เชียงใหม่ปรับระบบชิงเผาให้ทุกตำบลเช็คเข้มก่อนลงระบบย้ำบริหารจัดการเชื้อเพลิงต้องจบภายใน 4 โมงเย็น

เชียงใหม่ปรับระบบชิงเผาให้ทุกตำบลเช็คเข้มก่อนลงระบบย้ำบริหารจัดการเชื้อเพลิงต้องจบภายใน 4 โมงเย็น

เชียงใหม่เรียก อปท.โซนใต้ถกย้ำการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ต้องเป็นระบบพื้นที่เกษตรต้องไม่ใช่แปลงใหม่ ทุกตำบลต้องเช็คเข้มก่อนลงระบบ ย้ำจัดการเชื้อเพลิงที่ให้เสร็จภายใน 4 โมงเย็นของวันที่ศูนย์รับทราบแผน วอร์รูมไฟป่า

วันที่ 2 ก.พ. 64 เวลา 14.00 น. ที่ศูนย์บัญชาการป้องกัน แก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมผ่านทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์ กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 12 อำเภอโซนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ปภ.เชียงใหม่ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักจัดการป่าไม้ที่ 1 เชียงใหม่ และคณะทำงานฝ่ายวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่าฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมให้ข้อมูลและตอบในข้อซักถาม

นายรัฐพล นราดิศร รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวเป็นข้อสั่งการกับ อปท. ที่ร่วมประชุมว่า ในส่วนระดับจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการฯ ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องบูรณาการในการจะพิจารณาการบริหารจัดการเชื้อเพลิงซึ่งเริ่มจากพื้นที่โซนใต้ของเชียงใหม่ ซึ่งถึงขณะนี้มีการรับทราบพื้นที่ในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงไปแล้ว 1 แสนกว่าไร่ แต่มีแจ้งผลการบริหารจัดการเข้ามายังศูนย์ฯ เพียง 4 หมื่นกว่าไร่ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในส่วนที่เหลือทำได้ยาก ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากระบบแอพพลิเคชั่นบริหารจัดการเชื้อเพลิงซึ่งเป็นระบบที่เชียงใหม่นำมาใช้เป็นครั้งแรก รวมถึงการสื่อสารที่อาจไม่เข้าใจกัน จึงเป็นที่มาของการประชุมวันนี้

“แอพพลิเคชั่นที่ใช้ขณะนี้ยังจะต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องต่อไปอีก จึงต้องทำความเข้าใจร่วมกันในการที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การลงทะเบียนบางครั้งพบว่าทับซ้อนระหว่างพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่า ทั้งป่าสงวน ทั้งป่าอนุรักษ์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนก็ต้องให้เกิดการตกผลึกร่วมกันว่าจะบริหารจัดการกันอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับพื้นที่ จะต้องตรวจสอบยืนยันให้ได้ว่า พื้นที่ที่จะบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยเฉพาะพื้นเกษตรจะต้องไม่เป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นใหม่ เรื่องนี้คณะทำงานระดับพื้นที่ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ทำกินแต่เดิม หรือถ้าเป็นไร่หมุนเวียนเป็นรอบที่กลับมาพื้นที่นั้นอีกครั้งจึงนำมาลงในระบบ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าจะเป็นการใช้แผนการบริหารจัดการเชื้อของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเปิดพื้นที่ทางการเกษตรขึ้นมาใหม่ ตรงนี้ขอให้เช็คให้ละเอียดก่อนจะนำเข้าสู่ระบบ” รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าว

“อีกประการพื้นที่ที่ขอบริหารจัดการเชื้อเพลิงเมื่อศูนย์ฯ รับทราบการดำเนินการแล้ว เมื่อบริหารจัดการแล้ว จะเสร็จทั้งแปลงที่ขอหรือไม่แล้วเสร็จจะต้องรายงานมายังศูนย์ฯ ทุกวันหลังจากดำเนินการในวันนั้นๆ ทางศูนย์ฯ จะได้ทราบถึงการจัดการในแต่ละวัน ซึ่งหากไม่แล้วเสร็จและไม่รายงาน มีการดำเนินการในวันถัดไป การบริหารจัดการเชื้อเพลิงก็จะสะสมเพิ่ม นั่นก็หมายถึงฝุ่นละอองก็จะสะสมเพิ่มมากขึ้นกว่าการที่มีการบริหารจัดการในวันถัดๆ ไป ฉะนั้นพื้นที่ที่จะขอบริหารจัดการเชื้อเพลิงควรต้องจัดการให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน และต้องอยู่ในช่วงเวลาที่สามารถบริหารจัดการได้คือ ระหว่างเวลา 11.00 น. ถึงเวลา 16.00 น. เท่านั้น หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จก็ให้แจ้งมายังศูนย์ฯ และขอจัดการพื้นที่ที่เหลือเข้ามาใหม่ ตรงนี้จะทำให้ศูนย์ฯ สามารถบริหารจัดการในภาพรวมทั้งโซตใต้ของเชียงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขอเน้นย้ำว่า ในโซนใต้ทั้ง 12 อำเภอ ต้องบริหารจัดการเชื้อเพลิงให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 ก.พ. 64 นี้เท่านั้น” นายรัฐพล นราดิศร รอง ผวจ.เชียงใหม่ กล่าว

You may also like

“ในน้ำมีปลา ในนามีปู” ม.แม่โจ้ คว้า รางวัลชนะเลิศ Best of the Best ระดับประเทศ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2567

จำนวนผู้