บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

บสย. รุกโมเดล “SMEs Digital Gateway” ปั้น 11 สาขาภูมิภาคสู่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน

- in headline, เศรษฐกิจ

บสย. รุกโมเดล SMEs Digital Gateway เตรียมปรับโฉมสำนักงานเขต 11 สาขาทั่วประเทศ สู่การเป็นศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน ผ่านกลไก “TCG Learning Center

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2667 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นำสื่อมวลชนจากจังหวัดเชียงใหม่ เข้าเยี่ยมชม  TCG Learning Center ณ บสย. สำนักงานใหญ่ อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 2 กรุงเทพมหานคร

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ทิศทางการดำเนินงาน บสย. ปี 2567 มุ่งนโยบายการทำงานเชิงรุก เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ทุกมิติ เร่ง เติมทุน หนุนค้ำ SMEs ช่วยลูกหนี้ แก้หนี้ยั่งยืน และให้ความรู้ทางการเงินแก่ SMEs โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เร่งยกระดับองค์กรด้วย Digital Technologyซึ่งเป้าหมายสำคัญในปีนี้ จะเร่งผลักดันโมเดล SMEs Digital Gateway ที่จะเพิ่มบทบาท บสย. ให้เป็น Credit Mediator พร้อมยกระดับสำนักงานเขตทั่วประเทศ (Branch Reformat) สู่การเป็นศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs ผ่านกลไก TCG Learning Center ล่าสุด นำร่อง สำนักงานเขตจังหวัดชลบุรี และ สำนักงานเขตจังหวัดอยุธยา ขณะเดียวกัน เตรียมนำโมเดลดังกล่าวเป็นต้นแบบในการปรับโฉมสาขาในภูมิภาคทั้งหมดภายในปีนี้

โดย TCG Learning Center
เป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่สามารถร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ บสย. จัดขึ้น โดยมุ่งเน้นในการให้องค์ความรู้ทางด้านการจัดการทางการเงินสำหรับธุรกิจ การตลาด การพัฒนาธุรกิจ รวมถึงการฝึกอาชีพ เป็นต้น ซึ่งปัญหาสำคัญของ SMEs คือ ปัญหาสภาพคล่อง 1.ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุน 2.ระบบการทำธุรกิจที่ไม่คำนวณต้นทุนที่แท้จริง ทั้งในส่วนของต้นทุนและกำไร-ขาดทุน 3.การขาดองค์ความรู้ด้านการเงิน โดยเฉพาะความรู้เรื่องการเงินดิจิทัล Digital Financial Literacy ซึ่งคาดว่า SMEs ในภูมิภาคจะมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในการทำธุรกิจได้มากขึ้น
นายสิทธิกร กล่าวต่อว่า สำหรับภาคเหนือ 8 จังหวัด พบว่า SMEs ใน 3 กลุ่มหลักที่มีความโดดเด่น ได้แก่ 1.ภาคบริการ-ท่องเที่ยว สัดส่วน 24% 2.ภาคเกษตร 16% 3.ภาคผลิตและการค้า 14% และภาคธุรกิจอื่นๆ 46% มีวงเงินค้ำประกันสินเชื่อในปี 2566 รวมทั้งสิ้น 12,645 ล้านบาท

สำหรับผลดำเนินงาน บสย. ไตรมาสแรกปี 2567 (ม.ค.-มี.ค.) อนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 14,432 ล้านบาท ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ จำนวน 36,142 ราย แบ่งสัดส่วนค้ำประกันสินเชื่อในเขตกรุงเทพ 42% และสัดส่วนค้ำประกันสินเชื่อต่างจังหวัด 58% สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17% ภาคใต้ 13% และ ภาคเหนือ 12%

//////////

 

 

 

You may also like

ครอสเชียงใหม่ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ทระดับ 5 ดาวริมฝั่งแม่น้ำปิงพร้อมให้บริการลูกค้าเปิดตัวห้องประชุมใหม่ H2O รองรับได้ 80-100 คน

จำนวนผู้