บสย. ผลงานโดดเด่น ค้ำประกัน 6 เดือน ทะลุ 67,987 ล้านบาทเปิดสูตร 3 เร่ง เชื่อมดิจิทัลแพลตฟอร์ม สู่เป้าหมาย SMEs Gateway

บสย. ผลงานโดดเด่น ค้ำประกัน 6 เดือน ทะลุ 67,987 ล้านบาทเปิดสูตร 3 เร่ง เชื่อมดิจิทัลแพลตฟอร์ม สู่เป้าหมาย SMEs Gateway

- in headline, เศรษฐกิจ

บสย. สร้างผลงานโดดเด่น เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ 6 เดือน ม.ค.-มิ.ย. 2566 อนุมัติวงเงิน 67,987 ล้านบาท เติมสภาพคล่อง SMEs ได้สินเชื่อ 51,427 ราย สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 280,786 ล้านบาท สร้างสินเชื่อสู่ระบบ 76,049 ล้านบาท รักษาการจ้างงานรวม 493,552 ตำแหน่ง เผยแผนครึ่งปีหลังเดินเครื่อง 3 เร่ง “เร่งค้ำ เร่งพัฒนา เร่งยกระดับ” ขับเคลื่อน Digital Technology เชื่อมดิจิทัลแพลตฟอร์ม สู่เป้าหมาย SMEs Gateway

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยผลดำเนินงาน บสย. 6 เดือนแรกของปี 2566 ระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน ประสบผลสำเร็จตามเป้าทั้งด้านค้ำประกันสินเชื่อ เติมสภาพคล่องทางการเงินต่อยอดธุรกิจ SMEs การแก้หนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ผ่านมาตรการ “บสย. พร้อมช่วย” การให้คำปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A.Center) การขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล Digital Technology และการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานบน Line @tcgfirst
ด้านผลดำเนินงานอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย. 2566) อนุมัติวงเงินรวม 67,987 ล้านบาท ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ 51,427 ราย สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 280,786 ล้านบาท สร้างสินเชื่อสู่ระบบ 76,049 ล้านบาท รักษาการจ้างงานรวม 493,552 ตำแหน่ง ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ 4 โครงการ ได้แก่
1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก (พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2) วงเงิน 30,280 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 45% ของวงเงินรวม ช่วย SMEs 5,450 ราย
2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs เข้มแข็ง (PGS 10) วงเงิน 24,766 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 36% ของวงเงินรวม ช่วย SMEs 40,254 ราย
3. โครงการค้ำประกันสินเชื่อรายสถาบันการเงิน ระยะที่ 7 (BI7) วงเงิน 8,634 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13% ของวงเงินรวม ช่วย SMEs 4,453 ราย
4.โครงการค้ำประกันสินเชื่ออื่นๆ (PGS Renew และ PGS 5 ขยายเวลา) วงเงิน 4,307 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6% ของวงเงินรวม ช่วย SMEs 1,702 ราย

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1.ภาคบริการ สัดส่วน 31% ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ภัตตาคาร ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจ
โรงแรมและหอพัก ธุรกิจท่องเที่ยว และ ธุรกิจแวร์เฮ้าส์
2.ภาคเกษตรกรรม สัดส่วน 11% ได้แก่ ธุรกิจผัก-ผลไม้ ธุรกิจชา กาแฟ ธุรกิจข้าว และพืชไร่ ธุรกิจสินค้าเกษตร ธุรกิจปศุสัตว์ และธุรกิจประมง
3.ภาคการผลิตและสินค้าอื่น สัดส่วน 10% ได้แก่ ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจค้าปลีก ตลาดสด และแผงลอย ธุรกิจค้าของเก่า ธุรกิจจำหน่ายมือถือและอุปกรณ์ ธุรกิจการค้า ธุรกิจการผลิตอื่นๆ

โครงการค้ำประกันสินเชื่อที่โดดเด่นในรอบ 6 เดือน ได้แก่ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs เข้มแข็ง (PGS 10) อนุมัติค้ำประกันได้ถึง 24,766 ล้านบาท (จากวงเงินที่ได้รับอนุมัติเมื่อเดือน ก.พ.2566 จำนวน 50,000 ล้านบาท) จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ ทั้ง 5 Segments คือ 1. Smart Biz (สัดส่วนค้ำ 62%) วงเงินค้ำเฉลี่ยต่อราย 5.17 ล้านบาท 2. Smart One (25%) วงเงินค้ำเฉลี่ยต่อราย 2.72 ล้านบาท 3. Small Biz (13%) วงเงินค้ำเฉลี่ยต่อราย 0.09 ล้านบาท 4. Smart Green (0.14%) วงเงินค้ำเฉลี่ยต่อราย 3.82 ล้านบาท 5. Start up (0.01%) วงเงินค้ำเฉลี่ยต่อราย 0.07 ล้านบาท ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ 40,254 ราย และโครงการค้ำประกันดอกเบี้ยถูก (พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2) ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ช่วย SMEs ได้สินเชื่อ 5,450 ราย อนุมัติค้ำ 30,280 บาท
นอกจากนี้ บสย. ยังประสบความสำเร็จในการให้คำปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A. Center) จำนวนผู้ใช้บริการลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาและเข้าอบรมมากกว่า 14,076 ราย ขณะที่โครงการช่วยลูกหนี้ “บสย. พร้อมช่วย” มาตรการเชิงรุก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือลูกหนี้แก้หนี้ยั่งยืนได้รับผลสำเร็จดีเยี่ยม โดยสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ ผ่านโครงการประนอมหนี้ ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ผ่านมาตรการ 3 สี ม่วง เหลือง เขียว “ผ่อนน้อย เบาแรง” ได้มากถึง 10,208 ราย คิดเป็นวงเงิน 3,745 ล้านบาท โดยมีมาตรการผ่อนน้อย เบาแรง ชำระครั้งแรก 10% ผ่อนนาน 7 ปี ตัดเงินต้นทั้งจำนวน ดอกเบี้ย 0% มีสัดส่วนสูงถึง 84% มีผู้ใช้บริการสูงสุด
สำหรับทิศทางการดำเนินงาน บสย. ครึ่งปีหลัง ยกระดับค้ำประกันด้วย Digital Technology สู่การเป็น SMEs Gateway ตามแนวทาง TCG Fast & First รวดเร็ว รอบคอบ ที่หนึ่งในใจ SMEs ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบให้ได้มากที่สุดในช่วงฟื้นประเทศ โดยเน้นการทำงาน 3 เร่ง “เร่งค้ำ เร่งพัฒนา เร่งยกระดับ”
1. เร่งผลักดันการค้ำประกันสินเชื่อ โดย บสย. มีวงเงินค้ำประกันสินเชื่อโครงการ PGS 10 รองรับราว 25,000 ล้านบาท โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก (พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2) มีวงเงินรองรับราว 50,000 ล้านบาท และโครงการค้ำประกันสินเชื่อรายสถาบัน ระยะที่ 7 มีวงเงินรองรับราว 15,000 ล้านบาท
2. เร่งพัฒนาโครงการพัฒนานวัตกรรม บสย. การให้บริการลูกค้าผ่านช่องทาง Digital Platform และพัฒนา Line @tcgfirst เพื่อการเข้าถึงบริการใหม่ อาทิ การจองคิวปรึกษา “หมอหนี้” ผ่าน Line @tcgfirst ตลอด 24 ชั่วโมง
การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อที่สอดคล้องตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ และเทรนด์ผู้ประกอบการ SMEs ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ในกลุ่ม Start up กลุ่มธุรกิจรักษ์โลก และสิ่งแวดล้อม Green Business กลุ่ม ESG การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โครงการพัฒนากระบวนการจัดการการเก็บหนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารหนี้ และโครงการพัฒนาระบบ TCG Data Management Platform เชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งภายในและภายนอก
3. เร่งยกระดับการเข้าถึงบริการให้คำปรึกษา หมอหนี้ บสย. โครงการพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาทางการเงิน ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A. Center) และโครงการการให้บริการ Credit Mediator เพื่อให้ SMEs เข้าถึงสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น.

 

 

 

 

 

You may also like

อบจ.เชียงใหม่จับมือภาคีเครือข่าย จัดงาน “วันสิ่งแวดล้อมไทย ประจำปี ภายใต้แนวคิด “รักษ์ป่า รักษ์ดิน รักษ์สิ่งแวดล้อม”

จำนวนผู้