รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือไฟป่าฯร่วมกับอ.ฮอด

รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือไฟป่าฯร่วมกับอ.ฮอด

รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ติดตามการเตรียมความพร้อม – มอบนโยบายการรับมือปัญหาไฟป่า – หมอกควัน ในพื้นที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อม และชี้แจงนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของจังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมทุ่งเจดีย์ ที่ว่าการอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายจักรินทร์ สิรินทรภูมิ นายอำเภอฮอด และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 แบบบูรณาการ อำเภอฮอด ร่วมให้ข้อมูลและหารืออย่างพร้อมเพรียงกัน

นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การมาครั้งนี้เพื่อรับฟังข้อมูล ปัญหา อุปสรรค และแนวทางดำเนินงานของอำเภอฮอด รวมทั้งลงพื้นที่ด่านบ้านวังลุงใหม่ ตำบลหางดง อำเภอฮอด และมอบนโยบายและชี้แจงแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และฝุ่นละอองของจังหวัดเชียงใหม่

“ปีนี้จังหวัดเชียงใหม่ได้กำหนดค่าเป้าหมาย 4 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ ลดสถิติการเกิดจุดความร้อน (Hotspot), ลดพื้นที่เผาไหม้ (Burn Scar Area), ลดจำนวนวันที่ค่าคุณภาพอากาศเกินมาตรฐาน (Pm 2.5) และลดจำนวนผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังจากปี 2566 อย่างน้อยร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะทำงานฯ ที่แตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา โดยจะเน้นการบูรณาการและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และจัดทีมทำงานตามพื้นที่และบริบท โดยได้แบ่งพื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงออกเป็น 7 พื้นที่ป่า กับอีก 1 พื้นที่พิเศษ ประกอบด้วย กลุ่มพื้นที่ป่าอำเภออมก๋อย, พื้นที่ป่าอำเภอแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา, พื้นที่ป่าดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด, พื้นที่ป่าดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอหางดง อำเภอแม่วาง อำเภอสะเมิง, พื้นที่ป่าอำเภอสันทราย อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ออน, พื้นที่ป่าศรีลานนา อำเภอพร้าว อำเภอแม่แตง และพื้นที่พิเศษบริเวณดอยสุเทพฝั่งหน้าดอย เนื่องจากเป็นจุดที่มีความสำคัญต่อชาวเชียงใหม่ และเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของด่านประตูสู่เชียงใหม่”รองผวจ.เชียงใหม่ กล่าวและว่า

    มีการบูรณาการงบประมาณของทุกภาคส่วน เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการสถานการณ์ ลดความซ้ำซ้อนในการใช้งบประมาณ และให้ประชาชนตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส โดยเน้นการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัย และการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่ารวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะเปิดรับอาสาสมัคร จิตอาสาภาคประชาชน 100,000 คน เพื่อร่วมคิด ร่วมขับเคลื่อนในทุกระดับ.

You may also like

CEA – MUJI จับมือดันงานหัตถกรรมท้องถิ่นเชียงใหม่ ผลักดันผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดแบรนด์ระดับโลก

จำนวนผู้