รพ.พะเยา:ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม

รพ.พะเยา:ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม

ากข้อมูลการรักษาพยาบาลในปี 2560 ของโรงพยาบาลพะเยา พบว่า คนไข้ 3 อันดับโรคที่เข้ารับบริการ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง 56,807 คน คิดเป็น 11,603 คน/แสนประชากร เบาหวาน 25,033 คน หรือ 4,323 คน/แสนประชากร โรคไตเรื้อรังระยะ 5 จำนวน 20,662 คน  นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจำนวนมาก ทำให้โรงพยาบาลต้องเร่งหาทางป้องกันและแก้ไข เพื่อให้ประชากรในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีขึ้น พ.ญ.กัตติกา หาลือ ประธานโครงการโรงพยาบาลต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพ ด้านการจัดบริหารอาหารสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม (Healthy Food Hospital Model) โรงพยาบาลพะเยา เล่าว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือแรงผลักดันที่ทำให้โรงพยาบาลพะเยา เข้าร่วมโครงการพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบสร่งเสริมสุขภาพ ในด้านการจัดบริการอาหารสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาล ก่อนขยายผลสู่ประชาชน ตลอดจนโรงพยาบาลอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน“การทำงาน ทำให้มองเห็นชัดเจนว่า บางคนติดรสชาติ และมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม จึงได้เร่งหาทางปรับพฤติกรรม โดยมองไปที่กลุ่มเป้าหมาย ที่ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ 70 คน บุคลากรฝ่ายโภชนาการ ผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงพยาบาล 10 คน และผู้รับบริการในโรงพยาบาลพะเยา 400 คน มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงโครงการ พร้อมกับเก็บตัวอย่างปัสสาวะ และประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรม”  ประธานโครงการอธิบายขณะเดียวกันก็สำรวจและปรับสูตรอาหาร โดยจัดเก็บข้อมูล วิธีการปรุง ส่วนประกอบของอาหาร ที่ผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงพยาบาลทำขึ้น แล้วนำตัวอย่างอาหารส่งตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ใน จ.เชียงใหม่ เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ 7 รายการ คือ พลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ปริมาณเถ้า ปริมาณความชื้น และปริมาณโซเดียมเมื่อได้ผลวิเคราะห์ ก็จะนำมาปรับปรุงสูตร ให้ลดหวาน มัน เค็ม จากนั้นเก็บตัวอย่างสูตรใหม่ที่ปรับแล้วไปตรวจอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดเมนูสุขภาพ 5 เมนู จาก 5 ร้าน และในส่วนของโรงครัวที่ทำอาหารให้ผู้ป่วย ก็ปรับเมนูอาหารพื้นเมือง 4 เมนู ให้ผู้ป่วยได้มีทางเลือกในการรับประทานอาหาร ซึ่งจากการประเมินผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 4 ครั้ง 97% มีความพึงพอใจ เพราะนอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังได้ลงมือเชิงปฏิบัติการ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงสุมน วงศาโรจน์ นักโภชนาการชำนาญการ รพ.พะเยา บอกว่า กว่าจะได้สูตรเมนูสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ที่ลงตัว ไม่ใช่แค่อบรมเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ แต่ต้องใช้แรงกระตุ้นมหาศาล ให้นักโภชนาการไปสำรวจเมนูขายดีของแต่ละร้าน แล้วคัดมาร้านละ 1 เมนู ส่งไปตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ เมื่อพบว่าตัวไหนสูงเกินไปก็จะแนะนำให้ปรับสูตร แล้วให้ผู้ร่วมโครงการชิม ช่วยกันประเมินว่ากินได้ไหม ขายได้ไหมเมื่อชิมอาหารจากผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงพยาบาลแล้ว ก็ให้เสนออาหารพื้นเมืองที่ผู้เข้าร่วมโครงการชอบทำกินที่บ้านมา 4-5 อย่าง เพื่อให้โรงครัวของโรงพยาบาลทำให้กับผู้ป่วย พบว่าส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของปลาร้า และกะปิ ก็ต้องลดปริมาณลง ให้เหมาะสมกับคนไข้ทั่วไป และคนไข้เฉพาะอย่างโรคเบาหวาน ที่ต้องกินอาหารจืด ก็จะมีทางเลือกที่หลากหลาย ไม่จำเจ หรือเบื่ออาหาร โดยเมนูสุขภาพ ที่ได้รับการปรับสูตรไปแล้วนั้น ประกอบด้วย ข้าวผัด นำพริกหนุ่ม ผักลวก ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส และข้าวมันไก่ปุญชณีมาศ จินต์วิเศษ นักโภชนาการ รพ.พะเยา และคณะกรรมการโครงการอีกรายหนึ่ง ย้ำถึงอุปสรรคในการทำงานในโครงการนี้ว่า เนื่องจากอาหารเหนือ ใช้กะปิ ปลาร้า มะแขว่น พริกลาบ เป็นส่วนใหญ่ และเครื่องปรุงเหล่านี้ไม่ผ่านการตรวจคุณภาพ ผู้ประกอบการ หรือผู้ปรุงอาหารก็มักจะซื้อจากตลาดโดยตรง บางครั้งแหล่งผลิต หรือแม่ค้า เพิ่มสารบางตัวเข้าไป เช่น เกลือ หรือผงชูรส เพื่อให้รสชาติถูกปากคนทั่วไป จึงนับเป็นอุปสรรค และตัวแปรที่ควบคุมยากด้าน จรรยา วรรณทอง เลขานุการ และผู้ประสานงานโครงการ เล่าว่า นอกจากการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและจริงจังแล้ว การประชาสัมพันธ์ก็มีส่วนกระตุ้นให้คนตื่นตัวรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น โดยสื่อที่ได้รับความสนใจมากคืออะคริลิค ที่ติดบริเวณหน้าลิฟท์ของโรงพยาบาล ซึ่งจะแนะนำอาหารสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม (Healthy Food Hospital) รวมถึงวิธีการอ่านฉลากขนมขบเคี้ยว หรืออาหาร เครื่องปรุงต่างๆ ว่าต้องดูอะไรเป็นพิเศษ อย่างไรสำหรับสื่ออื่นๆ เช่น ป้ายไวนิล ป้ายรณรงค์ ก็จะประชาสัมพันธ์ให้บุคลากร คนไข้ ญาติผู้ป่วย ตลอดจนคนที่มาติดต่อโรงพยาบาล รู้ว่ามีเมนูอาหารสุขภาพให้บริการ ซึ่งโครงการนี้ก่อให้เกิดความตื่นตัวทั้งในผู้ป่วย ประชาชนทั่วไป บุคลากร รวมถึงคณะทำงาน ในการที่จะเข้าถึงเมนูอาหารสุขภาพขณะเดียวกันในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้ามาประมูลในโรงพยาบาล ก็จะมีระบุในสัญญาชัดเจนว่าต้องมีเมนูชูสุขภาพอย่างน้อยร้านละ 1 เมนู ดังนั้นไม่ว่าจะเปลี่ยนผู้ประกอบการอย่างไร ทุกร้านก็ต้องมีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ประจำร้านของตัวเอง.

You may also like

รมว.ท่องเที่ยวฯเตรียมเสนอรัฐบาลดันโครงการ”แอ่วเหนือคนละครึ่ง”จัดครม.สัญจรสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวหวังฟื้นฟูได้ทันพ.ย.นี้

จำนวนผู้