บสย.จับมือภาครัฐ-เอกชนจัดงาน”มหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุน”มุ่งเป้าสนับสนุนผู้ประกอบการSME

บสย.จับมือภาครัฐ-เอกชนจัดงาน”มหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุน”มุ่งเป้าสนับสนุนผู้ประกอบการSME

บสย.จับมือธปท.และหน่วยงานรัฐ เอกชน จัดงานมหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุนรวม 11 ครั้งหวังสนับสนุนและพัฒนาให้ผู้ประกอบการ SMEs  ได้สินเชื่อตามต้องการ เผยเป้าหมายค้ำประกันสินเชื่อใน 8 จังหวัดภาคเหนือสูงถึง 1 แสนล้านบาท ขณะที่สนง.บสย.เชียงใหม่ให้การค้ำประกันสินเชื่อรวมขณะนี้ 1,165 ราย คิดเป็นวงเงินค้ำประกัน 743.39 ล้านบาท ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อไปแล้วรวมมากกว่า 1,500 ล้านบาท

ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือร่วมกับชมรมธนาคารจังหวัดเชียงใหม่ บริษัทเครดิตแห่งชาติและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดงาน “มหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุน” โดยมีนายจตุฤทธิ์ จันทรกานต์ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานสนับสนุนบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เป็นประธานในพิธีเปิดโดยกล่าวว่า เชียงใหม่เป็นจังหวัดสำคัญหนึ่งในภาคเหนือทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน และการจัดงานครั้งนี้ในฐานะที่บสย.เป็นกลไกสำคัญใน ฐานะเป็นสถาบันการเงินของรัฐ และเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารแต่มีหลักประกันไม่เพียงพอ โดย บสย.จะทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อในส่วนที่ขาดหลักประกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้สินเชื่อเต็มตามจำนวนที่ต้องการ บสย.ได้เล็งเห็นความสำคัญของเงินทุนในการประกอบธุรกิจ และปัญหา-อุปสรรค ข้อจำกัดของ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ด้านนายประเสริฐ ชัยชาญอุดมสุข ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ในปี 2560 บสย. ได้รับภารกิจสำคัญที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ บสย. ทำหน้าที่เข้าไปสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีศักยภาพแข็งแกร่ง นอกเนหือจากบทบาทหลักในการให้การค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของ บสย. อาทิเช่น กิจกรรมมหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุน กิจกรรมโครงการอบรมผู้ประกอบการ SMEs (TCG-Financial Literacy) เพื่อเพิ่มศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยจะเน้นผู้ประกอบการ SMEs 3 กลุ่มประกอบด้วย 1.กลุ่มผู้ประกอบการทั่วไป 2.กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย 3.กลุ่มเริ่มต้น (Start-up) และกลุ่มนวัตกรรม (Innovation) เป็นต้น

สำหรับแผนการดำเนินกิจกรรมในปี 2560 ที่จะสามารถช่วยสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการSMEs ประกอบด้วย กิจกรรมมหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุนจำนวน 11 ครั้งในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ  โดยครั้งนี้มีการเปลี่ยนรูปแบบตามความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่จังหวัดที่จัดกิจกรรม   การจัดกิจกรรม บสย. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานคู่ความร่วมมือหลักจากธนาคารแห่งประเทศไทย   บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด และชมรมธนาคารจังหวัด   รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จัดกิจกรรม  ร่วมบรรยายในหัวข้อต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ SMEs รวมถึง บสย. เปิดบูธให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ   เพื่อให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจและการขอสินเชื่อกับผู้ประกอบการ    ตลอดจนรับทราบปัญหาและประสานงานกับธนาคาร  เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs  ได้สินเชื่อตามต้องการ และในกรณีที่ผู้ประกอบการ SMEs ขาดหลักประกัน บสย. ก็พร้อมที่จะค้ำประกันสินเชื่อ  โดยผ่านผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อประเภทต่างๆ ของ บสย.   อีกทั้ง หน่วยงานต่างๆ สถาบันการเงิน และผู้ประกอบการ SMEs ร่วมออกบูธให้บริการผลิตภัณฑ์

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมโครงการอบรมผู้ประกอบการ SMEs (TCG-Financial Literacy) จำนวน 22 ครั้ง   เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั่วประเทศ   โดยเป็นหลักสูตรที่ บสย.  ออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการธุรกิจของตน ทั้งทางด้านการบริหารการเงิน ต้นทุน การตลาด   เกิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งมากขึ้น และมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้   โดยมี 3 หลักสูตร ดังนี้  หลักสูตร บัญชีเงินสดรับ-จ่าย ไม่ยากอย่างที่คิด,หลักสูตร ออนไลน์สร้างเงินกับ บสย.และหลักสูตร การเสริมความรู้ SMEs เพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ ค้าชายแดน AEC

ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวอีกว่า           ปัจจุบัน บสย. มีสำนักงานสาขาที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ  11 สาขา  ได้แก่ 1. สำนักงานสาขากรุงเทพมหานคร   2. สำนักงานสาขาพระนครศรีอยุธยา  3. สำนักงานสาขาเชียงใหม่  4. สำนักงานสาขาพิษณุโลก   5. สำนักงานสาขาอุดรธานี   6. สำนักงานสาขาอุบลราชธานี   7. สำนักงานสาขานครราชสีมา   8. สำนักงานสาขาชลบุรี   9. สำนักงานสาขาประจวบคีรีขันธ์   10. สำนักงานสาขาสุราษฎร์ธานี   และ 11. สำนักงานสาขาสงขลา

ในส่วนของ บสย. สำนักงานสาขาเชียงใหม่  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาขาที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ทั้งหมด รวม 8 จังหวัด ได้แก่ จ. เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.พะเยา จ.แพร่ จ.น่าน และ จ.แม่ฮ่องสอน   สำหรับปี 2560 นี้  เป้าหมายที่จะค้ำประกันสินเชื่อ  100,000 ล้านบาท  สำหรับสำนักงานสาขาเชียงใหม่ ยอดค้ำประกันสินเชื่อ  ณ วันที่ 23 มีนาคม 2560  บสย. สำนักงานสาขาเชียงใหม่  ให้การค้ำประกันสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 1,165 ราย คิดเป็นวงเงินค้ำประกัน 743.39 ล้านบาท ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อไปแล้วรวมมากกว่า 1,500 ล้านบาท    โดยในจำนวนนี้ บสย. ได้ค้ำประกันให้กับผู้ประกอบการ SMEs  จ.เชียงใหม่ จำนวน 362 ราย  คิดเป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 299.28 ล้านบาท

สำหรับประเภทของธุรกิจของ  จ.เชียงใหม่  ที่ บสย. ให้การค้ำประกันสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 ธุรกิจบริการ เช่น บริการท่องเที่ยว โรงแรม รับเหมาก่อสร้าง  อันดับที่ 2 ธุรกิจการผลิตสินค้าและการค้าอื่นๆ เช่น การขายส่งสินค้าหลายชนิด  การขายปลีกสินค้าอื่น ๆ อันดับที่ 3 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เบเกอรี่ ตัวแทนจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งคาดว่ามหกรรมเข้าถึงแหล่งเงินทุน จ.เชียงใหม่  ผู้ประกอบการSMEs ในพื้น จ.เชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง ได้รับสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น

นายประเสริฐ  กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ บสย. ยังพัฒนาระบบคลินิกออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางและเป็นทางเลือกใหม่มีความทันสมัยหลากหลายมากยิ่งขึ้น จากช่องทางเดิมที่ บสย. ดำเนินการให้คำปรึกษาผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  ในการมอบบริการครบวงจร ทุกที่ทุกเวลา สะดวก รวดเร็ว  สามารถย่นระยะเวลาให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในติดต่อประสานงานกับสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานให้คำปรึกษา เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ  รวมถึงการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมกับ บสย. ในรูปแบบ One Stop Service Online ได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกของผู้ประกอบการ SMEs ด้านบริการได้เป็นอย่างดี 

สำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความสนใจที่จะปรึกษาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน  สามารถเข้าไปใช้งานระบบคลินิกค้ำประกันออนไลน์ในขั้นตอนง่ายๆ เพียงเข้าไปที่ www.tcg.or.thแล้วคลิ๊กเมนูคลินิกค้ำประกันออนไลน์ หรือที่https://www.tcgcyber.com/reg/#/app/home อีกทั้งพร้อมเปิดคลินิกให้คำปรึกษา ณ สำนักงานสาขาของ บสย. ทั้ง 11 สาขา ตามภูมิภาคทั่วประเทศ  ได้แก่             ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพิษณุโลก        ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานครและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดนครราชสีมา ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, จังหวัดสงขลา และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อเป็นทางเลือกและสามารถตอบสนองให้กับผู้ประกอบการ SMEs แบบมีประสิทธิภาพ   ในการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บสย. Call Center 0-2890-9999 /www.tcg.or.th หรือ facebook : บสย. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม.

You may also like

ททท. จัดใหญ่เอาใจคนรักเนื้อและชาวแคมป์มาแอ่วเหนือรับลมหนาวกับงาน “Amazing Chiang Mai Meat and Camp 2024” ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคมนี้ ที่สวนอบจ.เชียงให

จำนวนผู้