“ดาว์พงษ์” เปิดคิกออฟ 1 มิ.ย.ยึดคืนป่าถูกบุกรุก ตั้งเป้าปีครึ่ง 1.5 ล้านไร่

“ดาว์พงษ์” เปิดคิกออฟ 1 มิ.ย.ยึดคืนป่าถูกบุกรุก ตั้งเป้าปีครึ่ง 1.5 ล้านไร่

เชียงใหม่ (20 พ.ค.58) / “ดาว์พงษ์” KICK OFF 1 มิ.ย.ยึดคืนพื้นที่ป่าถูกบุกรุกปลูกยางพาราทั่วประเทศ ย้ำป่าถูกถางปีละ 2.7 แสนไร่ ได้คืนแค่ 4-5 หมื่นไร่ ตั้งเป้าถึงสิ้นปี 59 คืนป่า 1.5 ล้านไร่

พล.อ.ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยก่อนการประชุมมอบนโยบายการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินป่าไม้ (การตัดไม้ยางพารา)  ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่  เมื่อบ่ายวันที่ 20 พ.ค. ว่า ขณะนี้ต้องเร่งเสริมสร้างความมั่นใจทั้งวิธีการ แนวทาง และเป้าหมาย แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยเฉพาะการเจอกับกลุ่มผู้มีอิทธิพล อันเป็นสาเหตุที่ต้องต้องประชุมร่วมกันทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ทหาร ป่าไม้ ตัวแทนกระทรวงทรัพยากรธรรมขาติและสิ่งแวดล้อมทุกจังหวัด

เป้าหมายการปฏิบัติงานอยู่ใน 4 พื้นที่หลัก ซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ ที่ถูกบุกรุกปลูกยางพารา ในปีงบประมาณ 2550 นี้ อยู่ในเขตภาคเหนือ 142,000 ไร่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 71,600 ไร่, ภาคกลาง 77,300 ไร่ และภาคใต้ 109,200 ไร่ รวมทั้งสิ้น 400,100 ไร่ ทั้งนี้จะมุ่งเข้าไปยึดคืนในพื้นที่ที่มีการบุกรุกโดยนายทุนก่อน ถ้าเป็นราษฎรรายย่อย จะยังไม่ไล่ออกจากพื้นที่ หรือถ้าเจ้าหน้าที่มีข้อมูลว่าชาวบ้านเป็นนอมินีให้นายทุนก็จะดำเนินการทันทีเช่นกัน โดยจะเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังพร้อมกันตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. เป็นต้นไป

“จริงๆ ที่ผ่านมาก็เริ่มดำเนินการไปแล้ว ตั้งแต่รัฐบาล คสช.เข้ามา แต่ยังพบว่าพื้นที่ป่าลดลงเรื่อยๆ ทั่วประเทศถูกบุกรุกปีละ 270,000 ไร่ ส่วนพื้นที่บุกรุกป่าสะสมทั่วประเทศ 4-5 ล้านไร่ แต่ได้คืนมาแค่ปีละ 40,000 กว่าไร่เท่านั้น  ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ถูกบุกรุก ดังนั้นจึงมีเป้าหมายยึดคืนสวนยางพาราที่บุกรุกทั้งหมดกว่า 400,000 ไร่ หากก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตามคืน  6-7 เดือนที่เหลือของปีนี้ และตลอดปี 2559 จึงตั้งเป้าต้องเอาป่าคืนประเทศให้ได้ 1.5 ล้านไร่” พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวและว่า

หมดเวลานายทุน นายหน้า เข้ามาอบโกยทรัพยากรของประเทศ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงแค่ภัยแล้ง กับน้ำท่วม ยังรวมถึงสถานการณ์หมอกควันที่เกิดขึ้นด้วย จึงต้องทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังในพื้นที่ ซึ่งกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ จัดกำลังร่วมกันกับพื้นที่ มีหน่วยงานยุติธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการกับคนจน ถ้าเป็นป่าต้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติ ก็จะขอคืนทันที และอาจจัดสรรพื้นที่อื่นๆ ที่ยึดคืนมาให้ทำกินได้บ้าง และสำหรับพื้นที่ยึดคืน หากเป็นต้นยางขนาดเล็กจะตัดทิ้งทั้งหมด ถ้าเป็นต้นยางขนาดใหญ่ กรีดน้ำยางได้แล้ว ในทางวิชาการต้องตัดแถวเว้นแถว ไม่ให้ป่าโล้นเตียนในทันที ส่วนต้นยางที่มีอายุมาก หมดน้ำยางแล้ว ก็คงต้องปล่อยไว้ก่อน แล้วค่อยๆ นำพืชอื่นๆ มาปลูกทดแทน เป็นปฏิบัติการฟื้นฟูที่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร.

 

You may also like

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจัดงานมหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนพื้นที่สูง สู่ผู้ประกอบการสังคมรุ่นใหม่ “ Tribal Product Expo 2024

จำนวนผู้