นศ.มช.เตรียมยื่นเรื่องลดค่าเทอม 30% เข้าที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย

นศ.มช.เตรียมยื่นเรื่องลดค่าเทอม 30% เข้าที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย

เชียงใหม่ / เครือข่ายนักศึกษา มช. ยืนยันขอลดค่าเทอม 30% ย้ำผู้บริหารควรฟังเสียงนักศึกษาในฐานะเจ้าของสถาบัน ชี้จากเอกสาร สตง.ปี 62 มช.มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายถึง 2,375 ล้านบาท พอที่จะนำมาช่วยเหลือนักศึกษา บรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบโควิด-19 ได้ พร้อมเดินหน้ายื่นหนังสือต่อประธานสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้นำเรื่องเข้าพิจารณาในที่ประชุมวันพรุ่งนี้ (25)เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 24 เม.ย.63 ที่หน้าอาคาร 3 ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มนักศึกษาบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, สมัชชาเสรีประชาธิปไตยแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ชมรมประชาธิปไตย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศิษย์เก่าและนักศึกษา จำนวน 1,364 คน ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ เรื่อง การเรียกร้องลดค่าธรรมเนียมการศึกษาถ้วนหน้า 30%

แถลงการณ์ดังกล่าว อ้างถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2019 หรือโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง และมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลล่าช้า ไม่เพียงพอต่อการบรรเทาความเดือดร้อน ประกอบกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่รายจ่ายลดลง ทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา กลายเป็นภาระหนักของครอบครัวชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของ มช. เครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงขอเสนอให้ มช.ดำเนินการลดค่าธรรมเนียมการศึกษาลง 30% จากค่าธรรมเนียมการศึกษาเดิม ตั้งแต่ภาคการศึกษาฤดูร้อน (2562) เป็นต้นไป โดยให้เป็นนโยบายกลางที่กำหนดจากมหาวิทยาลัยนอกจากนี้ ยังได้คัดค้านมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (กบม.) เมื่อ 21 เม.ย.63 ที่ยืนยันในมาตรการเดิมของมหาวิทยาลัยในการลดค่าธรรมเนียมการศึกษาลง 10% โดยจะจัดสรรทุนให้เปล่าเฉพาะนักศึกษาที่มีปัญหา และจัดตั้งกองทุนให้ยืมเงิน 250 ล้านบาท โดยทางเครือข่ายนักศึกษา ให้ข้อคิดเห็น 3 ประการ คือ 1) การลดค่าธรรมเนียมการศึกษา 10% เป็นการยึดตามมติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่กำหนดให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษาลง 10% เป็นอย่างน้อย ขึ้นกับสภาพและเงื่อนไขของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งในส่วนของ มช.มาจากครอบครัวที่ยากจน ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางไปถึงยากจน ในภาวะทางงเศรษฐกิจที่หยุดชะงักเช่นนี้ การลดค่าธรรมเนียมการศึกษาลง 10% จึงถือเป็นตัวเลขขั้นต่ำสุดที่ตกลงในมติ ทปอ. และไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับนักศึกษาอย่างแท้จริง

2) มหาวิทยาลัยเป็นสมบัติส่วนรวมของประชาชน และสังคม จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่นักศึกษาและประชาชน ดำรงอยู่ได้ด้วยค่าธรรมเนียมการศึกษา และภาษีของประชาชน ดังนั้นเสียงของนักศึกษาในฐานะผู้เป็นเจ้าของร่วมในมหาวิทยาลัยจึงควรถูกรับฟังอย่างใส่ใจและให้ความสำคัญ ถ้าผู้บริหารเห็นว่าข้อเรียกร้องของนักศึกษาเป็นไปไม่ได้หรือไม่สมควร ก็ต้องชี้แจงให้นักศึกษารับรู้ว่าเหตุใดจึงไม่อาจตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของนักศึกษาได้อย่างมีเหตุมีผล จึงขอเรียกร้องอธิการบดี จัดให้มีการประชุมหารืออย่างกว้างขวาง เปิดโอกาสให้นักศึกษา ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง ได้แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนจากค่าธรรมเนียมการศึกษา และปัญหาเศรษฐกิจอื่นๆ3) การที่ผู้บริหารอ้างว่าถ้าลดค่าธรรมเนียมการศึกษา 30% จะกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน ไม่ได้วางอยู่บนฐานความเป็นจริงของทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ เพราะจากเอกสารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ปี 2562 มช.มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิถึง 2,375 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินมากพอที่จะนำมาช่วยเหลือนักศึกษาได้ เพราะเป็นรายได้นอกงบประมาณแผ่นดิน ที่ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการลดค่าธรรมเนียมการศึกษาได้

น.ส.รสริน คุณชม นักศึกษาบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา กล่าวว่า ทางเครือข่ายนักศึกษา หวังว่าแถลงการณ์ฉบับนี้ จะส่งเสียงไปยังคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นการส่งสาส์นไปยังเพื่อนนักศึกษาร่วมมหาวิทยาลัยทั้งหมด ให้ตระหนักถึงสิทธิในการศึกษาที่เป็นธรรม และสิทธิในการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันเรียกร้องให้ผู้บริหารทำหน้าที่อย่างเป็นธรรม และรับผิดชอบต่อนักศึกษา เกื้อหนุนให้สามารถศึกษาเล่าเรียนได้อย่างมีศักยภาพและสำเร็จในท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้และในเวลา 09.00 น.ของวันพรุ่งนี้ (25) จะมีการประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางเครือข่ายฯ จะนำจดหมาย รวมถึงข้อมูลไปยื่นต่อประธานสภามหาวิทยาลัย ที่ห้องประชุมตะวัน กังวานพงศ์ เพื่อให้รับทราบถึงปัญหา และนำเข้าสู่ที่ประชุมสภา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนักศึกษา และผู้ปกครอง ในท่ามกลางสภาวะวิกฤติครั้งนี้ด้วย

ด้านนายสวัสดิ์  บัวดอกตูม ผู้ปกครองนักศึกษา มช. เปิดเผยว่า ตนมีลูก 2 คน เรียนอยู่ที่นี่ ในระดับ ป.ตรี และ ป.โท และผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ก็ทำให้ผู้ปกครองเดือดร้อนอย่างมาก ยิ่งมีอาชีพค้าขาย แทบไม่มีรายได้เข้ามาในช่วงนี้  ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษายังสูงมาก แม้ว่า มช.จะประกาศลดค่าธรรมเนียมการศึกษาลง 10% ก็ยังไม่เพียงพอที่จะบรรเทาความเดือดร้อนในสภาพความเป็นจริง ยิ่งจะมีการเปิดเทอมใหม่ และกระบวนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แต่ค่าใช้จ่ายแทบไม่ลด ซ้ำบริการหลายด้านที่คิดค่าธรรมเนียมรวมไปแล้วก็ปิด เช่น หอสมุด ซึ่งเห็นส่วนราชการหลายที่มีบริหารส่งถึงบ้าน เช่น ยาจากโรงพยาบาล  มช. ก็ควรคำนึงถึงบริการ และการอำนวยความสะดวกเหล่านี้ด้วย ในส่วนนักศึกษาปริญญาโท ก็มีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากค่าเทอมแล้ว ยังต้องลงพื้นที่ เก็บข้อมูล ทำวิจัย การขอลด 30% จึงสมเหตุสมผล“แม้ว่าตอนนี้จะปิดเทอม แต่นักศึกษาในวัยหนุ่มสาวเหล่านี้ ยังไม่ได้ทำงาน อยู่บ้านก็ต้องมีค่าใช้จ่าย เป็นภาระที่ผู้ปกครองต้องแบกรับอยู่ดี ยิ่งเปิดเทอม ภาระค่าอยู่ ค่ากิน ก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ผู้บริหารของ มช.จึงควรคิดทบทวนดูว่าจะช่วยกันได้อย่างไร การจะผลิตคนให้มีคุณภาพในสังคม การลงทุนเพื่อสร้างคนของสถาบันการศึกษาเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ควรมองเฉพาะด้านความอยู่รอด  ในเมื่อที่ผ่านมา มช. ก็มีทุน และรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย” ผู้ปกครองคนเดิม กล่าว.

You may also like

ชมรมผู้บริหารงานแม่บ้านโรงแรมจัดงาน“ Chiang Mai Housekeeping Fair 2024

จำนวนผู้