ลำปางดันพลังรัฐ+เอกชนสู่โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำคลื่นลูกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดลำปาง

ลำปางดันพลังรัฐ+เอกชนสู่โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำคลื่นลูกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดลำปาง

สำนักงานจังหวัดลำปางร่วมกับหอการค้าจังหวัดลำปาง ดันพลังภาครัฐและภาคเอกชน     สู่โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำคลื่นลูกใหม่ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดลำปาง                                  (Young Public and Private Collaboration : YPC

สำนักงานจังหวัดลำปาง ร่วมกับหอการค้าจังหวัดลำปาง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำคลื่นลูกใหม่ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดลำปาง (Young Public and Private Collaboration หรือ YPC) โดยได้รับเกียรติจาก นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดโครงการฯ พร้อมบรรยายพิเศษหัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด และความร่วมมือภาครัฐและเอกชน” โดยมี นายกิติพันธ์ นวลจันทร์ฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร YPC จากนั้นจึงเป็นการกล่าวถึงที่มาและความคาดหวังของหลักสูตร YPC โดย นายสกล สุพรรณบรรจง ประธานหอการค้าจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 และกล่าวมอบแนวทางความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยคนรุ่นใหม่ (YPC) นายไพรัช บูรพชัยศรี รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ซึ่งโครงการดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่าง       วันที่ 1 – 3 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม White Ballroom ชั้น 1 โรงแรมทรีธารา จังหวัดลำปาง

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดอบรมเชิงบรรยายและเชิงปฏิบัติการ นำโดย ผศ.ดร.ชนม์เจริญ แสวงรัตน์       ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่จากอุทยานวิทย์ มช. ร่วมเป็นวิทยากรเสริมสร้างองค์ความรู้แก่ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร เปิดเผยว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของจังหวัดลำปาง คือ การไม่หยุดยั้ง                      ที่จะพัฒนาจังหวัด โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อผลิตกำลังคนเป็นสำคัญ ในนามจังหวัดลำปาง หวังว่ากิจกรรมครั้งนี้จะช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัด ในการร่วมกันพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีประสิทธิภาพ ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด

ด้านนายสกล สุพรรณบรรจง กล่าวว่า ความคาดหวังของโครงการที่มุ่งส่งเสริมข้าราชการและเอกชนรุ่นใหม่ในจังหวัดลำปาง ให้มีพัฒนาการด้านทักษะ ทัศนคติ ในการเป็นผู้นำรุ่นใหม่ สามารถจัดทำข้อเสนอโครงการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อต่อยอดในการบรรจุแผนพัฒนาและขับเคลื่อนจังหวัดลำปางในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างกลมเกลียว

ขณะเดียวกันนายไพรัช บูรพชัยศรี เผยว่า หอการค้าไทยให้ความสำคัญพร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำคลื่นลูกใหม่ เพื่อการขับเคลื่อนและตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สานต่อการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจและสังคมได้อย่างแท้จริง

ผศ.ดร.ชนม์เจริญ แสวงรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความเข้าใจในการสื่อสารให้เป็นในทิศทางเดียวกันของการทำงานระหว่างหน่วยงาน จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำคลื่นลูกใหม่ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดลำปาง เพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน อันนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป

นายกิตติพันธ์ นวลจันทร์ฉาย กล่าวขอบคุณภายหลังจบงานว่า โครงการนี้ทางจังหวัดลำปางได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ที่นำไปสู่การเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดต่อไป

สำหรับโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำคลื่นลูกใหม่ฯ ได้นำผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 40 คน เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้นตลอด 3 วัน 2 คืน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในการพัฒนาตนเอง มีทักษะองค์ความรู้ในการจัดทำข้อเสนอโครงการให้มีประสิทธิภาพสู่ความตั้งใจในการเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาจังหวัด และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างความรู้เชิงลึก อาทิ อบรมเชิงปฏิบัติการและระดมสมองกระบวนการออกแบบความคิดสู่การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ “Design Thinking”, ถอดบทเรียนหัวข้อ “ทิศทางยุทธศาสตร์จังหวัด”, อบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ : How to Pitch Like a Pro” และการนำเสนอโครงการในรูปแบบ Pitching เพื่อสร้างโอกาสบรรจุในแผนการพัฒนาจังหวัด จำนวนทั้งหมด
10 โครงการ อันประกอบด้วย โครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 โครงการ ได้แก่
1) โครงการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ป่าชุมชน เพื่อลดปัญหาหมอกควันไฟป่า อย่างมีส่วนร่วม 2) โครงการชีวีสุขสันต์ชีวาสดใส 3) โครงการปลูกกาแฟสร้างอาชีพ ลดมลพิษ เพื่อสังคมและชุมชน 4) โครงการพัฒนา Platform Digital การจัดการขยะรีไซเคิลอย่างเป็นระบบในจังหวัดลำปาง 5) โครงการถังขยะอัจฉริยะ โครงการด้านการท่องเที่ยว จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการยกระดับศักยภาพสินค้าทางวัฒนธรรมด้วย Soft Power
2) โครงการสร้างต้นแบบโมเดลการท่องเที่ยวธรรมชาติบำบัด ดีต่อสุขภาพ สบายสุขภาพจิต เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน 3) โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการท่องเที่ยวในชุมชน จังหวัดลำปาง และโครงการด้านการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสวนครัวสูงวัย ลดรายจ่าย
เพิ่มรายได้ 2) โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสู่สังคมสูงวัย

ทั้งนี้ โครงการทั้งหมดมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดลำปาง ในการสร้างการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการสร้างฐานทรัพยกรธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์
สู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืนของประชาชน หากได้บรรจุและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดลำปางต่อไป จะทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ สร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 ต่อปี และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 2,000 ล้านบาท ในปี 2570.

 

You may also like

CEA – MUJI จับมือดันงานหัตถกรรมท้องถิ่นเชียงใหม่ ผลักดันผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดแบรนด์ระดับโลก

จำนวนผู้