เชียงใหม่ / ถก“สายธารประวัติศาสตร์ การต่อสู้ของนักศึกษาประชาธิปไตย” นักกิจกรรมเชื่อเทคโนโลยี สื่อโซเชียล ดึงคนรุ่นใหม่ออกมาชุมนุมมากขึ้น แต่บนเวทีต้องคุยหัวข้อใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การเมือง เพราะไม่ใช่เพียงการต่อสู้กับรัฐบาลหากสู้กับระบบ ขณะที่นักวิชาการแนะเชิญผู้รู้ปัญหาจริงๆ มาพูดเพื่อขยายมวลชนเมื่อเวลา 15.00 น. ที่ห้องสีฟ้า ชั้น 3 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พรรควิฬาร์ ได้จัดเสวนาเรื่อง “สายธารประวัติศาสตร์ การต่อสู้ของนักศึกษาประชาธิปไตย” วิทยากรประกอบด้วย ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มช., นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, นายธนาธร วิทยเบญจางค์ ตัวแทนจากพรรควิฬาร์ โดยมี น.ส.ภัคจิรา ทรงศิริภัทร จากคณะศึกษาศาสตร์ มช. เป็นผู้ดำเนินรายการนายธนาธร ได้กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้นักเรียน นักศึกษาออกมาร่วมชุมนุมมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าเป็นเพราะเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น มีอินเตอร์เน็ต และสื่อโซเชียลต่างๆ รวมถึงมีเทคนิควิธีการ เช่น การติดแฮชแท็ก การรีทวิต ที่ให้เกิดเผยแพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว และคนที่นำไปเผยแพร่ยังไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน ข้อมูลที่ถูกปกปิด เช่น การกดทับของอำนาจ ตลอดถึงการถูกข่มขู่คุกคาม จึงถูกเปิดเผย ทำให้มีแนวร่วม ไม่โดดเดี่ยว ที่สำคัญคือข้อมูลต่างๆ มีการเชี่อมโยงกัน นักกิจกรรมได้คุยกันข้ามภูมิภาค แม้เวทีการชุมนุมจะกระจายไปทั่วแต่ทั้งนี้ในการจัดเวทีแต่ละครั้ง ควรคิดหัวข้อใหม่ๆ อาจชวนคนในพื้นที่ คนที่รู้ปัญญาจริงมาร่วมพูด เราควรเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับปัญหาที่ไม่ใช่แค่การเมือง เพราะในชีวิตจริงแต่ละคนแม้จะสนใจการเมืองแต่ยังเผชิญกับปัญหาอื่นๆ ด้วย ถ้าเราไปเชื่อมได้ก็จะเกิดแนวร่วม มีมวลชนที่หลากหลายมากขึ้น ดังนั้นอยากให้รำลึกไว้เสมอว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ จึงไม่ควรมีแค่นักเรียน นักศึกษา และควรมองปัญหาในมุมกว้างไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง หากรวมไปถึงเรื่องปากท้องด้วยนายพริษฐ์ กล่าวว่า ใน 1 ปีที่ผ่านมา มีเรื่องวุ่นวายเกิดขึ้นมากกว่าตลอด 6-7 ปี ที่รัฐบาลนี้ครองอำนาจ และเราก็ได้เห็นสิ่งที่เขาปิดบังว่าไม่สามารถปิดกั้นได้ ทุกคนมีความเข้าใจ มองเห็นเบื้องลึกเบื้องหลัง จนไม่จำเป็นต้องมาถาม หรือกล่าวเท้าความกันแล้ว แต่ในการขึ้นเวทีหากเราเสนอความคิดสู่สาธารณะ แล้วความคิดนั้นดี น่าสนใจ ก็จะกลายเป็น Movement ในสังคม เช่น การผูกโบว์ขาว การชู 3 นิ้วและยิ่งการชุมนุมเปิดกว้างก็จะมีกลุ่มคนรักประชาธิปไตยกลุ่มต่างๆ มาร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น พระสงฆ์ที่รักประชาธิปไตย ประชาชน นักเรียน นักศึกษา กลุ่ม LGBT กลุ่มชาติพันธุ์คนชายขอบ ขณะเดียวกันการจับกุมแกนนำ จะยิ่งทำให้มวลชนเกิดใหม่ เบ่งบานขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลดีกับกลุ่มผู้ชุมนุม หากทั้งนี้เราไม่ได้ต่อสู้แค่รัฐบาล แต่ต่อสู้กับระบบอำนาจ เรียกว่าขบวนการต่อสู้ในปัจจุบันไม่แข็งแต่เหนียวมากกว่าด้าน ศ.ดร.ธเนศวร์ กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมา เราไม่เคยเป็นเมืองขึ้น ทำให้ไม่เคยเกิดการต่อส้ระหว่างประชาชนกับผู้รุกรานต่างประเทศ ส่งผลถึงการเสียเปรียบเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ไทยเราตกเป็นสมบัติของนักล่าอาณานิคมและถูกทำลายเชิงโครงสร้าง ใช้ผู้ปกครองชุดเดิมๆ หากปัญหายังเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็หลอกตัวเองว่าเราเป็นไท มีเอกราช พูดเรื่องการรักชาติแค่ปาก ไม่มีการพัฒนาความเป็นพลเมืองที่ดี ไม่มีผู้นำที่โดดเด่น จึงไม่สามารถสร้างความเป็นประชาชนพลเมืองที่เข้มแข็งได้ และการไม่มีรากฐานประชาธิปไตยที่มั่นคง ยังทำให้การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่บรรลุผล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลเผด็จการ ฉะนั้นภายใต้ความไม่มั่นคงของการเมือง ได้ทำลายทุกอย่างในประเทศไทย ทำร้ายผู้คน เยาวชน ไปจนถึงเด็กๆ จึงเสนอแนะให้จัดเวทีชุมนุมใน มช. จัดเวทีวิชาการ จัดกิจกรรมร้องเพลง ให้เป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษา และในการชุมนุม ควรเชิญคนแปลกหน้าที่รู้ปัญหานั้นๆ จริง เข้ามาพูด ถ้าเป็นคนมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เมื่อเปิดตัวก็รู้ว่าจะพูดอะไร อย่างไรโดยในส่วนของเชียงใหม่ เท่าที่คิดคร่าวๆ ตอนนึ้มีหลายปัญหาที่น่าสนใจ เช่น รถติด ผังเมือง คุกกลางเวียง การกระจุกตัวของมหาวิทยาลัย หมอกควัน และปี 2564 จะมีการเฉลิมฉลอง 100 ปีรถไฟกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ แต่กลับเป็น 100 ปีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ถือได้ว่าสังคมมีปัญหา มีเรื่องให้พูดมากมาย แต่หลายคน หลายภาคส่วนพูดไม่ได้ เมื่อนักเรียน นักศึกษาพูดได้ก็ต้องพูดเพื่อนำข้อมูลสู่สังคมให้รับรู้ในวงกว้างยิ่งขึ้น.