ราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรม Business Matching กระตุ้นให้เกิดการค้าการลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่

ราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรม Business Matching กระตุ้นให้เกิดการค้าการลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จับมือ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจกับนักธุรกิจและนักลงทุน (Business Matching) ภายใต้โครงการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) การพัฒนานวัตกรรมเศรษฐกิจฐานรากระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.66 ที่โรงแรมเมอร์เคียวเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพงษ์  วัฒนกูล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมเจรจาธุรกิจกับนักธุรกิจและนักลงทุน (Business Matching) ภายใต้โครงการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) การพัฒนานวัตกรรมเศรษฐกิจฐานรากระหว่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน จัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจกับนักธุรกิจและนักลงทุน (Business Matching) ภายใต้โครงการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) การพัฒนานวัตกรรมเศรษฐกิจฐานรากระหว่างประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจาก หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดเชียงใหม่ ในการนำนักธุรกิจ นักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เข้าร่วมกิจกรรม

ผศ.ดร.ชุติมันต์  สะสอง ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการกล่าวถึงการจัดกิจกรรม Business Matching ในครั้งนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติด้านการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งการสร้างการเชื่อมโยงเครือข่ายกับระดับนานาชาติในการส่งออกผลิตภัณฑ์เพื่อการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน และยกระดับธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีเครือข่าย และสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศ เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการกับต่างประเทศ นำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ และเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชน

สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม Business Matching ในวันนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 12 กิจการ ประกอบด้วย แบรนด์ทองน้ำหนึ่ง, แบรนด์ทิพย์สมุนไพร, แบรนด์เศรษฐีเรือทอง, แบรนด์ลำลนา, แบรนด์แอนนมอลล์, แบรนด์พนาไพร, แบรนด์ชนกฝ้ายแพรไหม, แบรนด์สไบทอง, แบรนด์สุกัญญ์ผ้าผ้าย, แบรนด์กาแฟขุนช่างเคี่ยน, แบรนด์วิสาหกิจชุมชนหมื่นสารบ้านวัวลาย และแบรนด์ Amazing Tea ซึ่งในกิจกรรมวันนี้ ได้รับเกียรติจากตัวแทนนักธุรกิจและนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจากประเทศ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในด้านการจัดการธุรกิจเพื่อการส่งออกอีกด้วย

ซึ่งการจัดกิจกรรม Business Matching ในครั้งนี้ นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ผู้ประกอบการจังหวัดเชียงใหม่ได้ริเริ่มการค้าระหว่างประเทศ และยกระดับธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ระดับนานาชาติ ซึ่งคาดว่าจะมีการเจรจาการค้าด้วยกันเพิ่มขึ้นในอนาคต.

 

 

You may also like

อบจ.เชียงใหม่ระดม108หน่วยงาน “รวมใจเป็นหนึ่ง”ฟื้นฟูทำความสะอาดเมืองตั้งเป้าเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ขณะที่”ทักษิณ”ให้ 1 ล้านสนับสนุนกิจกรรม

จำนวนผู้