ร.ร.บ้านสามหลัง:นำร่องจัดการสารเคมี ส่งเสริมผลิต-บริโภคผักปลอดภัย

ร.ร.บ้านสามหลัง:นำร่องจัดการสารเคมี ส่งเสริมผลิต-บริโภคผักปลอดภัย

รงเรียนบ้านสามหลัง ต.สองแคว อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส ที่มีนักเรียน 182 คน ครู 19 คน แต่ในจำนวนนี้พบว่าเป็นเด็กอ้วนมากถึง 30 กว่าคน ขณะที่อีกปัญหาหนึ่งคือโรงเรียนต้องพึ่งพาวัตถุดิบในการทำอาหารกลางวันจากภายนอก ทำให้เกิดความวิตกกังวลในเรื่องของความปลอดภัยจากสารเคมี จึงได้เข้าร่วมโครงการการจัดการสารเคมีในพื้นที่เสี่ยง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัย ร่วมกับทางมูลนิธิการศึกษาไทยศุภลักษณ์ นิลฤทธิ์ จากมูลนิธิการศึกษาไทย เล่าถึงการดำเนินกิจกรรมว่า มีทั้งการจัดอบรม สำรวจ เก็บข้อมูลสารเคมี พื้นที่การเกษตรรอบโรงเรียน แล้วสรุปด้านการใช้สารเคมี รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะส่งเสริมปลูกพืชผักเพื่อผลิตอาหารกลางวันที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันภายในโรงเรียน ก็มีการตรวจหาสารเคมีตกค้างในอาหารกลางวัน สุ่มนำตัวอย่างพืชผัก ผลไม้ ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ ซึ่งผลปรากฏว่ามีพืชผักหลายชนิดไม่ปลอดภัย อาทิ แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ หัวไชเท้า ผักสลัด หอมหัวใหญ่ มะนาว ส่วนผลไม้ พบว่า แอปเปิ้ล องุ่น พุทธา อยู่ในระดับไม่ปลอดภัยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังตรวจเลือดให้ทั้งนักเรียน และครู โดยใช้กระดาษทดสอบ จำนวน 201 คน ผลคือนักเรียนและครู 6% มีสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงกิจกรรมในโครงการนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นแค่จัดการสารเคมีในพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้เกิดการบริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัยเท่านั้น หากยังส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ หรือกระบวนการจัดการภาวะโภชนาการในเด็กให้ได้เกณฑ์ตามมาตรฐาน ลดภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนด้วย ดังนั้นจึงเกิดการทำข้อตกลงร่วมกับเกษตรกร และผู้ค้าที่ส่งวัตถุดิบให้โรงเรียนในการผลิตผักต่างๆ แบบไม่ใช้สารเคมีให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน ไปพร้อมๆ กับจัดระบบการปลูกพืชผักหมุนเวียนให้เพียงพอต่อความต้องการของโครงการอาหารกลางวันรวมถึงการปรับเปลี่ยนรายการอาหาร แก้ปัญหาเด็กอ้วน ผอม โดยส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผักมากขึ้น ลดหวาน มัน เค็ม และเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน ในกิจกรรมการเรียนการสอนจึงได้จัดทำโครงงาน เช่น โครงงานแปรรูปเห็ดนางฟ้า โครงงานชารางจืด ชาผักเชียงดา ชาหนานเฉาเหว่ย เพราะมีเป้าหมายจะขยายผลสู่ชุมชนอย่างน้อย 10 ครัวเรือน ในปีการศึกษา 2561 นี้ชลอ ใจซื่อ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสามหลัง อธิบายถึงจุดประสงค์ของการเข้าร่วมโครงการว่า ต้องการสร้างพื้นที่ในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่แท้จริง การปลูกผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี และเพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์ต่างๆ ได้แก่ กบ ปลา ไก่ จึงไม่ใช่แค่ทำโชว์ แต่เด็กได้เรียนได้รู้ ได้ฝึกปฏิบัติ และนำไปสู่ที่บ้าน ขณะเดียวกันการได้ลงมือทำเอง ปลูกเอง เลี้ยงเอง ของเด็กๆ และผู้ปกครองที่เข้ามาช่วยกันคนละไม้คนละมือ ก็ทำให้รู้ถึงแหล่งที่มา เกิดความมั่นใจว่าเด็กๆ จะได้รับประทานอาหารกลางวันที่ปลอดภัยจากสารเคมี แตกต่างจากการไปหาซื้อตามท้องตลาด ที่ไม่รู้ว่าชนิดไหนปลอดภัยหรือไม่ ถือเป็นการปลูกฝังให้เด็กเรียนรู้ถึงพิษภัยจากสารเคมีปนเปื้อนที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาด และมีทางออกในการสร้างหรือเลือกอาหารที่ปลอดภัย“เราต้องการใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์ที่สุด นั่นคือไม่จำเป็นต้องเก็บเกี่ยวจนหมดรุ่นแล้ว จึงปลูกพืชใหม่ ระหว่างที่ปลูกพืชชนิดหนึ่งลงไป ก็อาจจะหว่านเมล็ดพันธุ์อย่างอื่นไปด้วย พืชใหม่ก็จะเติบโตขึ้นมาทดแทนกัน แล้วค่อยไปพักดินช่วงปิดเทอมใหญ่ สามารถใส่ปุ๋ยหมัก บำรุงดินได้เต็มที่” ผอ.โรงเรียน กล่าว       อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมในการกินของเด็กในวัยนี้ ไม่ค่อยชอบกินผัก ฉะนั้นต้องคิดเมนูแปลกๆ เพื่อล่อใจ เช่น เห็ดนางฟ้า นำมาต้ม ก็เป็นเพียงเมนูธรรมดา เด็กจะรู้สึกเฉยๆ แต่พอแปรรูปเป็นข้าวเกรียบเห็ด เด็กจะชอบมาก และเมื่อมีเห็ดปริมาณมากจนเหลือจากการบริโภค ก็ยังทำจำหน่ายได้อีกด้วย.

You may also like

CEA – MUJI จับมือดันงานหัตถกรรมท้องถิ่นเชียงใหม่ ผลักดันผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดแบรนด์ระดับโลก

จำนวนผู้