ปัญหาน้ำเริ่มระอุ ชาวดอยหล่อนัดรวมพล ด้านชลประทานเชียงใหม่แจงอ่างโป่งจ๊อเก่าปรับปรุงใช้เงินมากเตรียมสร้างใหม่รองบปี 66

ปัญหาน้ำเริ่มระอุ ชาวดอยหล่อนัดรวมพล ด้านชลประทานเชียงใหม่แจงอ่างโป่งจ๊อเก่าปรับปรุงใช้เงินมากเตรียมสร้างใหม่รองบปี 66

ชาวบ้านและนายกอบต.ดอยหล่อนัดรวมตัวหน้าที่ว่าการอำเภอเพื่อขนน้ำจากฝายดอยน้อยไปเติมอ่างโป่งจ๊อ อ้างชลประทานแก้ปัญหาไม่ตรงจุด อ้านผอ.โครงการชลประทานเชียงใหม่แจงอ่างโป่งจ๊อสร้างมานานปรับปรุงใช้เงินมาก แจงมีแผนก่อสร้างใหม่ใช้งบปี 66 ชี้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเตรียมสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มที่จอมทอง

นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวชี้แจงถึงกรณีกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ  และนายก อบต.ดอยหล่อ นัดรวมตัวกับชาวบ้าน ประมาณ 800-1,000 คน หน้าที่ว่าการอำเภอดอยหล่อ วันนี้ (13 ม.ค. 63) 09.00น.พร้อมรถและถังน้ำ ก่อนจะไปขนน้ำจากฝายดอยน้อย มาเติมในอ่างโป่งจ๊อ โดยอ้างว่าได้ร้องขอโครงการปรับปรุงฝายแม่ตื่นพร้อมระบบผันน้ำลงสู่อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ทั้งเรื่องท่อตีบและการผันน้ำ แต่กลับแก้ปัญหาไม่ตรงจุดว่า อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ เป็นโครงการชลประทานอันเนื่องมากจากพระราชดำริ ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2523แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2525 มีความจุที่ระดับเก็บกัก 2.60 ล้าน ลบ.ม.

ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 0.863 ล้าน ลบ.ม. หรือ 33.19 % ของความจุอ่าง เนื่องจากอ่างเก็บน้ำโป่งจ้อ มีพื้นที่รับน้ำฝน ค่อนข้างน้อยทำให้มีโอกาสที่น้ำจะเต็มความจุน้อย ดังนั้นในปี 2539 กรมชลประทาน ได้ทำการก่อสร้างฝายแม่ตื่น พร้อมระบบผันน้ำ โดยลักษณะโครงการก่อสร้างฝาย คสล.สูง 4 เมตร ยาว 20 เมตร พร้อมระบบผันน้ำเป็นท่อ HDPE ขนาด 0.80 เมตร ยาว 4,100 เมตร อุโมงค์ผันน้ำ ขนาด 1.00 เมตร ยาว 506 เมตร รางน้ำคสล. ขนาด 2.50 – 3.00 เมตร ยาว 3,930 เมตร เพื่อผันน้ำจากลำน้ำแม่ตื่นลงสู่อ่างโป่งจ้อ

ผอ.โครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า เนื่องจากมีก่อสร้างและการใช้งานเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้ฝายแม่ตื่นมีการสะสมของตะกอนทรายเป็นจำนวนมากและไหลเข้าอุดตันภายในท่อ HDPE ประกอบกับ ท่อ HDPE เริ่มมีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานทำให้การผันน้ำลงสู่อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยแนวที่แก้ไขจะต้องมีการปรับปรุงฝายแม่ตื่นพร้อมระบบท่อผันน้ำ HDPE ใหม่ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมในด้านวิศวกรรม การพิจารณาโครงการการสำรวจและออกแบบ เนื่องจากโครงการดังกล่าว จะต้องใช้งบประมาณในการปรับปรุงในวงเงินที่สูง ซึ่งโครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้จัดวางแผนงานก่อสร้างไว้ในปีงบประมาณ 2566 โดยเบื้องต้นโครงการชลประทานเชียงใหม่ จะประสานส่วนวิศวกรรมสำนักงานชลประทานที่1เพื่อพิจารณาเร่งรัดการพิจารณาโครงการ สำรวจและออกแบบให้เร็วขึ้น เพื่อที่จะสามารถเร่งรัดระยะเวลาการก่อสร้างให้เร็วขึ้น

สำหรับการแก้ไขการใช้น้ำในระยะยาว เนื่องจากเพื่อที่ดังกล่าวมีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกเพิ่มขึ้น กรมชลประทานมีแผนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่หอย อ.จอมทอง ความจุ 9.5 ล้าน ลบ.ม. และ อ่างเก็บน้ำแม่วาง อ.แม่วาง ความจุ 20.5 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งทั้งสองโครงการ สามารถผันน้ำช่วยเหลือพื้นที่รับประโยชน์อ่างเก็บน้ำโป่งจ้อได้ ประกอบกับในปีนี้ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย18% ทำให้อ่างเก็บน้ำต่างๆในพื้นที่มีความจุที่น้อยกว่าปีที่แล้ว โดยระยะเร่งด่วนหากเกิดสภาวะภัยแล้งในพื้นที่สำนักชลประทานที่ 1 ได้ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ประตูระบายน้ำฝายดอยน้อยและโครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้สำรองเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำไว้ที่ประตูระบายน้ำฝายดอยน้อย หากพื้นที่การเกษตรหรือประชาชนได้รับผลกระทบในเรื่องภัยแล้ง สามารถส่งเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ เข้าสนับสนุนได้ทันที.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่ระดม108หน่วยงาน “รวมใจเป็นหนึ่ง”ฟื้นฟูทำความสะอาดเมืองตั้งเป้าเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ขณะที่”ทักษิณ”ให้ 1 ล้านสนับสนุนกิจกรรม

จำนวนผู้