รพ.มหาราชนครชม.มอบเกียรติบัตรให้7จนท.การท่าฯชีี้CPRช่วยฟื้นคืนชีพให้คนหัวใจหยุดเต้นได้

รพ.มหาราชนครชม.มอบเกียรติบัตรให้7จนท.การท่าฯชีี้CPRช่วยฟื้นคืนชีพให้คนหัวใจหยุดเต้นได้

รพ.มหาราช เชิดชูเกียรติบัตรผู้ที่ช่วยชีวิตผู้ป่วย ในท่าอากาศยานเชียงใหม่ พร้อมจัดอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR DAY ประจำปี 2561 ให้บุคลากรทางการแพทย์ ชี้ CPR ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานพลิกชีวิตให้รอดต่อไปได้

ที่ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสต์ มช.ได้จัดอบรมให้ความรู้ ระยะสั้นเรื่อง การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR DAY ประจำปี 2561 เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 400 คน ได้พัฒนาทักษะความรู้เทคนิคด้านการช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ป่วยและประชาชน พร้อมกันนี้ได้มีพิธีมอบประกาศเกียรติคุณ ให้แก่บุคลากรของท่าอากาศยานเชียงใหม่ จำนวน 7 ท่าน ที่สามารถช่วยฟื้นคืนชีพให้กับหนุ่มพนักงานโรงแรมที่หมดสติ หัวใจหยุดเต้นกลางสนามบิน โดยการทำการช่วนฟื้นคืนชีพพื้นฐาน และใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าอัตโนมัติ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา

ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เปิดเผยว่า พื้นฐานการช่วยฟื้นคืนชีพ (การปั๊มหัวใจ) ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากในชีวิตประจำวัน เพราะไม่รู้ว่าเหตุการณ์ข้างหน้าที่เผชิญอยู่จะเกิดอะไรขึ้น จากเดิมเมื่อเกิดเหตุการณ์ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น จะถูกนำส่งมายังโรงพยาบาลทันที โดยปราศจากการช่วยเหลือ ทำให้อัตราการรอดชีวิตน้อยมาก (ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์)

ดังนั้นการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) คือการปฏิบัติเพื่อช่วยชีวิตคนหัวใจหยุดเต้นหรือ คนที่หยุดหายใจอย่างกะทันหันโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์แต่อย่างไร เพียงใช้แรงมือกดที่หน้าอก และเป่าลมเข้าปากผู้ป่วย (แนะนำว่าไม่เป่าปากก็ยังช่วยได้หากไม่สะดวกใจ) ก็สามารถทำให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ได้ ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญในการรอดชีวิตของผู้ป่วย หากเริ่มต้นช่วยได้เร็ว โอกาสการรอดชีวิตจะยิ่งมากขึ้น หากเริ่มหลังจาก 10 นาทีขึ้นไป ผู้ป่วยจะไม่มีโอกาสรอดชีวิตได้เลย  ดังนั้นโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการสอนจัดอบรมการช่วยชีวิตพื้นฐาน (ปั๊มหัวใจ) เพื่อให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้ในการช่วยเหลือและขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเพิ่มการรอดชีวิตของผู้ป่วยจนสามารถมีชีวิตยืนยาวต่อไปได้

ด้าน ผศ.นพ.บวร วิทยชำนาญกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เลขานุการกรรมการการช่วยฟื้นคืนชีพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า โดยทั่วไปนั้นภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกะทันหัน ไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนแต่อย่างใด ไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ มักเกิดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะนี้เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาลได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ประชาชนจึงมีบทบาทอย่างยิ่งในการมีส่วนร่วมและช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต โดยมีปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การรับรู้ว่าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและรีบโทรแจ้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลขโทรศัพท์ 1669 , การช่วยปั๊มหัวใจอย่างรวดเร็ว, การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือที่เรียกสั้นๆว่า AED) เป็นต้น

ทั้งนี้ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลแนวหน้าระดับประเทศ มีพันธกิจที่จะช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากภาวะการเจ็บป่วย ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาล มานานกว่า 8 ปี  โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลมหาราช ฯ ได้มอบเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ให้แก่ สนามบินนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ , วัดพระธาตุดอยสุเทพ, ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ,สถานีรถไฟจังหวัดเชียงใหม่ ,สถานขนส่งอาเขต จังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ พร้อมจัดให้มีการจัดอบรมสำหรับประชาชน ในรูปแบบอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 ชั่วโมง เพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ได้จริง โดยได้ใช้รูปที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งมีการอบรมในระยะเวลาสั้นให้กับประชาชนทุกระดับ โดยรูปแบบในการอบรมจะมีการสอนปั๊มหัวใจ การช่วยหายใจ และการใช้เครื่อง AED เพื่อให้ประชาชนดูแลตัวเองเบื้องต้นก่อนที่บริการการแพทย์ฉุกเฉิน EMS จะมาถึง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความพิการแก่ผู้ป่วย.

You may also like

กกท. จัดการแข่งขันกรีฑาระดับโลก “Golden Fly Series Qualifier Chiang Mai 2024 presented by SAT”หวังสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจท้องถิ่น

จำนวนผู้