หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่จับมือบางจากสร้างความร่วมมือนการจัดการน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว เพื่อลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำ

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่จับมือบางจากสร้างความร่วมมือนการจัดการน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว เพื่อลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำ

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จับมือ บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด และบริษัท ธนโชคน้ำมันพืช (2012) จำกัด ลงนามความร่วมมือในการจัดการน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว เพื่อลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ เพื่อร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมและสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 ที่สำนักงานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ นายจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานกรรมการ ร่วมกับ บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด และบริษัท ธนโชคน้ำมันพืช (2012) จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในกระบวนการจัดการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว นำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค

.           นายจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่มีสมาชิกกว่า 1,900 รายที่เป็นผู้ประกอบการร้านค้าทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งจริงๆ แล้วทางหอการค้าได้เริ่มดำเนินการรณรงค์ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำมาก่อนที่จะลงนามร่วมกับทางบางจากในครั้งนี้ และเป็นโครงการที่ทาง YEC ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่เป็นตัวขับเคลื่อนโดยใช้เครือข่ายของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และมีการพูดคุคยกับร้านค้าทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ไว้แล้ว

“ในอดีตทางหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ก็มีการรณรงค์เรื่องอาหารปลอดภัย โดยมอบป้ายเพื่อแสดงสัญลักษณ์ร้านค้าที่สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยและประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้รู้ ภายใต้ป้ายของดี และทางหอการค้าฯยังช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของหอการค้าฯด้วย สำหรับโครงการนี้ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และดูแลสุขอนามัย สุขภาพของผู้บริโภค โดยการลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำมาปรุงอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อไป”ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่กล่าวและว่า

สำหรับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ทางบางจากจะรับซื้อในราคาที่ผู้ประกอบการพอใจอย่างแน่นอน เพื่อลดปัญหาการใช้น้ำมันทอดซ้ำเกิน 2 ครั้ง

ทางด้านนายธรรมรัตน์ ประยูรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด กล่าวว่า บริษัท BSGF เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมสีเขียวเพื่อความยั่งยืนที่กลุ่ม บริษัทบางจากฯ ให้ความสำคัญใน การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ในฐานะผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF-Sustainable Aviation Fuel) จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil-UCO) เป็นรายแรกในประเทศไทย และ SAF ถือเป็นบทใหม่ให้กับวงการพลังงานทดแทนที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดด้วยนวัตกรรมพลังงานสีเขียว น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว ที่อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ทันที โดยไม่ส่งผลต่อเครื่องยนต์ บริษัท บีเอสจีเอฟฯ และกลุ่มบริษัทธนโชคฯ มีความมุ่งมั่นในการร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมและสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีให้คนไทยด้วยการรับซื้อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (UCO) มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF)

น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF-Sustainable Aviation Fuel) “ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจากฟอสซิล” ปริมาณ 1 ล้านลิตร/วัน จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 80,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อน ผลิตภัณฑ์ SAF จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วส่งผลดีทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับ BCG Economy Model อย่างครบวงจร ตั้งแต่เศรษฐกิจชีวภาพ ( Bio-economy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ไห้มากที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนา เศรษฐกิจ แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ให้เกิด ความมั่นคงและยั่งยืน ไปพร้อมกัน

สำหรับโครงการ ทอดไม่ทิ้ง มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำมัน 1,000 ล้านลิตรต่อปี มีน้ำมันเหลือจากการทอด 250-300 ล้านลิตรต่อปี และน้ำมันที่เหลือนี้เป็นที่มาของ “น้ำมันทอดซ้ำ” ซึ่งเป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (UCO) คือขยะที่แปลงเป็นเงิน ช่วยสร้างรายได้เสริมในครัวเรือนจากการนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วมาขาย ช่วยให้การจัดการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (UCO) ซึ่งถือเป็นของเสียจากการประกอบอาหาร ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีด้วยการนำ UCO ไป Recycle เป็นน้ำมัน SAF ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แทนการนำไปทิ้งในพื้นที่สาธารณะไม่ว่าจะเป็นกองขยะ พื้นดิน ท่อน้ำ หรือ แหล่งน้ำ ล้วนก่อให้เกินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการกำจัดที่ผิดวิธี สร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีให้คนไทยด้วยการรับซื้อจากครัวเรือนผ่านสถานีบริการน้ำมันบาง จาก 162 สาขาทั่วประเทศ รับซื้อจากหน่วยงานผ่าน บริษัท บีเอสจีเอฟฯ บริษัท ธนโชคฯ และพันธมิตร เช่น หอการค้าจังหวัด

ซึ่งโครงการฯ นี้สามารถลดปริมาณ UCO ที่ถูกทิ้งลงพื้นที่สาธารณะและช่วยดึง UCO ออกจากวงจรการฟอกสีน้ำมันแล้วนำมาขายให้ผู้บริโภคนำไปประกอบอาหารใหม่อีกครั้ง ช่วยลดความเสี่ยงของคนไทยในการบริโภคน้ำมันทอดซ้ำและช่วยให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้นจากกระบวนการจัดการในการกำจัดที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ครัวเรือนได้อีกด้วย

ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของโครงการ ไม่ทอดซ้ำ “น้ำมันทอดซ้ำ” ซึ่งเป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมีเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์อันเป็นภัยแอบแฝงที่ผู้บริโภคอาจไม่ทันระวังซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้เพื่อป้องกันไว้ สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการอาหารปลอดภัยและช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจในอาหารที่รับประทานมากขึ้น พร้อมรณรงค์ให้ผู้ประกอบการร้านอาหารไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ สร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้บริโภคด้วยอาหารที่ปรุงจากน้ำมันที่ปลอดภัยจากร้านอาหารที่เชื่อถือได้ด้วยใบประกาศนียบัตรโครงการไม่ทอดซ้ำที่ออกให้ร้านอาหารที่ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำและนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วมาขายให้บริษัท บีเอสจี เอฟ จำกัด และบริษัทในกลุ่มบริษัทบางจาก เพื่อนำไปผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF)

ทางด้านผู้แทนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเป้าหมายของกรมอนามัยต่อโครงการไม่ทอดซ้ำ ว่า การออกใบรับรองให้แก่ร้านอาหารที่ไม่ใช้น้ำมันปรงอาหารทอดซ้ำ หน่วยงานราชการมีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการร่วมกันรณรงค์และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความตระหนักในเรื่องการไม่ทอดซ้ำ และได้ร่วมกันดูแลความปลอดภัยในการบริโภคให้กับประชาชนผ่านโครงการฯ ผู้บริโภคมีสุขภาพดีจากการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ได้มาตรฐานผ่านสัญลักษณ์การรับรองจากหน่วยราชการและหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ อีกทั้ง ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคอาหารที่ผ่านการรับรองที่น่าเชื่อถือ

นอกจากนี้ยังเป็นการ สร้างมาตรฐานการใช้น้ำมันปรุงอาหาร  ส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องน้ำมันทอดซ้ำ ให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ทราบว่าน้ำมันทอดซ้ำมีสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อ (NCDs) การไม่รับประทานอาหารที่ปรุงจากน้ำมันทอดซ้ำจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และสร้างมาตรฐานการใช้น้ำมันปรุงอาหารให้ผู้ประกอบการปฏิบัติเพื่อประกอบอาหารที่ปลอดภัย รวมถึงสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคด้วยสัญลักษณ์การรับรองในโครงการไม่ทอดซ้ำ อันเป็นการสร้างทางเลือกในการบริโภคอาหารปลอดภัยให้แก่ประชาชน

อย่างไรก็ตาม นายจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่  กล่าวเสริมอีกว่า ในด้านการสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกและผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านอาหาร เบเกอรี่ และโรงแรม ให้มีการจัดการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอากาศยาน เพื่อเป็นการส่งเสริมที่จะให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี พ.ศ.2593 และสนับสนุนการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้จำหน่ายและผู้บริโภคถึงอันตรายของการใช้น้ำมันปรุงอาหารทอดซ้ำเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค ซึ่งตรงตาม พันธกิจของหอการค้าหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การสนับสนุนความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกและส่วนรวม ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อม อีกด้วย.

#หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ #CCC24 #YECหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ #YECCM #BSGF

You may also like

ดีป้า ปิดท้ายกิจกรรม Coding Inspire กระตุ้นเยาวชนเข้าถึงโค้ดดิ้งเท่าเทียมและทั่วถึง
ภายใต้ โครงการ Coding for Better Life ‘สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

จำนวนผู้