ชาวห้วยโป่งสามัคคีร่วมใจปลูกผักอินทรีย์ ขจัดสารเคมีปนเปื้อนในเลือด

ชาวห้วยโป่งสามัคคีร่วมใจปลูกผักอินทรีย์ ขจัดสารเคมีปนเปื้อนในเลือด

ลำพูน – ชาวบ้านห้วยโป่งสามัคคี อ.ลี้ ผวาพบสารเคมีปนเปื้อนในเลือดสูง ร่วมมือกับ สสส.ทำโครงการชุมชนน่าอยู่ ปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคเอง พร้อมเปิดตลาดผักอินทรีย์ เตรียมจำหน่ายเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคทุกวันศุกร์ เริ่ม 1 ธ.ค.เป็นต้นไปนายธนฤกติ ด่านศิริสกุล ผู้รับผิดชอบโครงการชุมชนน่าอยู่ บ้านห้วยโป่งสามัคคี หมู่ 11 ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน เปิดเผยว่าจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชน โดยคณะกรรมการหมู่บ้านห้วยโป่งสามัคคี และกลุ่ม อสม.รวมถึงข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ตืน เมื่อเดือนมกราคม 2560 จำนวน 150 ครัวเรือน จากทั้งหมด 401 ครัวเรือน พบว่าทั้ง 150 ครัวเรือน ใช้สารเคมีกับพืช เช่น ข้าว หอมแดง กระเทียม ข้าวโพด ลำไย และผักชนิดต่างๆ ที่ปลูกไว้กินและขาย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีเฉลี่ย 25,308 บาท/ปี/ครัวเรือน เมื่อรวมทั้งหมู่บ้าน ก็มีค่าใช้จ่ายซื้อสารเคมีถึง 3,796,200 บาท/ปี ส่งผลให้ชาวบ้านเกิดปัญหาด้านสุขภาพ มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 89 ราย โรคเบาหวาน 98 ราย โรคมะเร็ง 2 ราย กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันและเบาหวาน 320 ราย มีสารพิษหรือสารเคมีในเลือด 250 ราย ทางผู้นำชุมชนบ้านห้วยโป่งสามัคคี จึงได้ร่วมกันหาทางออก โดยขอรับการสนับสนุนจากสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำโครงการชุมชนน่าอยู่ หมู่บ้านห้วยโป่งสามัคคี และจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนที่มาจากตัวแทนของทุกกลุ่ม และองค์กรในชุมชน จำนวน 60 คน เพื่อดำเนินกิจกรรมผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า เบื้องต้นได้ร่วมกับทาง รพ.สต.แม่ตืน สุ่มตรวจหาสารเคมีในเลือดของกลุ่มเป้าหมายหลัก 150 คน เป็นนักเรียน 50 คน และชาวบ้าน 100 คน ผลปรากฏว่าอยู่ในระดับปลอดภัยแค่ 4 คน ที่เหลืออยู่ในระดับเสี่ยง และไม่ปลอดภัย ทั้งที่กลุ่มนักเรียนไม่ใช่เกษตรกรที่คลุกคลีกับสารเคมีโดยตรง แสดงให้เห็นว่ามีการได้รับผ่านการบริโภคด้วยเมื่อผลเลือดเป็นตัวยืนยันชัดเจน ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว และในการจัดเวทีประชาคมเพื่อชี้แจงสถานการณ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นให้กับคนในชุมชน ก็มีมติชุมชนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ไม่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตประจำวัน ด้วยการดำเนินโครงการปลูกผัก แบบไม่ใช้สารเคมี และให้ความรู้เพื่อลดการใช้สารเคมีลดลงด้านนายทนงค์ ใจทัน กำนัน ต.แม่ตืน กล่าวเสริมว่า ก่อนหน้านี้การรณรงค์ให้ปลูกผักปลอดสารเคมีในพื้นที่ เป็นเรื่องยากมาก กระทั่งผลเลือดมีสารเคมีปนเปื้อน ชาวบ้านกว่า 80% ก็ลุกขึ้นมาร่วมมือกันอย่างจริงจัง เก็บป้ายโฆษณาขายปุ๋ย ขายยา ที่เรียงรายตลอดเส้นทางในหมู่บ้านกว่า 50 ป้ายออก และเน้นปลูกทุกอย่างที่อยากกิน กินทุกอย่างที่ปลูก มีพืชผักสวนครัวเป็นหลัก เมื่อปลูกบริโภคได้ระยะหนึ่ง ผลผลิตก็เหลือขาย ทางสภาผู้นำชุมชนจึงได้วางแผนทำเปิดตลาดผักอินทรีย์ วิถีชุมชน บริเวณทางหลวงหมายเลข 106 ที่ตัดผ่านหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านใกล้เคียงและผู้สัญจรไปมา มีทางเลือกในการบริโภคผักปลอดสารพิษ“มีการทำพิธีเปิดตลาดผักอินทรีย์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 26 พ.ย.60 ที่ผ่านมา โดยมีนายดวงจันทร์ จันทร์โอสถ ปลัดอำเภอลี้ เป็นประธานในพิธีเปิด  และจะเริ่มจำหน่ายทุกวันศุกร์ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 ธ.ค.60 เป็นต้นไป ซึ่งสาเหตุที่เลือกเปิดตลาดทุกวันศุกร์ เพราะข้าราชการในพื้นที่จำนวนมากมักจะกลับภูมิลำเนาช่วงวันหยุด จะได้แวะซื้อผักปลอดสารกลับบ้าน” กำนัน ต.แม่ตืน กล่าวและว่ากิจกรรมที่บ้านห้วยโป่งสามัคคี ถือเป็นการนำร่อง และจะมีการตรวจเลือดหาสารเคมีปนเปื้อนซ้ำอีกครั้ง ในช่วงงานมหกรรมผักพื้นบ้าน อาหารปลอดภัย ที่จะจัดขึ้นช่วงใกล้ปิดโครงการ เพื่อให้มีผลเปรียบเทียบ ขณะเดียวกันยังวางแผนกระจายการปลูกผักปลอดสารไปสู่ทั้งตำบล แต่ช่วงแรกอาจทำเพิ่มอีก 3 หมู่บ้านที่อยู่ในเขต ทต.แม่ตืนก่อน คือ หมู่ 3, 12 และหมู่ 16.

 

 

 

You may also like

อบจ.เชียงใหม่จับมือภาคีเครือข่าย จัดงาน “วันสิ่งแวดล้อมไทย ประจำปี ภายใต้แนวคิด “รักษ์ป่า รักษ์ดิน รักษ์สิ่งแวดล้อม”

จำนวนผู้