อบจ.เชียงใหม่เปิดโครงการนำเสนอผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ถึงบ้าน

อบจ.เชียงใหม่เปิดโครงการนำเสนอผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ถึงบ้าน

รองนายกอบจ.เชียงใหม่เปิดโครงการนำเสนอผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ถึงบ้าน  ซึ่งอบจ.เชียงใหม่ เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นใช้เป็นแหล่งเรียนรู้อันเป็นการเกื้อหนุน ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตระหนักรู้และใฝ่หาความรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยเทคโนโลยี ส่งเสริมการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในระบบการศึกษา

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 2  โ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม เป็นประธานเปิดงานโครงการนำเสนอผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ออนไลน์แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ถึงบ้าน โดยมี นางสิริวรรณ บูรณสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงาน

ผอ.สำนักการศึกษาฯ อบจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของการศึกษาไทยนั้น ขับเคลื่อนโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบ โดยปรับเปลี่ยนให้ทันสถานการณ์และบริบทแวดล้อมเท่าที่สภาพแวดล้อมจะเอื้ออำนวย การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างครอบคลุม ประกอบไปด้วยการพัฒนาศักยภาพคนตลอดชีวิต ปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉมในทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนท้องถิ่นมีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โ ดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มด้วยวิธีการสื่ออิเล็กทรอนิกส์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงมีความสำคัญและจำเป็นนโยบายหลักขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ให้ความสำคัญกับการจัดบริการสาธารณะ ด้านการจัดการศึกษาตามนโยบายที่ว่า “ ลูกคุณเราดูแล ลูกเราต้องเท่ากัน “ และ“ การศึกษาระดับโลกใกล้บ้าน “

โดยโครงการนี้ได้สอดรับกับเป้าประสงค์ตอบโจทย์นโยบายหลักและกลุ่มเป้าหมายทั้ง 5 กลุ่มของทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่อันได้แก่กลุ่มปฐมวัย กลุ่มเยาวชน กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มผู้สูงอายุโดยในโครงการแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ถึงบ้านนั้น ได้ดำเนินการจัดคลาสเรียนออนไลน์จำนวนทั้งสิ้น 35 คลาส ผู้เข้าร่วมเรียนออนไลน์ตลอดเสร็จสิ้นโครงการมีทั้งสิ้น 1,876 คน

นอกจากนี้ได้มีการดำเนินการจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปออนไซต์จำนวน 5 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวน 116 คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการทั้งสิ้น 2,478 คน นอกจากนี้ทางโครงการมีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อโซเชียลมีเดีย มีการเข้าถึงโพสต์และค่าการมองเห็นเป็นจำนวนถึง 17,852 การรับรู้ถือได้ว่าเป็น ความสำเร็จเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยระบบการเรียนรู้ออนไลน์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ที่สามารถใช้งานง่าย กับทุกอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงง่าย สะดวก โดยเป้าหมายการดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 โครงการแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ถึงบ้านจะมีหลักสูตรการเรียนรู้ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 5กลุ่ม และขยายผลต่อยอดเพิ่มขึ้นทั้งผู้เข้าเรียนและร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้านนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่  โดยนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ให้ความสำคัญกับการจัดบริการสาธารณะ ด้านการจัดการศึกษา ตามนโยบายที่ว่า “ ลูกคุณเราดูแล ลูกเราต้องเท่ากัน ” “ การศึกษาระดับโลกใกล้บ้าน ” โดยจัดการแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ถึงบ้านให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยจัดให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นใช้เป็นแหล่งเรียนรู้อันเป็นการเกื้อหนุน ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตระหนักรู้และใฝ่หาความรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยเทคโนโลยี ส่งเสริมการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในระบบการศึกษาให้กับประชาชนในทุกช่วงวัยของจังหวัดเชียงใหม่

สำหรับโครงการแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ถึงบ้านที่ดำเนินการในปีงบประมาณ  พ.ศ.2566 ถือได้ว่าประสบความสำเร็จ เป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่ได้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า  2,478 คน ทั้งกิจกรรมออนไลน์และออนไซต์ โดยได้รับเสียงตอบรับที่ดีทั้งสถานศึกษา หน่วยงาน ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้สูงอายุ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ที่ได้เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ในอนาคตที่จะนำมาปรับใช้ในองค์กร และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในโลกอนาคตต่อไป.

You may also like

CEA – MUJI จับมือดันงานหัตถกรรมท้องถิ่นเชียงใหม่ ผลักดันผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดแบรนด์ระดับโลก

จำนวนผู้