ชวนโหลดแอพพลิเคชั่นไลน์ Dustboy หรือเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในปัญหาหมอกควัน

ชวนโหลดแอพพลิเคชั่นไลน์ Dustboy หรือเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในปัญหาหมอกควัน

หอการค้าเชียงใหม่และมช. ชวนโหลดแอพพลิเคชั่นไลน์ Dustboy หรือเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในปัญหาหมอกควัน รวมถึงเฝ้าระวังและเตือนภัยแก่สาธารณะชนอย่างทันท่วงที

วันที่ 8 มี.ค.61 ที่โรงแรมมฮาร์โมไนซ์ ถ.ซุปเปอร์เชียงใหม่-ลำปาง ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่หอการค้าเชียงใหม่และภาคีเครือข่ายจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและเตือนภัยวิกฤตหมอกควัน” และแถลงข่าว “การใช้ดัชนีวัดคุณภาพอากาศภาคประชาชน (People AQI) โดยมีนางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และ รศ.นพ.อํานาจ อยู่สุข รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ นักศึกษาและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกันเป็นประธานกล่าวเปิด

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดตัว”การใช้ดัชนีวัดคุณภาพอากาศภาคประชาชน (People AQI) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ทางภาคการศึกษา และภาคเอกชนมองเห็นวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นและพยายามหาทางแก้ไขที่เป็นไปได้สูงสุด เพราะปัญหาหมอกควันจัดว่าเป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นต้นกำเนิดของสารมลพิษทางอากาศที่แฝงตัวอยู่กับอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทำให้เกิดหมอกควัน ฝุ่นละออง เถ้า เขม่าควันระบายสู่บรรยากาศ พบมากในช่วงฤดูแล้งของทุกปีระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม

มีการศึกษาออกมาชัดเจนว่าสาเหตุของการเกิดหมอกควัน มีหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ไฟป่า การเผาเศษพืชและเศษวัสดุการเกษตร การเผาขยะมูลฝอยจากชุมชน การเผาวัชพืชริมถนน  มลพิษจากอุตสาหกรรมและการเผาในชุมชนลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ สภาวะอากาศที่แห้งทําให้ฝุ่นละอองแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัยของประชาชน และการท่องเที่ยว 

จากปัญหาและสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ได้มีหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบได้ดําเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2559 รัฐบาลกําหนดให้แต่ละจังหวัดใช้กลไกประชารัฐในการแก้ไขปัญหา แต่แนวโน้มก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จได้ และไม่สามารถยืนยันได้ว่า จะไม่เกิดปัญหานี้ขึ้นในอนาคตอีกนานเท่าใด  สิ่งที่ตามมาเป็นผลกระทบได้แก่ผลกระทบทางด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งจากการวิจัยของนายแพทย์พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่มีอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดประมาณ 40 คนต่อประชากร 100,000 คน  ขณะที่ในภาคอื่นๆ มีอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเฉลี่ยประมาณ 20 คนต่อประชากร 100,000 คน  หากปัญหามลพิษทางอากาศยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผลและวนเป็นหางว่าวอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจผลกระทบของมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในปีที่มีหมอกควันมากกว่าปกติ มีส่วนทำให้รายได้เข้าสู่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวลดลงอย่างกะทันหันได้ ช่วงใดที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศ หากจำนวนผู้มาท่องเที่ยวลดลง ก็จะส่งผลภาวะทางเศรษฐกิจในจังหวัดลดลง รวมถึงผลกระทบต่อการจัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปพัฒนาในด้านอื่นๆ เพราะมุ่งเน้นหนักไปที่ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะจากหมอกควัน

จังหวัดได้กำหนดไว้ในใช่วงนี้เป็นระยะรับมือ หรือช่วงการห้ามเผาเด็ดขาด โดยที่ประชุมมีมติให้ประกาศช่วงเวลาแห่งการห้ามเผาเด็ดขาดของจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงวันที่ 1 มีนาคม 2561 ถึงวันที่ 20 เมษายน 2561 รวมระยะเวลา 51 วัน เป็นเรื่องที่ดีที่ทางภาคเอกชนเห็นด้วย ในการกำหนดมาตรการออกมา แต่หอการค้าคิดว่าควรมีมาตรการเสริมเพิ่มมากขึ้น

“หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่าควรจะเสริมให้ความรู้กับประชาชนให้ตระหนัก รู้เท่าทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น ในลักษณะ “การใช้ดัชนีวัดคุณภาพอากาศภาคประชาชน (People AQI)” โดยใช้เครื่องมือทางซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่จะสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและเตือนภัยวิกฤตหมอกควันให้เกิดขึ้น ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหอการค้าฯ จะได้มีส่วนแก้ไขปัญหาที่กระทบกับสังคม และสุขภาพในพื้นที่ โดยวิธีการจะติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา (Dustboy) เป็นจำนวน 5 สถานี ทำการเก็บข้อมูลปริมาณฝุ่น PM10 และ PM2.5 และข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่อุณหภูมิและ ความชื้น เพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงอันเนื่องจากปริมาณฝุ่นที่ตรวจวัดและเผยแพร่ข้อมูลแก่เครือข่ายและสาธารณะชน”ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าว

ด้านรศ.ดร. เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล หัวหน้าโครงการการติดตามและประเมินภาวะหมอกควันเพื่อการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างต่อเนื่อง โดยชี้ให้เห็นเป็นประเด็นปัญหา ซึ่งตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการจัดสัมมนาเพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาทำให้เกิดการตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามขณะนี้ถือว่าสภาพปัญหาเราแก้ไขได้ส่วนหนึ่ง แต่มีปัจจัยปัญหาที่นอกเหนือการควบคุมได้แก่ การเผาพื้นที่ผ่านจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงในพื้นที่ของภาคเหนือบางส่วน สังเกตได้จาก Hot Spot ที่ปรากฏขึ้นมา

“ผมคิดว่าปัญหาหมอกควัน ประการสำคัญเกิดจากเศษวัสดุการเกษตร และการเผาไหม้ไฟป่า ดังนั้นการแก้ไขปัญหาระยะยาวและมีความยั่งยืนต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน หรือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานการบริหารจัดการ ด้านบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ด้านสาธารณูปโภค/ขยะ ด้านอาชีพรายได้ คุณภาพชีวิต หนี้สิน ด้านศักยภาพประชากร การศึกษา การแปรรูปผลผลิต และการสร้างมูลค่าของผลผลิต  การวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลข้อมูลร่วมกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม จัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการป่าต้นน้ำแบบองค์รวมแก้ไขปัญหาหมอกควัน เพื่อให้เห็นการแสดงถึงข้อมูลประกอบการตัดสินใจและการขับเคลื่อนการจัดการป่าต้นน้ำแบบยั่งยืนและ 4. การสร้างการรับรู้ การตระหนักถึงปัญหาของประชาชน”หัวหน้าโครงการการติดตามและประเมินภาวะหมอกควันเพื่อการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

โครงการที่กำลังเกิดขึ้นคือการตรวจวัดและรายงานสถานการณ์ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา (Dustboy) เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในปัญหาหมอกควัน เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและเตือนภัยแก่สาธารณะชนอย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตหมอกควันโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อตรวจวัดและติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศของปริมาณฝุ่น PM10 และ PM2.5 โดยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา รวมถึงเพื่อสื่อสารข้อมูลและเตือนภัยถึงสภาวะความรุนแรงของปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้แก่เครือข่ายและสาธารณะชน และเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลด้านปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ อันจะนำไปสู่การร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและเหมาะสม

ทั้งนี้จะมีการเลือกพื้นที่ ที่จะทำการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา (Dustboy) เป็นจำนวน 5 สถานี ทำการเก็บข้อมูลปริมาณฝุ่น PM10 และ PM2.5 และข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่อุณหภูมิและ ความชื้น เพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงอันเนื่องจากปริมาณฝุ่นที่ตรวจวัดและเผยแพร่ข้อมูลแก่เครือข่ายและสาธารณะชน ซึ่งในทางเทคนิคเครื่องมือวัดฝุ่นละอองในอากาศในปัจจุบันนั้นมีหลายหลายเทคนิคและมีราคาของเครื่องมือที่แตกต่างกันไป เทคนิคและวิธีการในการวัดค่าฝุ่นละอองนั้นควรเป็นไปตามข้อกำหนดสากลได้แก่มาตรฐานของUS-EPA เครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา Dustboy ที่จะนำมาใช้ในงานวิจัยนี้ เป็นเครื่องวัดข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซ็นเซอร์ เชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ

สำหรับข้อมูลในเชิงเทคนิคนั้น Dustboy ใช้เซ็นเซอร์หลักการทางแสงสำเร็จรูป ที่ผลิตโดย บ. NovaFitness (โนวาฟิตเนส) ให้หลักการแปลงค่าการกระเจิงแสงอินฟาเรดระหว่างแหล่งกำเนิดแสง(อินฟาเรด) กับชุดรับแสง (โฟโตไดโอด) สามารถวัด PM10 และ PM2.5 ได้ในเวลาเดียวกัน เซ็นเซอรหลักการนี้มีการประยุกต์ใช้ในเครื่องวัดฝุ่นอย่างของ บ.TSI และ บ.grimm (บ.เดียวที่ใช้หลักการทางแสงที่ได้รับรองจาก US-EPA โดยการใช้งานเซ็นเซอร์เหล่านี้วัดฝุ่นในอากาศโดยตรงจะเกิดตรวจวัดค่าปริมาณฝุ่นPM10 และ PM2.5ด้วยเครื่องDustboy ติดตั้ง 5สถานี รายงานความเสี่ยงเพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัย สถานการณ์ แนวทางปฏิบัติ ระบบรวบรวมข้อมูลและผลการตรวจวัดฝุ่นเม็ดใหญ่ สะสมในตัวเซ็นเซอร์ ทำให้วัดค่าผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง จึงมีการประยุกต์ใช้เทคนิคเฉพาะแต่ละบริษัทให้ลดผลกระทบจากฝุ่นเม็ดใหญ่นี้

รศ.ดร. เศรษฐ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนของ DustBoy ได้พัฒนาอุปกรณ์คัดแยกอนุภาคฝุ่นขนาดใหญ่ออกไปก่อนที่เหลือแต่ PM10 เข้าไปยังเซ็นเซอร์ สามารถใช้งานเซ็นเซอร์วัดฝุ่นPM10 และ PM2.5 ได้โดยไม่ผิดเพี้ยน โดยข้อมูลที่เก็บได้จะถูกเก็บรวบรวมไว้ใน Bigquery เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งในรูปแบบของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลหมอกควัน เพื่อจะรวบรวมและก่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหมอกควันจากนักวิจัยมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และองค์กรต่างๆ นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บได้จะถูกนำมาวิเคราะห์และเผยแพร่ต่อสาธารณะในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ซึ่งจะนำไปสู่การเฝ้าระวังและป้องกันภัยอันเนื่องมาจากปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่อไป.

 

You may also like

ชมรมผู้บริหารงานแม่บ้านโรงแรมจัดงาน“ Chiang Mai Housekeeping Fair 2024

จำนวนผู้