ถก”2 ทศวรรษกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น”หนุนพลเมืองเข้มแข็งกดดันรัฐได้

ถก”2 ทศวรรษกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น”หนุนพลเมืองเข้มแข็งกดดันรัฐได้

เชียงใหม่ / เสวนาวิชาการ “2 ทศวรรษการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นฯ” หลายฝ่ายชี้ อปท.ไม่เข้มแข็ง ซ้ำถูกดองไม่ให้เลือกตั้งร่วม 6 ปี ส่งผลให้การพัฒนาชะงัก แนะภาคพลเมืองหรือประชาชนต้องเข้มแข็งมากกว่านี้ เพื่อกดดันให้มีการกระจายอำนาจ-เพิ่มคุณภาพชีวิตเมื่อวันที่ 28 ต.ค.62 ที่ห้องประชุม 1 อาคารรวมวิจัยและบัณฑิตศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางสถาบัน Lannaissanee ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จัดเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “2 ทศวรรษการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น:บทบาทของภาคพลเมือง กับการปกครองท้องถิ่นไทยในทศวรรษหน้า” โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ (สำนักงานประเทศไทย) และมีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 120 คนวิทยากรร่วมนำเสวนา ประกอบด้วยผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักการเมือง และนักวิชาการระดับชาติ อาทิ ดร.นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ นายก อบจ.ลำพูน, นายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน, นายไพรัช ใหม่ชมภู รองนายก อบจ.เชียงใหม่, นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีต รมว.สำนักนายกฯ ดูแลการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น, ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท, อ.ชำนาญ จันทร์เรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่, ผศ.ดร.ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ หน.สำนักวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มช., รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ ผู้เชี่ยวชาญการคลัง-การบริหารท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ.บรรจง ฟ้ารุ่งสาง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฯลฯ และมี ศ.ดร.ธนศวร์ เจริญเมือง จากสำนักวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ฯ มช. เป็นผู้ดำเนินรายการศ.ดร.ธนศวร์  กล่าวว่าการเสวนาครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ภาคท้องถิ่น ภาคราชการ ตลอดจนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน โดยมุ่งพิจารณาปัญหาสำคัญ 5 ข้อ คือ 1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร และส่งผลต่อการปกครองท้องถิ่นไทยอย่างไรในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา 2 )กฎหมายทั้ง 2 ฉบับสะท้อนภาพและส่งผลต่อการเมืองการปกครองไทยในระดับชาติอย่างไร 3) ภาคพลเมืองได้รับผลกระทบและมีลักษณะบทบาทอย่างไร ตลอดช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา 4) การเมืองระดับชาติ การปกครองท้องถิ่น และพลเมืองไทยจะพัฒนาต่อไปในทิศทางใด 5) เสนอข้อคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยในทศวรรษหน้าซึ่งจากความคิดเห็นของหลายๆ คน หลายๆ ภาคส่วน ก็ยอมรับว่าการปกครองท้องถิ่นของไทยยังไม่เข้มแข็ง แต่ก็อยากให้การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไป อย่าใช้อำนาจ และวันนี้คนไทยจำนวนมากมีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ และพบว่าบ้านเมืองของประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สะอาด น่าอยู่ สวยงาม มีความปลอดภัยสูง ผังเมืองเป็นระเบียบ แบ่งโซนชัดเจน ระหว่างที่อยู่อาศัย ร้านค้า โรงงาน สถานที่ราชการ มีสวนสาธารณะมากมาย ระบบคมนาคมขนส่งดีเยี่ยม ขณะที่ไทยยังล้าหลัง เป็นเพราะเหตุใดและในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นไปได้ไหมว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นจะเลื่อนออกไปอีก หลังจากที่เราไม่มีการเลือกตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2557 เป็นต้นมา ทำให้มีแต่ผู้บริหารรักษาการณ์ ส่งผลให้การพัฒนาท้องถิ่นในหลายๆ ด้าน ไม่ได้รับการสานต่อ ดังนั้นน่าจะถึงเวลาที่ภาคประชาชนต้องตื่นตัว และเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในช่วงที่ผ่านมา.

You may also like

SUN รุกตลาดต่างประเทศ มุ่ง Go West ร่วมงาน Americas Food & Beverage Show & Conference 2024

จำนวนผู้