รวมงานวิจัยทุกด้านจาก 8 มหาวิทยาลัยหวังลดปัญหาหมอกควันใน 5 ปี เผย 2 ปีใช้เงินไปกว่า 88 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.61 ที่ห้องป่าสักน้อย โรงแรมปางสวนแก้ว ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ​ เป็นประธานเปิดงานโครงการ HAZE  FREE​ DAY​ 2018​ โดยมี นายวิรุฬ พรรณ​เทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่,รศ.ดร.ปิยะพงษ์​ เนียมทรัพย์ ผู้ช่วยอธิการบดี​ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.ในฐานะผู้จัดการโครงการวิจัยร่วมให้การต้อนรับ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กล่าวว่า สำหรับโครงการประเทศไทยไร้หมอกควันหรือ HAZE FREE THAILAND 2018 เป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติหรือวช.ให้การสนับสนุนงานวิจัยมาตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมาโดยให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแกนหลักร่วมกับอีก 7 มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจการเกษตรในภาคประชาชนและสร้างอาชีพใหม่ๆ ที่ช่วยเสริมและทดแทนอาชีพเพิ่มที่ปลูกพืชหมุนเวียนที่ต้องเผาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดปัญหาหมอกควันของทุกปี

“โครงการประเทศไทยไร้หมอกควันเป็นตัวอย่างที่เอางานวิจัยทุกด้านมาแก้ไขปัญหา มารวมกันเป็นโครงการวิจัยท้าทายไทยไร้หมอกควัน ตั้งเป้าหมายไว้อย่างน้อย 5 ปีที่จะลดปัญหาต่างๆ ให้น้อยลง ซึ่งในทีมวิจัยจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ ลดการเผา เช่นปรับพื้นที่การเพาะปลูก หาพืชอื่นทดแทน บริหารจัดการแปลงเพื่อลดการเผา อีกกลุ่มจะเป็นการบริหารจัดการช่วงเวลาการเผาในกรณีที่จำเป็นต้องเผาเพื่อลดผลกระทบซึ่งทางจังหวัดได้เริ่มไปแล้ว และกลุ่มสุดท้ายคือผลกระทบด้านสุขาภาพและเศรษฐกิจจะลดปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร”เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กล่าวและชี้แจงว่า

สำหรับงบประมาณในการดำเนินโครงการปีที่ 1 และ 2 ใช้งบประมาณปีละ 44 ล้านบาท ปีนี้เข้าสู่ปีที่ 3 เป็นการบูรณการงานวิจัยของมช.กับ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท ซึ่งเราก็มีความตั้งใจว่าจะทำให้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ลดลง และไม่ใช่ปัญหาหลักของภาคเหนืออีกต่อไป ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมานอกจากบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีการประสานการทำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะให้เข้าใจและรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย

ขณะที่รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.ในฐานะผู้จัดการโครงการวิจัย กล่าวว่า ในปีแรกที่เริ่มโครงการสิ่งที่เห็นผลเป็นรูปธรรมคือจำนวนจุดความร้อน Hot Spot ลดลง จำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานก็ลดลง ผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนก็ลดลงตามไปด้วย ซึ่งการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันคงต้องใช้เวลาอีกนานในการที่จะลดผลกระทบในด้านต่างๆ ลงไป แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้ในสว่นของภาควิชาการเองมีมหาวิทยาลัย 7-8 แห่งเข้ามาร่วมเพื่อสร้างโมเดลในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งในเรื่องการของพื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวจากที่เคยปลูกในป่าก็หันไปลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวแต่ปลูกป่าและปลูกต้นไม้ใหญ่ทดแทน ส่งเสริมการปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่นปลูกพืชสมุนไพร ซึ่งขณะนี้ในส่วนของชุมชนพื้นที่ก็ให้ความร่วมมือดีขึ้นด้วย.

You may also like

CEA – MUJI จับมือดันงานหัตถกรรมท้องถิ่นเชียงใหม่ ผลักดันผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดแบรนด์ระดับโลก

จำนวนผู้