“บ้านคลอง”ลดอุบัติเหตุทางถนน จัดการจุดเสี่ยง-สร้างความปลอดภัยในชุมชน

“บ้านคลอง”ลดอุบัติเหตุทางถนน จัดการจุดเสี่ยง-สร้างความปลอดภัยในชุมชน

ายงานสถิติคดีอุบัติเหตุจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ระหว่างปี พ.ศ.2542 – 2552 มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย เฉลี่ยปีละ 20 คน/แสนประชากร ในขณะที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า ประเทศที่มีรายได้ประชาชาติสูง มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 10 คน/แสนประชากร และผลการศึกษาของกรมทางหลวงเมื่อปี 2550 ก็พบมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกรวมทั้งสิ้นปีละ 232,855 ล้านบาท หรือประมาณ 2.81% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ ส่งผลให้มีมติ ครม.เมื่อ 29 มิ.ย.2553 กำหนดให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของคนไทย ให้ต่ำกว่า 10 คน/แสนประชากร ณัฐพร ตั้งเจริญชัย ผู้ประสานงานโครงการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในชุมชนหรรษนันท์ 5 ต.บ้านคลอง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก เล่าว่า จากการสำรวจสถานที่เกิดอุบัติเหตุในชุมชนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะบนสะพานก่อนข้ามคลองชลประทาน บริเวณที่เชื่อมกับประตู 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว พบว่ามีมุมอับที่ทำให้ผู้สัญจรไปมาไม่สามารถมองเห็นรถที่กำลังขับมา จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุถี่ นับได้ 30 กว่าครั้ง/ปีสภาพที่เห็นบ่อยครั้งคือรถที่มาจากคันคลองชลประทาน ชนกับรถที่เร่งความเร็วขึ้นมาจากทางสโลป ลาดชัน  ยิ่งช่วงเช้า เที่ยง และเย็น คนใช้รถใช้ถนนจะเยอะเป็นพิเศษ ประกอบกับเส้นทางนี้เป็นทางเลี่ยงจากโรงเรียนชายเข้าเมือง บางครั้งจึงเกิดอุบัติเหตุหนัก รถยนต์ชนกับมอเตอร์ไซด์ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส สูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สิน รวมถึงระยะเวลาในการจราจรเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแต่ละครั้งทางผู้บริหารเทศบาลบ้านคลอง ซึ่งรับผิดชอบดูแลในจุดนี้ จึงได้หารือกันเพื่อหาทางออก และตัดสินใจเข้ารับการอบรมการจัดการจุดเสี่ยงในชุมชน กับวิทยากรของสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อศึกษาปัญหา และพัฒนามาตรการสร้างความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุในชุมชน“หลังจากเข้ารับการอบรมการจัดการจุดเสี่ยงในชุมชน ก็กลับมาทำลูกระนาดชะลอความเร็ว ถูกเด็กโวยวาย อ้างทางออกจากประตู 3 เชื่อมมายังสะพานข้ามคันคลองชลประทาน เป็นทางชันขึ้นสูง จำเป็นต้องเร่งความเร็ว พอทำลูกระนาด ทำให้เสียจังหวะการเร่งเครื่องยนต์ แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนรู้สึกชินมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับโดยอัตโนมัติว่าลูกระนาดดังกล่าว ช่วยลดอุบัติเหตุได้” ณัฐพร อธิบาย   นอกจากนี้ เทศบาลยังได้งบจากทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาติดตั้งไฟกระพริบบริเวณเชิงสะพาน และจัดให้มีไฟส่องสว่างตอนกลางคืนอย่างเพียงพอ ติดป้ายเตือน พร้อมทาสีสะพานสะท้อนแสงให้ผู้สัญจรผ่านไปมาสามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระยะหลังจึงห่างออกไปไม่ถึงปีละ 10 ครั้ง และยังลดระดับความรุนแรงลง เป็นเพียงการเฉี่ยวชนเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถึงกับบาดเจ็บสาหัสด้านชุมพล สุ่มนาค ประธานโครงการการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในชุมชนหรรษนันท์ 5 ต.เล่าว่า หลังจากแกนนำได้รับความรู้จากการอบรมจากวิทยากร ก็กลับมาประชุมกับชาวบ้านเพื่อวางแผนและกำหนดจุดเสี่ยงเพื่อทำการค้นหาข้อมูลทันที พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ต่อมาจึงจัดกิจกรรมอบรมความปลอดภัยทางท้องถนนให้กลุ่มแกนนำ และชาวบ้าน แล้วร่วมกันทำกิจกรรมแก้ไขจุดเสี่ยง-เสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน เช่น การทาสีสะพานข้ามคลองชลประทานให้มองเห็นชัดเจนจากระยะไกล“พอเราลุกขึ้นมาทำงานในจุดนี้อย่างจริงจัง ชาวบ้านก็ตื่นตัว มองเห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องร่วมมือกันป้องกันแก้ไข และเกิดคณะทำงานที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการวิเคราะห์จุดเสี่ยง มีข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่สำคัญคือเกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการแก้ไขจุดเสี่ยงได้อย่างสอดคล้องกับปัญหาในชุมชน รวมถึงปรับปรุงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย” ประธานโครงการ กล่าวย้ำผลลัพธ์ในเชิงสถิติ ไม่เพียงแค่ชาวชุมชนหรรษนันท์ 5 หรือชาวบ้านคลอง จำนวน 395 คนเท่านั้น ที่ได้รับประโยชน์จากการจัดการจุดเสี่ยงในชุมชน หากคนนอกชุมชน ที่อาศัยสัญจรผ่านไปมา เช่น นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ทั้งในเขตตำบลบ้านคลอง และนอกตำบล ยังพลอยได้รับประโยชน์อย่างถ้วนหน้า

You may also like

SUN ขับเคลื่อนนวัตกรรมเกษตรครบวงจร และจัดพิธีบวงสรวงพระพิรุณ ประจำปี 2567

จำนวนผู้