ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบนแจงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรสนองนโยบายรัฐบาล พร้อมจัดประชุมชี้แจงการบริหารจัดการห่วงโซ่ลำไยปี 62ไม่น้อยกว่า 3 พันล้านบาท สนับสนุนสินเชื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.62 ที่โรงแรมเมอร์เคียวเชียงใหม่ นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชกาจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงการบริหารจัดการห่วงโซ่ลำไย (Value chain Financing) ปี 2562 ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบนจัดขึ้น
นายดำรงชัย เดชาธิคม ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน กล่าวว่า ในปี 2562 ธนาคารมีมาตรการแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ในการ แก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีฐานะที่มั่นคง ยั่งยืน โดยมีมาตรการต่างๆ ออกมาสนับสนุน
ประกอบด้วย 1. มาตรการการสนับสนุนสินเชื่อให้ลูกค้าเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย 1,500 ล้านบาท กลุ่มลูกค้าเกษตรกร 3,500 ล้านบาท และกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ SMEเกษตร 2,000 ล้านบาท 2. มาตรการด้านการประกันภัยพืชผล 2.1 โครงการประกันภัยข้าวนาปี พื้นที่เอาประกันภัยทั่วประเทศ 30 ล้านไร่ แยกเป็น ลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 28 ล้านไร่ เกษตรกรทั่วไปไม่เกิน 2 ล้านไร่ อัตราค่าเบี้ยประกันภัย 85 บาท/ไร่ (ไม่รวมอากรและภาษี) รัฐบาลอุดหนุนเบี้ยประกัน 51 บาท/ไร่ ธ.ก.ส.อุดหนุน 34 บาท/ไร่ สำหรับลูกค้าเงินกู้ ที่ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 คุ้มครองภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ 1.ภัยน้ำาท่วม/ฝนตกหนัก 2.ภัยแล้ง/ฝน แล้ง 3.ลมพายุ/พายุใต้ฝุ่น 4.ภัยอากาศหนาว/น้ำค้างแข็ง 5.ลูกเห็บ 6.ไฟไหม้ 7.ช้างป่า วงเงินคุ้มครอง 1,260 บาท/ไร่ ภัยจากศัตรูพืช/โรคระบาด วงเงินคุ้มครอง 630 บาท/ไร่ กำหนดระยะเวลารอคอย 7 วัน เกษตรกรสามารถติดต่อขอจัดทำประกันภัยได้ตั้งแต่วันที่ ครม.มีมติให้ความเห็นชอบ จนถึง 30 มิ.ย. 2562
นอกจากนี้ลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส.และเกษตรกรทั่วไป สามารถจัดทำประกันเพิ่มเติม ตามความสมัครใจ พื้นที่รวมไม่เกิน 5 ล้านไร่ ค่าเบี้ยประกันแบ่งตามพื้นที่เป็น 3 ระดับความเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงต่ำ 5 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงกลาง 15 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงสูง 25 บาท/ไร่ วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติ 7 ภัย 240 บาท/ไร่ ภัยจากศัตรูพืช/โรคระบาด 120 บาท/ไร่ 2.2 โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 พื้นที่เอาประกันภัยทั่วประเทศ 3 ล้านไร่ แยกเป็นลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 2.8 ล้านไร่ เกษตรกรทั่วไปไม่กิน 0.2 ล้านไร่ อัตราค่าเบี้ย ประกันภัย 59 บาท/ไร่ (ไม่รวมอากรและภาษี) รัฐบาลอุดหนุน 35.40 บาท/ไร่
สำหรับลูกค้า ธ.ก.ส.ที่กู้เงิน ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 ธ.ก.ส.อุดหนุน 23.60 บาท/ไร่ คุ้มครองภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ 1.ภัยน้ำท่วม/ฝนตกหนัก 2.ภัยแล้ง/ฝนแล้ง 3.ลมพายุ/พายุใต้ฝุ่น 4.ภัยอากาศหนาว/น้ำค้างแข็ง 5.ลูกเห็บ 6.ไฟไหม้ 7.ช้างป่า วงเงินคุ้มครอง 1,500 บาท/ไร่ ภัยจากศัตรูพืช /โรคระบาด วงเงินคุ้มครอง 750 บาท/ไร่ กำหนดระยะเวลารอคอย 7 วัน ระยะเวลาการซื้อประกันรอบ 1 (ข้าวโพดฯ ฤดูฝน) ตั้งแต่วันที่ครม.มีมติให้ความเห็นชอบถึง 31 พ.ค.2562 รอบ 2 (ข้าวโพดฯ ฤดูแล้ง) ตั้งแต่ 1 ต.ค.2562 จนถึง 15 ม.ค.2563
นอกจากนี้ลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส.และเกษตรกรทั่วไป สามารถจัดทำประกันเพิ่มเติมตามความสมัครใจ พื้นที่รวมไม่เกิน 3 แสนไร่ ค่าเบี้ยประกันแบ่งตามพื้นที่เป็น 3 ระดับความเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงต่ำ 3 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงกลาง 10 บาท/ไร่ พื้นที่เสี่ยงสูง 23 บาท/ไร่ วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติ 7 ภัย 240 บาท/ไร่ ภัยจากศัตรูพืช/โรคระบาด 120 บาท/ไร่ 2.3 โครงการประกันภัยพืชผลลำไยจากภัยแล้ง โดยใช้ค่าดัชนีฝนแล้ง (ตรวจวัดด้วยดาวเทียม) สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ปีการผลิต 2562 คุณสมบัติ เป็นเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ที่กู้เงินปลูกลำไย ในพื้นที่เอาประกัน 24 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ อัตราค่าเบี้ยประกันภัยอัตราร้อยละ 2.99 ของเงินกู้วัตถุประสงค์เพื่อปลูกลำไย โดยเริ่มต้นวงเงินกู้สำหรับการประกันภัยที่ 10,000 บาท แต่ไม่เกินวงเงินกู้วัตถุประสงค์เพื่อปลูกลำไยระยะเวลาคุ้มครอง 1 มี.ค.2562 – 30 เม.ย.2562
ผู้อำนวยการธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน กล่าวอีกว่า ทั้งนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 1,050 ราย วงเงินเอาประกันภัย 18,050,000 บาท โดย ธ.ก.ส.และบริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ดูแลเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ประสบภัยแล้งโดยจ่ายเงินชดเชยเพื่อบรรเทา ปัญหาจากภัยแล้ง ในปี 2562 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23 เม.ย.2562 จำนวน 584 ราย วงเงินชดเชย 914,700 บาท และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2562 จำนวน 873 ราย วงเงินชดเชย 2,407,800 บาท
นอกจากนั้น ธ.ก.ส.ยังมีมาตรการส่งเสริมการออม โดยธ.ก.ส.ระดมเงินทุนด้วยการส่งเสริมเงินออม บัญชีออมทรัพย์ทวีโชค หรือเงินออม สมุดเล่มสีแดง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ ธ.ก.ส. จัดทำขึ้นเพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรลูกค้าและประชาชนทั่วไป ได้ร่วมออมเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต โดยสามารถออมสะสมได้โดยฝากจนครบ 2,000 บาท และคงเหลือในบัญชีติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป ได้รับสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลในระดับจังหวัดปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือน กรกฎาคม และเดือนมกราคม และจะมีการจับรางวัลรวมในระดับประเทศอีกปีละครั้ง และยังมีการสนับสนุน โครงการส่งเสริมวินัยการออมเพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีเงินออม ร่วมกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) โดยรับสมัครสมาชิกใหม่และรับชำระเงินออมงวดถัดไปผ่านสาขาทั่วประเทศ และยังมีผลิตภัณฑ์ของ ธ.ก.ส. คือกองทุนทวีสุข ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ช่วยส่งเสริมการออมให้กับเกษตรกร และช่วยสร้างหลักประกันให้กับชีวิตในยามชรา
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ยังมีมาตรการสนับสนุนสินเชื่อ เพิ่มสภาพคล่องผู้ประกอบการลำไย ปีการผลิต 2562 ในพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ และแม่ฮ่องสอน มีลูกค้าจำนวน 755,709 ราย สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรไปแล้ว จำนวน 12,473 ล้านบาท และในปีบัญชี 2562 ธ.ก.ส. ได้เตรียมวงเงินการจ่ายเงินเชื่อจำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท คาดว่าจะรองรับปริมาณลำไยสด ได้ปริมาณไม่น้อยกว่า 200,000 ตัน
โดยมีโครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องสำหรับผู้ประกอบการลำไย ปี 2562 ประกอบด้วย 1. สินเชื่อ SME เกษตร เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเกษตรที่ดีให้มีความเข้มแข็งและเป็นตลาด รองรับผลผลิตทางการเกษตร อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี 2. สินเชื่อสนับสนุนด้านการเงินตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม (Value Chain Financing) สำหรับรวบรวมลำไยเพื่อแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งและอบแห้งเนื้อสีทอง รวมทั้งรวบรวม จำหน่ายผลผลิต อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นตามอัตรา MLR และ MRR ของธนาคาร 3. สินเชื่อ Trade Finance เป็นสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการนำเข้าและส่งออกตามความจำเป็นของธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยตามอัตรา MLR และ MRR ของธนาคารซึ่งผู้ที่สนใจก็สามารถติดต่อขอสินเชื่อได้ที่ธ.ก.ส.ทุกสาขาใกล้บ้าน.