อว. ผลักดัน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

อว. ผลักดัน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

- in headline, การศึกษา-เกษตรกร

อว. ผลักดัน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T x RSP @ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผนึกกำลังอุทยานวิทยาศาสตร์ ตอกย้ำความสำเร็จการทำงานบูรณาการมุ่งเน้นพัฒนาคน ดึงเทคโนโลยีเข้าช่วยสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.65 ที่ห้องประชุมตะวัน กังวาลวงศ์ อาคารยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดร. ดนุช  ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เป็นประธานในงานแถลงข่าว “โครงการ U2T x RSP @ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กิจกรรมที่ 2 U2T สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสื่อมวลชน” โดยมี ศาสตราจารย์  ดร.นพ.พงษ์รักษ์  ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับคณะ

สำหรับ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) หรือ โครงการ U2T โดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยโครงการ U2T ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในครั้งนี้ เพื่อตอกย้ำความสำเร็จและนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานโครงการ U2T ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเสริมศักยภาพในการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ อีกทั้งมุ่งมั่นเสริมความรู้ให้กับประชาชนในเรื่อง BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว อันเป็นโมเดลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและปรับตัวในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับ BCG ได้  โดยผสานความร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ U2T ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ถือเป็นการโชว์สินค้า แชร์เทคโนโลยี และนำไปต่อยอดต่อไปได้

ดร. ดนุช  ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวถึงการดำเนินโครงการ U2T ในตลอดปี 2565 ว่า “ โครงการ U2T ได้มีการพัฒนาคนในชุมชนครอบคลุมทั้งสิ้น 7,435 ตำบล โดยตลอดการดำเนินงานได้มีผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่ายมากมายและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน พร้อมเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยเป็นผลสำเร็จจากการปรับบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน นำศักยภาพที่มีทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการแก้ไขปัญหาและความต้องการของชุมชนที่แตกต่างกัน โดยมุ่งสร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการให้สามารถนำความรู้และเทคโนโลยีไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญต้องมีความรู้เรื่อง BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว อันเป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับปรุง แปรรูปและต่อยอดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เกิดความน่าสนใจได้ ซึ่งโครงการ U2T ได้เสริมองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชน พร้อมสนับสนุนในทุกมิติเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ อันโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์จากของในท้องถิ่นได้รับการการันตีในคุณภาพ เสริมสร้างความมั่นใจในอีกระดับ รวมถึงการเสริมทักษะในด้านการตลาดและบริหารจัดการ โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ จากความร่วมมือของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตั้งอยู่ใน 44 มหาวิทยาลัย ครอบคลุมทุกภาคทั่วไทย เป็นการเพิ่มศักยภาพของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมิติของการทำงานร่วมกับโครงการ U2T อีกด้วย”

ดร. ดนุช  ตันเทอดทิตย์ กล่าวเสริมอีกว่า “ในการส่งเสริมศักยภาพของประชาชนจากโครงการ U2T มุ่งหวังให้เกิดการต่อยอด เพื่อสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ และสามารถผลักดันให้มีการจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง พร้อมหวังให้ส่งออกนอกประเทศได้อีกด้วย เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการ”

ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ว่า “การดำเนินโครงการ U2T เป็นความสำเร็จจากการทำงานแบบบูรณาการ ของหน่วยงานต่างๆ ใน อว. ที่พร้อมพัฒนาคนในชุมชนให้เกิดความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน พิสูจน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมในความสำเร็จจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นของขึ้นชื่อในท้องถิ่นแต่ได้มีการต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนช่วยเสริมทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และสร้างความแตกต่าง เมื่อได้รับความร่วมมือจากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าช่วยในการพัฒนาให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น นับเป็นผลดีกับคนในชุมชนที่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่”

โดยได้มีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์เด่นจากจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ U2T ที่นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากทางมหาวิทยาลัยไปปรับใช้ ให้สื่อมวลชนได้ร่วมเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ออกไปในวงกว้าง สร้างการต่อยอด เกิดการเพิ่มจำนวนการผลิต และเกิดการจ้างงานนำไปสู่การสร้างรายได้ให้ชุมชนมากขึ้น

โครงการ U2T มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากลและเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ตามพันธกิจของ อว. โดยแผนงานในปี 2566 โครงการ U2T ยังคงเดินหน้าในการพัฒนาชุมชน เพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่เพียงมุ่งมั่นในการสร้างช่องทางในการประกอบอาชีพให้ผู้ประกอบการ ยังมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาครบทุกมิติทั้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การพัฒนาคนด้วยการเสริมความรู้ในด้านความคิดสร้างสรรค์, ความรู้เรื่อง BCG โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน, การตลาด, การบริหารจัดการ และเทคโนโลยี พร้อมสร้างเครือข่ายที่แข็งแรงไปยังชุมชน มหาวิทยาลัยทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย เพื่อผลักดันโครงการ U2T สู่ความยั่งยืน

“การดำเนินโครงการ U2T ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ใน อว. ซึ่งตอกย้ำถึงคุณภาพการทำงานแบบบูรณาการในทุกภาคส่วน โดยหลังจากนี้มุ่งหวังต่อยอดให้หน่วยงานภายใต้สังกัด อว. ทั้ง คลินิกเทคโนโลยี, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และ โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เข้ามาทำงานแบบบูรณาการเพื่อเติมความรู้ เสริมเรื่องเทคโนโลยี และสร้างความเข้าใจในด้านการตลาดและการจัดการ เพื่อสร้างชีวิตใหม่ สร้างผู้ประกอบการมืออาชีพในแต่ละตำบล และเกิดการสานต่อผลิตภัณฑ์ให้เกิดความยั่งยืนในการทำงาน” ดร. ดนุช  ตันเทอดทิตย์ กล่าวปิดท้าย

You may also like

ททท. จัดใหญ่เอาใจคนรักเนื้อและชาวแคมป์มาแอ่วเหนือรับลมหนาวกับงาน “Amazing Chiang Mai Meat and Camp 2024” ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคมนี้ ที่สวนอบจ.เชียงให

จำนวนผู้