ตั้งศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิตอลอุตฯเหนือ เชื่อมอุตสาหกรรมกับฐานข้อมูล

ตั้งศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิตอลอุตฯเหนือ เชื่อมอุตสาหกรรมกับฐานข้อมูล

- in headline, เศรษฐกิจ

วิทยาลัยศิลปะสื่อฯมช. ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ตั้งศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิตอลอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพื่อเชื่อมโยงความต้องการระหว่างอุตสาหกรรมกับฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนการให้บริการและตัดสินใจของผู้บริหาร

ที่ลานน้ำพุวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่พร้อมด้วยรศ.ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รักษาการแทน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล คณบดีวิทยาลัยศิลปะสื่อ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.นภาพร รีวีระกุล รองคณบดีฝ่ายบริหารวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร.กอบกิจ อิสระชีววัฒน์ รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดศูนย์บริการอุตสาหกรรมดิจิตอล DISC Digital Industry Service Center ภายใต้โครงการศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มีพันธกิจหลักในการมุ่งมั่นนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ ไปช่วยเหลือชุมชนและอุตสาหกรรมที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของภาคเหนือ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างการบูรณาการ ระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดิจิตอลในพื้นที่ภาคเหนือ มาบูรณาการให้เข้ากับอุตสาหกรรมอื่นที่มีศักยภาพ เพื่อให้อุตสาหกรรมดิจิตอลสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง

การจัดตั้งศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิตอลอุตสาหกรรมภาคเหนือ(DISC) นี้ขึ้น เพื่อสามารถเชื่อมโยงความต้องการระหว่างอุตสาหกรรมและรวบรวมฐานข้อมูลของอุตสาหกรรม ที่ต้องเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และสนับสนุนการให้บริการ ของศูนย์บริการเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่ออุตสาหกรรม(ภาคเหนือ)

นอกจากนี้ ยังจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาผู้ประกอบการใหม่ (Startup) ผู้ประกอบการชุมชนและบุคคลทั่วไป เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิตอลเพื่อช่วยลดช่องว่าง(Gap) ระหว่างอุตสาหกรรมดิจิตอลและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพอย่างเป็นรูปธรรม และผลกระทบเชิงบวกในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในวิสาหกิจรวมทั้งการสร้างกิจกรรมการนำร่องในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชนจำนวน 100 ราย จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าในอนาคตการเติบโตของผู้ประกอบการดิจิตอลเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ของจังหวัดเชียงใหม่

อย่างที่ทราบกันดีว่ายุคของ Disruptive Technology ที่นำเอาเทคโนโลยี digital มาผนวกกับธุรกิจเดิมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดเช่น FinTech คือการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาผนวกกับการเงินและการธนาคาร TravelTech คือการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาผนวกกับการท่องเที่ยวหรือแม้กระทั่ง AgriTech คือการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาผนวกกับเรื่องราวของการเกษตรซึ่ง จังหวัดเชียงใหม่จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจในยุคใหม่เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ยังได้มีการมอบรางวัล Smart City Junior Planner ให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขัน นักวางแผนเมืองอัจฉริยะ โดยเป็นนักเรียนที่มาจากโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกิจกรรมนี้อยู่ภายใต้โครงการ Digital Lanna อีกด้วย.

You may also like

อว. นำทีมนักวิจัยและวิศวกร ร่วมประชุมทวิภาคีไทย-จีน ที่ฉางชุน เดินหน้ายกระดับความร่วมมือดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์อวกาศ เทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง ฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน

จำนวนผู้