ธ.ก.ส.ร่วมกับคปภ. เปิดประกันภัยลำไย นำร่อง 24 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

ธ.ก.ส.ร่วมกับคปภ. เปิดประกันภัยลำไย นำร่อง 24 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่

- in headline, การศึกษา-เกษตรกร

          ธ.ก.ส.จับมือคปภ.และบริษัทประกันภัยเครือข่ายพันธมิตร เปิดประกันภัยลำไย สร้างภูมิคุ้มกันให้กับ เกษตรกรชาวสวน หวังลดความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้ง นำร่องในพื้นที่ 24 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่        

วันที่ 20 ก.พ.62 ที่โรงแรมเมอร์เคียว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นางสาววรรณภา ฤกษนันทน์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายเกตโกมล ไพรทวีพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจประกันภัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ,นายชญณา ศิริภิรมย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจาก บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ จากบริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ,นายประสงค์  สังวาลย์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันเปิดตัวกรมธรรม์ประภัยภัยพืชผลลำไยจากภัยแล้ง โดยใช้ดัชนีฝนแล้ง ตรวจผ่านดาวเทียม สำหรับรายย่อย (ไมโครอิน ชัวรันส์) โดยมีเจ้าหน้าที่ของธ.ก.ส.และส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังการชี้แจง

นายดำรงชัย  เดชาธิคม ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)  กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อน ในทุกภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยได้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง อุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร การประกันภัยพืชผล จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนจากการเกิดภัยพิบัติ เพราะเกษตรกรสามารถนำเงินค่าชดเชย ที่ได้รับจากการประกันภัยพืชผลไปลงทุนในรอบการเพาะปลูกใหม่ได้ โดยในปีการผลิต 2562 ธ.ก.ส. ร่วมกับ บริษัทซมโปะ ประกันภัยฯ และบริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ฯ จัดทำโครงการประกันภัยพืชผลลำไยจากภัยแล้ง โดยใช้ค่าดัชนีฝนแล้ง ตรวจวัดด้วยดาวเทียม เป็นเกณฑ์การประเมินความเสียหาย

ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรได้รับความคุ้มครองกรณีเกิดปัญหาภัยแล้ง และสร้างความเสียหายต่อการผลิต ช่วยสร้างทางเลือกในการบริหารจัดการความเสี่ยง และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินการใน 24 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จอมทอง แม่แจ่ม เชียงดาว  ดอยสะเก็ด แม่แตง แม่ริม สะเมิง ฝาง แม่อาย พร้าว สันป่าตอง สันกำแพง สันทราย หางดง ฮอด ดอยเต่า   อมก๋อย สารภี  เวียงแหง ไชยปราการ แม่วาง แม่ออน และดอยหล่อ เป้าหมายเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 500 ราย

สำหรับคุณสมบัติผู้เอาประกัน ต้องเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส.ในพื้นที่ดำเนินงานการประกันภัยที่กู้เงินเพื่อ ปลูกลำไย กำหนดวงเงินในส่วนที่ขอเอาประกันภัยขั้นต่ำ 10,000 บาท แต่ไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่กู้เพื่อเพาะปลูก ลำไย อัตราค่าเบี้ยประกัน 2.99% ของวงเงินในส่วนที่ขอเอาประกันภัย (รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ระยะเวลาในการวัดปริมาณน้ำฝนหรือระยะเวลาคุ้มครอง ตั้งแต่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2562 รวม 61 วัน

ทั้งนี้การวัดค่าปริมาณน้ำฝนในแต่ละวันตลอดระยะเวลาประกันภัย จะอ้างอิงข้อมูลจากระบบดาวเทียม GSMaP ผ่าน Website ของ ธ.ก.ส. กรณีเกิดภาวะฝนแล้งได้รับชดเชยในอัตราร้อยละ 9 ของวงเงินในส่วนที่ของเอาประกันภัย และกรณีภัยแล้งรุนแรงได้รับชดเชยร้อยละ 12 ของวงเงินในส่วนที่ของเอาประกันภัยรวมอัตราค่าชดเชยไม่เกินร้อยละ 21 ของวงเงินในส่วนที่ของเอาประกันภัย โดยเปิดรับประกันภัยแล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ ธ.ก.ส. สาขาในพื้นที่นำร่องดังกล่าว

ส่วนทางด้านนายประสงค์  สังวาลย์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ธ.ก.ส.ในจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งหมด 36 สาขาและมีสัญญาปลูกลำไยอยู่กว่า 53,600 สัญญา โดยอ.สารภีมีสัญญาการปลูกลำไยมากที่สุด 6 พันสัญญา และที่น้อยที่สุดคืออ.เวียงแหง 7 สัญญา ถ้าจะทำสัญญาประกันภัยก็สามารถทำได้หมดทุกสัญญา เพราะมีวงเงินอยู่ 6,600 ล้านบาท.

You may also like

ททท. จัดใหญ่เอาใจคนรักเนื้อและชาวแคมป์มาแอ่วเหนือรับลมหนาวกับงาน “Amazing Chiang Mai Meat and Camp 2024” ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคมนี้ ที่สวนอบจ.เชียงให

จำนวนผู้