สนทช.แจงสถานการณ์น้ำระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ชี้ 4 ประเทศลุ่มน้ำโขงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้น

สนทช.แจงสถานการณ์น้ำระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ชี้ 4 ประเทศลุ่มน้ำโขงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้น

ผอ.กองการต่างประเทศ สนทช.ร่วมกับผอ.สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาคที่ 1 ร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์แม่น้ำโขง ยอมรับสถานการณ์น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลง แจง 4 ประเทศลุ่มน้ำมีความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้น

นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาคที่ 1 ร่วมกับนายชุมลาภ เตชะเสน ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)ได้ร่วมกันให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์แม่น้ำโขง โดยกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำระหว่างประเทศนั้น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติหรือสนทช.จะมีกองการต่างประเทศเป็นผู้ดูแล เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยกองการต่างประเทศของสนทช.มีหน้าที่ดูแลความร่วมมือเกี่ยวกับน้ำต่างประเทศ และหลักๆ จะมีไม่กี่แห่ง เช่น แม่น้ำโกลก แม่น้ำโขง

สำหรับแม่น้ำโขงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเพราะมีต้นกำเนิดจากประเทศจีนผ่านเมียนมา ลาว ไทย กัมพูชาและเวียดนามเป็นแม่น้ำอันดับใหญ่ลำดับต้นของโลกและมีความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ผ่านมามีความเปลี่ยนแปลงสองด้านคือทางกายภาพและความร่วมมือ ทางด้านกายภาพมีการพัฒนาเกิดขึ้นมาก ทั้งก่อสร้างเขื่อนในพื้นที่ต้นน้ำที่จีนและลาว มีการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำการเติบโตของคนอาศัยอยู่ริมน้ำ คุณภาพภาพน้ำเปลี่ยนเป็นสีครามจากตะกอนหายไป ส่วนหนึ่งจากเขื่อนกั้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพริมน้ำด้วย

นอกจากนี้ยังเกิดจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อีกส่วนคือเรื่องความร่วมมือในปี 1995 เกิดความร่วมมือของปท.ลุ่มน้ำโขง ซึ่งสี่ประเทศจะทำข้อตกลงความร่วมมือขึ้นมา โดยในช่วงแรกที่ลงนามและเริ่มดำเนินการทางยุทธศาสตร์ก็ปรับไปทางการพัฒนาทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

หลังจากนั้นคนในลุ่มน้ำโขงได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบ โดยหันไปวางแผนเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ จึงเป็นการพัฒนาที่สี่ประเทศลุ่มน้ำโขงได้ดำเนินการ แต่ยอมรับว่ายังไม่ครบทุกลุ่มน้ำเนื่องจากมีจีนและเมียนมาเกี่ยวข้อง จึงต้องมีการคุยให้ครบทั้งลุ่มน้ำ MRC จึงได้จัดเวทีแม่โขง-ล้านช้างขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเรื่องแนวทางการแชร์ข้อมูล การบริหารจัดการหากมีผลกระทบเกิดขึ้นจึงเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นหลักทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพของแม่น้ำโขง โดยเฉพาะการสร้างเขื่อนในจีนเป็นต้นเหตุหรือไม่นั้น ผอ.ชุมลาภ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพน้ำโขงที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถหาข้อเท็จจริงว่าสิ่งใดทำให้เกิดผลกระทบขึ้นยังยาก เพราะมีหลายปัจจัย แม้จะมีการมอนิเตอร์การสร้างเขื่อน 2-3 แห่งยังหาข้อยุติไม่ได้ ส่วนการศึกษาเขื่อนในจีนซึ่งจีนและMRC ได้มีข้อตกลงร่วมกันแล้วที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงในลำน้ำโขงแล้ว โดยเฉพาะการมีแพลตฟอร์มร่วมกันและยกระดับการพยากรณ์น้ำให้ดีขึ้น

ขณะที่นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผอ.สำนักงานทรัพยากรน้ำภาคที่ 1 กล่าวว่า เรื่องแหล่งน้ำระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากเทียบอดีตเราแทบไม่รู้ข้อมูล แต่ปัจจุบันสามารถเปิดโต๊ะเจรจาและแลกข้อมูลกันได้ แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ แม้สนทช.มอนิเตอร์อยู่ แต่ก็ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ชัดเจน เพราะตัวเลขต่างๆ ยังไม่นิ่ง แต่สิ่งที่ดีคือทุกฝ่ายเริ่มมองเห็นปัญหาทั้งสี่ประเทศลุ่มน้ำโขงและแม่โขง-ล้านช้าง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อลุ่มน้ำอย่างแน่นอน.

 

You may also like

กฟผ.จับมือเซ็นทรัลฯเปิดพื้นที่กิจกรรมให้คนลำปางพร้อมอาหารนิทรรศการสร้างการเรียนรู้ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

จำนวนผู้