เชียงใหม่ประชุม ติดตามการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์เพื่อขับเคลื่อนมาตรการจัดระเบียบที่พักอาศัยแรงงานในพื้นที่ชุมชน

เชียงใหม่ประชุม ติดตามการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์เพื่อขับเคลื่อนมาตรการจัดระเบียบที่พักอาศัยแรงงานในพื้นที่ชุมชน

วันที่ 17 มีนาคม 2560 นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  ประชุมชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จังหวัด ครั้งที่ 2 ที่ห้องประชุม ที่ทำการปกครองจังหวัดชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ตามข้อสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว  เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559 ให้กระทรวงแรงงานเร่งรัดดำเนินการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว โดยกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบดูแลจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข และจัดเขตพื้นที่เฉพาะ(Zoning)ให้เป็นที่อยู่อาศัยแรงงานต่างด้าว  ในพื้นที่ 13 จังหวัดทั่วประเทศ  โดยมีจังหวัด สมุทรสาคร และระนอง เป็นจังหวัดนำร่องซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในพื้นที่ขยายผลการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว  และจากคำสั่ง คสช. ที่ 101/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ให้มีการแต่งตั้งชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จังหวัด

นายประจวบ กล่าวว่า  คาดว่าจังหวัดเชียงใหม่มีตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่มีพาสปอร์ต และบัตรสีชมพู ประมาณ 1 แสนคนเศษ  ขณะที่ตัวเลขแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และไม่มีหลักฐานน่าจะมีอีกเป็นจำนวนมาก  จากการประชุมครั้งแรก จังหวัดเชียงใหม่ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายนำร่องจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ในพื้นที่ชุมชนป่าเป้า ชุมชนกู่เต้า ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เนื่องจากมีแรงงานอาศัยอยู่หนาแน่น และจากการลงพื้นที่ชุมชนและสถานประกอบการหลายแห่งพบว่า แม้ผู้ประกอบการจะได้จัดที่พักให้ แต่ในด้านสาธารณสุข ความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงด้านการศึกษายังต้องเข้าไปดูแลจัดระเบียบให้เหมาะสมและปลอดภัยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาในการดำเนินการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวของจังหวัดเชียงใหม่  คือ ไม่ทราบตัวเลขจำนวน และแหล่งที่อยู่แรงงานกลุ่มที่หลบหนีเข้ามาทำงานในพื้นที่อย่างชัดเจน  จึงขอให้สำนักงานปกครองจังหวัด แจ้งนายอำเภอทุกแห่ง ให้มีการสำรวจแรงงานในพื้นที่ ที่อาศัยในหมู่บ้าน / ชุมชน และข้อมูลการพักอาศัย  เพื่อจะได้วางแผนจัดระเบียบควบคุม ดูแลได้ทุกๆ ด้าน  รวมถึงสถานประกอบการที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานสูง โดย ใช้แรงงานต่างด้าวตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ถือเป็นเป้าหมายในการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว  โดยจะได้จัดชุดติดตามและตรวจสอบ ให้สอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชน และจัดที่พักอาศัยสำหรับแรงงานต่างชาติต่อไป.

You may also like

CEA – MUJI จับมือดันงานหัตถกรรมท้องถิ่นเชียงใหม่ ผลักดันผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดแบรนด์ระดับโลก

จำนวนผู้