อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ อุทยานวิทย์ มช. ติดอาวุธผู้ประกอบการในโครงการ Begin to Tech Startup เตรียมพร้อมก้าวสู่โลกธุรกิจด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม

อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ อุทยานวิทย์ มช. ติดอาวุธผู้ประกอบการในโครงการ Begin to Tech Startup เตรียมพร้อมก้าวสู่โลกธุรกิจด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม

อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ อุทยานวิทย์ มช. ติดอาวุธผู้ประกอบการในโครงการ Begin to Tech Startup เตรียมพร้อมก้าวสู่โลกธุรกิจด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม
วันที่ 12 กันยายน 2566 อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ผสานกำลัง อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) จัดกิจกรรม Chiangmai Startup Driven Economy ในรอบ Pitch Demo ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ Begin to Tech Startup ภายใต้กิจกรรมเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการ จากกระบวนการ Spin-out และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่มีศักยภาพสูง (SMEs Spin-out to Tech Startup) โดยมีผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดเชียงใหม่ กว่า 30 สถานประกอบการ เข้ารับการบ่มเพาะธุรกิจอย่างเข้มข้น ตลอดระยะเวลากว่า 6 เดือน และทำการคัดเลือกให้เหลือเพียง 10 สถานประกอบการ เพื่อทำการนำเสนอ แผนธุรกิจรูปแบบ Private Pitching ในวันที่ 11 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา และนำเสนอแผนธุรกิจรูปแบบ Public Pitching ในวันที่ 12 กันยายน 2566 โดยได้รับเกียรติจาก นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัลแก่ผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 3 สถานประกอบการ พร้อมมอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ณ NSP Rice Grain Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)


ทั้งนี้ กิจกรรมการคัดเลือกผู้ประกอบการทั้ง 2 วัน ได้มีตัวแทนนักลงทุนระดับแนวหน้าของประเทศ ได้แก่ Krungsri Finnovate, Beacon Venture Capital, 500 TukTuks, KT Venture Capital และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมเป็นคณะกรรมการในการเฟ้นหาผู้ชนะที่มีความพร้อมด้านการนำเสนอ
แผนธุรกิจSpin-out เพื่อชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 150,000 บาท พร้อมรับโล่ประกาศเกียรติคุณ โดยผลการแข่งขันผู้ประกอบการที่สามารถคว้าชัยการนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ในรอบชิงชนะเลิศ ได้แก่ ผู้ประกอบการจากบริษัท เชียงใหม่ ที.ดี. จำกัด พร้อมเงินรางวัล จำนวน 70,000 บาท ตามมาด้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 บริษัท เวลเนส มี จำกัด พร้อมเงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ แอนด์ เอ แคนเดิล แอนด์ โซป ซัพพลายส์ และเงินรางวัล จำนวน 20,000 บาท
ด้านคุณพัชรี ใบยา สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การดำเนินโครงการฯ เป็นไปตามนโยบาย MIND จากกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่วิถีใหม่ ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมดี อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน” เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากผ่านนโยบาย 4 มิติ อันได้แก่ มิติที่ 1 ด้วยการปรับธุรกิจและอุตสาหกรรมสู่ S-Curve มิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม มิติที่ 3 การรักษาสิ่งแวดล้อมสู่ความเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตอบโจทย์ประชาคมโลก และมิติที่ 4 การกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดและของภูมิภาค โดยการสร้างกลไก ในการผลักดัน Startup รูปแบบใหม่ เน้นพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการ เสริมสร้างความเข้มแข็งในช่วงเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ด้วยการพัฒนาแนวคิดธุรกิจต่อยอด ให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจใหม่ (SMEs Spin out) เพื่อเป็นการเร่งพัฒนาหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและผลักดันให้เกิดการจัดตั้งบริษัทใหม่ (Spin-out)
ผศ.ดร.จุฬาลักษณ์ เขมาชีวะกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานฯ กล่าวว่าเสริมอุทยานฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างระบบบ่มเพาะองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ สู่การเพิ่มโอกาสและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวสู่ธุรกิจใหม่ พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจเขตภาคเหนือ ผลักดันและพัฒนาให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางแห่งการเติบโตต่อโลกธุรกิจเทคโนโลยีสตาร์ทอัพ (Tech Startups) สู่อุตสาหกรรมระดับประเทศ

You may also like

ดีป้า ปิดท้ายกิจกรรม Coding Inspire กระตุ้นเยาวชนเข้าถึงโค้ดดิ้งเท่าเทียมและทั่วถึง
ภายใต้ โครงการ Coding for Better Life ‘สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

จำนวนผู้