นอภ.ดอยสะเก็ด มอบเงินกองทุนพัฒนาชุมชนโดยรอบศูนย์จัดการขยะแบบครบวงจร ที่ทางเอกชนคืนเงินส่วนหนึ่งให้ชุมชน

นอภ.ดอยสะเก็ด มอบเงินกองทุนพัฒนาชุมชนโดยรอบศูนย์จัดการขยะแบบครบวงจร ที่ทางเอกชนคืนเงินส่วนหนึ่งให้ชุมชน

นอภ.ดอยสะเก็ด เป็นประธานมอบเงินกองทุนเพื่อพัฒนาชุมชนโดยรอบ ศูนย์จัดการขยะแบบครบวงจร อ.ดอยสะเก็ดที่ทางเอกชนคืนเงินส่วนหนึ่งให้กับชุมชน

      ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ นายอรรถชา กัมปนาทแสนยากร นายอำเภอดอยสะเก็ดเป็นประธานในการมอบเงินกองทุนเพื่อพัฒนาชุมชนโดยรอบ โครงการศูนย์จัดการขยะแบบครบวงจร อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งบริษัทแอคคอมและบริษัท วีพีเอ็น คอลเล็คชั่นส์จำกัดจัดสรรจากค่าจ้างดำเนินการ เพื่อมอบเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาชุมชนฯ ตามมติของคณะกรรมการสิทธิประโยชน์ได้ประชุมหารือไว้โดยเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 89,502.92 บาท

นายอำเภอดอยสะเก็ด กล่าวว่า สำหรับศูนย์จัดการขยะแบบครบวงจร อ.ดอยสะเก็ดแห่งนี้เริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2548 และแล้วเสร็จเมื่อปี 2551 โดยศูนย์จัดการขยะฯแห่งนี้ก่อสร้างด้วยงบประมาณ 465 ล้านบาท และบริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้เปิดและเปลี่ยนการดำเนินการมาหลายครั้ง

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทางบริษัทแอคคอมและบริษัทวีพีเอ็น คอลเล็กชั่นส์ จำกัดได้เข้ามาดำเนินการและได้เริ่มเก็บค่าธรรมเนียมในการกำจัดขยะตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-กันยายน 2560 มีปริมาณขยะที่เข้าสู่โรงงานจำนวน 24 ตัน ทางอบจ.เชียงใหม่คิดว่ากำจัดตันละ 800 บาท โดยอบจ.เชียงใหม่จ่ายให้กับผู้รับจ้างคือ บ.แอคคอมและวีพีเอ็นฯตันละ 650 บาท ส่วนอีก 150 บาทจะเข้ากองทุนของอบจ.เชียงใหม่

ทั้งนี้ทางบริษัทแอคคอมและวีพีเอ็นฯได้นำเงินจากค่าจ้างที่ได้รับจากอบจ.เชียงใหม่จำนวน 38 บาทต่อตันมาเข้ากองทุนเพื่อพัฒนาชุมชนโดยรอบศูนย์ฯ ซึ่งทางอำเภอดอยสะเก็ดได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาในการจัดสรรเงินดังกล่าวให้กับชุมชน ซึ่งอำเภอดอยสะเก็ดมีทั้งหมด 14 ตำบล 112 หมู่บ้าน แต่การจ่ายเงินให้กับชุมชนจะพิจารณาตามรัศมีพื้นที่ๆ ที่อยู่รอบโครงการว่าได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน และเงินที่มอบให้นั้นทางชุมชนก็จะไปนำเสนอเพื่อหามติจากชุมชนเองว่าจะเอาไปดำเนินการด้านใด

นายอรรถชา กล่าวด้วยว่า เนื่องจากขณะนี้ต้องยอมรับว่ายังเป็นช่วงแรกๆ ที่ท้องถิ่นต่างๆ ในอำเภอดอยสะเก็ดได้นำขยะเข้ามากำจัดที่ศูนย์จัดการขยะ โดย 11 ตำบลเทศบาลดำเนินการจัดเก็บขยะจากชุมชนเองและทำสัญญานำขยะมากำจัดที่ศูนย์จัดการขยะเพียง 3 ตำบล แต่อีก 8 ตำบลทางท้องถิ่นได้ทำสัญญาว่าจ้างให้เอกชนเป็นผู้รับเหมาขนและนำไปกำจัด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีขยะที่เข้าสู่ศูนย์ฯจริงๆ ยังไม่เต็มกำลังการผลิตที่สามารถรองรับได้ถึง 300 ตันต่อวัน.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่ระดม108หน่วยงาน “รวมใจเป็นหนึ่ง”ฟื้นฟูทำความสะอาดเมืองตั้งเป้าเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ขณะที่”ทักษิณ”ให้ 1 ล้านสนับสนุนกิจกรรม

จำนวนผู้