เชียงใหม่ยันปีนี้ไม่ออกประกาศห้ามเผาเด็ดขาด แจงแผนป้องกันไฟป่าฯและฝุ่นจับตา 8 แห่งไหม้ซ้ำซาก วางเป้าลดจุดความร้อนลง 20%

เชียงใหม่ยันปีนี้ไม่ออกประกาศห้ามเผาเด็ดขาด แจงแผนป้องกันไฟป่าฯและฝุ่นจับตา 8 แห่งไหม้ซ้ำซาก วางเป้าลดจุดความร้อนลง 20%

เชียงใหม่แถลงแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นpm2.5 วางเป้าลด Hot Spot 20% จับตา 8 พื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก ทสจ.เชียงใหม่แจงพื้นที่ป่ามีกว่า 9 ล้านไร่แต่มีจนท.ดูแลแค่ 2 พันกว่าคนแต่ก็พร้อมระดมเสือไฟและเหยี่ยวไฟทั่วประเทศมาช่วยหากเกิดวิกฤต โดยเฉพาะดอยสุเทพ อินทนนท์และดอยหลวงเชียงดาว ขณะที่อบจ.เชียงใหม่พัฒนาแอพพลิเคชั่น CMDSS PM2.5 เช็คค่าฝุ่น พื้นที่เกิดไฟป่าได้เอง ส่วนปภ.เตรียมนำ KA32 มาประจำการ 2 ลำ

เมื่อวันที่ 8 พ.ย.65 ที่ห้องประชุม 4 อาคารอำนวยการศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่จัดแถลงข่าวสื่อมวลชนประจำสัปดาห์เกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่น pm2.5 จังหวัดเชียงใหม่ประจำปี 2565

นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการสำนักช่าง อบจ.เชียงใหม่ กล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่น pm2.5 จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งผวจ.เชียงใหม่กำหนดเป้าหมายให้ลดจุดความร้อน หรือ Hot Spot 20% ว่า ซึ่ง 2-3 ปีที่ผ่านมา นายกอบจ.เชียงใหม่มีนโยบายทั้งลดจุดความร้อนและพื้นที่เผาไหม้ โดยสนับสนุนห้องปฏิบัติการไฟป่าฯ ซึ่งมีเทคโนโลยีรองรับจากทุกหน่วยงาน และสนับสนุนงบฯให้หมู่บ้านป้องกันไฟป่าฯ ปีละ 13 ล้านบาทหรือหมู่บ้านละ 2 หมื่นบาท เพื่อให้หมู่บ้านนำงบฯไปบริหารจัดการ ทั้งทำแนวกันไฟและดับไฟ 644 หมู่บ้าน โดยจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้เลือกหมู่บ้าน

ผอ.สำนักการช่าง อบจ.เชียงใหม่ กล่าวอีกว่า สำหรับห้องวอร์รูม ทางอบจ.เชียงใหม่ได้พัฒนาเวบไซต์ในการบริหารการเผา โดยพัฒนาจากอ.ชาคริต และได้พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่น CM pm2.5 ซึ่งเช็คจากมือถือทั้งระบบแอนดรอย์และไอโอเอส และอบจ.เชียงใหม่จะจัดอบรมการใช้แอพพลิเคชั่น เพื่อตรวจเช็ค ปริมาณอากาศ ไฟ ฝนและลม ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ 3 วันล่วงหน้า และส่งข้อมูลไปยังไฟล์ดีไปทุกตำบล และใช้แอพฯนี้ในการบริหารจัดการเชื้อเพลิง และแอพฯนี้เป็นต้นแบบของประเทศด้วย            อบจ.ได้สนับสนุนเครื่องเป่าใบไม้ 200 กว่าเครื่อง เพื่อสนับสนุนให้กับหน่วยงานในพื้นที่ทำแนวกันไฟ

ด้านนายกริชสยาม คงสตรี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีเกือบ 14 ล้านไร่เป็นพื้นที่ป่า 70% หรือ 9 ล้านไร่ทั้งป่าสงวนฯ และป่าอนุรักษ์ ซึ่งประชาชนก็ยังมีการพึ่งพิงจากป่าและเป็นสาเหตุเกิดไฟป่า หมอกควัน และพื้นที่เกือบ 9 ล้านไร่มีเจ้าหน้าที่เพียง 2,600 คนเท่านั้นที่ดูแล จึงไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นประชาชนจึงเป็นแนวร่วมสำคัญในการป้องกันและหากเกิดเหตุก็ต้องมาช่วยดับไฟป่า

ปีนี้ผวจ.เชียงใหม่ให้ความสำคัญและเร่งผลักดันแผนปฏิบัติการออกมา โดยปีนี้จะไม่มีประกาศห้ามเผาเด็ดขาดออกมาเหมือนทุกครั้ง และพื้นที่บริหารจัดการพิเศษซึ่งมี 8 จุดที่เกิดไฟไหม้ซ้ำซาก โดยพื้นที่เฝ้าระวังและต้องเข้าไปทำความเข้าใจประชาชน คืออ.แม่ออน เขตติดต่ออ.สันกำแพง เป็นป่าเต็งรัง มีประชาชนเข้าไปเก็บของป่าตลอด 2.บริเวณเหนือเขื่อนแม่กวง 3.แม่แจ่ม ต.แม่ศึกรอยต่ออ.แม่ลาน้อย 4.อ.สะเมิง พื้นที่ป่าเต็งรังหลังอำเภอ 5.พื้นที่ต.แม่แฝก อ.สันทราย ดอยแท่นพระรอยต่ออ.แม่แตง 6.ต.บ้านปง อ.หางดง หลังดอยสุเทพ 7.ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว รอยต่อพม่า 8.อ.ฮอด รอยต่ออ.อมก๋อย บริเวณดอยเกิ้งที่เกิดไฟป่าประจำ

นอกจากนี้ยังเตรียมการตามภาคปกติ คือทำแนวกันไฟ จัดชุดลาดตระเวน และปีนี้จะมีการกำหนดห้ามเผาเด็ดขาด และฝึกอบรมดับไฟของชุดเสือไฟ ของกรมอุทยานฯและชุดเหยี่ยวไฟของกรมป่าไม้ มาตรการสาธารณสุขเพื่อป้องกันสูญเสีย จะมีการตรวจสุขภาพคนร่วมดับไฟป่า ซึ่งสามารถไปตรวจได้ที่อำเภอ และมีห้องปลอดฝุ่นโดยให้ทุกอปท.มีห้องปลอดฝุ่นของตัวเอง และจังหวัดจะเชิญภาคเอกชนจัดพื้นที่ Save Zone

“หากเกิดวิกฤติไฟป่า ทางกรมฯจะสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าจากทั่วประเทศมาดูแล 3 ดอยสำคัญคือดอยสุเทพ อินทนนท์และดอยหลวงเชียงดาว และหวังว่าสถานการณ์ปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา”ทสจ.เชียงใหม่ กล่าว

ขณะที่นายอรุณ ปินตา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า ปี 66 เริ่มมีปรากฏการณ์ลานิโญ่เข้ามาซึ่งสถานการณ์ไฟป่าฯ อาจจะหนักกว่าเดิม ในส่วนของปภ.มีกลไกในการแก้ไขปัญหาคือนำพรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯมาใช้ โดยใช้ซิงเกิ้ลคอมมาน ให้อำนาจสั่งการแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเชียงใหม่มี 25 อำเภอมีเพียงอ.สารภีเท่านั้น เพราะฉะนั้น 130 ตำบลเกิดโอกาสทั้งนั้น

“ถ้าเกิดเหตุในพื้นที่ป่าและหน่วยไฟป่าอุทยานฯสามารถจัดการได้ แต่กรณีที่พื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างอบต.หรือเทศบาลต่างๆ ก็สามารถเข้าไปเสริมและมีงบฯอบจ.เชียงใหม่มาช่วยแต่ถ้าหากพื้นที่คาบเกี่ยวหลายตำบล นายอำเภอสามารถระดมทรัพยากรเข้ามาได้หมดตามกฎหมาย และหากเป็นพื้นที่เข้าถึงยาก จะใช้กลไกจังหวัดที่มีวอร์รูมอยู่ และบทบาทปภ.จะยังไม่เข้มข้นมากในช่วงต้น แต่จะดูค่า pm2.5 ถ้าเกิน 75 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.ซึ่งวอร์รูมจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งจะตั้งประมาณปลายเดือนธ.ค.เข้ามาดูแล และหากเกินศักยภาพของจังหวัดผวจ.เชียงใหม่ให้นโยบายที่ประชุมว่าจะเชิญผู้ว่าฯในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนมาประชุมร่วมกัน และได้หยิบยกเรื่องนี้คุยกับกงสุลใหญ่เมียนมาแล้ว ถ้าค่า pm2.5 สูงเกิน 100-200 ไมโครกรัมต่อลบ.เมตร”หัวหน้าสำนักงานปภ.เชียงใหม่ กล่าวและว่า

เชียงใหม่เป็นพื้นที่แอ่งกะทะ แม้ในพื้นที่ไม่มีการเผา แต่ลมก็พัดฝุ่นจากพื้นที่อื่นเข้ามา นอกจากนี้กรมปภ.มี KA32 มาประจำในช่วงที่เกิดวิกฤต ซึ่งปีนี้จะเพิ่มเป็น 2 ลำ เพื่อดูแลเรื่องสาธารณภัยต่างๆ โดยเฮลิคอปเตอร์ลำนี้สามารถตักน้ำได้ 3 พันลิตรต่อครั้ง.

You may also like

ททท. จัดใหญ่เอาใจคนรักเนื้อและชาวแคมป์มาแอ่วเหนือรับลมหนาวกับงาน “Amazing Chiang Mai Meat and Camp 2024” ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคมนี้ ที่สวนอบจ.เชียงให

จำนวนผู้