การท่าฯให้เงินตั้งกองทุนเยียวยาปชช เริ่มเปิดบิน 24 ชั่วโมง 1 พ.ย.เชียงใหม่-โอซาก้าประเดิมไฟล์ทแรก

การท่าฯให้เงินตั้งกองทุนเยียวยาปชช เริ่มเปิดบิน 24 ชั่วโมง 1 พ.ย.เชียงใหม่-โอซาก้าประเดิมไฟล์ทแรก

เชียงใหม่เปิดบิน 24 ชั่วโมงเริ่ม 1 พ.ยนี้ประเดิมเที่ยวบินเชียงใหม่-โอซาก้า การท่าฯควักเงินโปะ 4 กองทุนลดผลกระทบและเยียวยาประชาชน ให้ผู้บริหารและผู้นำท้องถิ่นลงพื้นที่ตัวเองชี้แจงกับชาวบ้าน

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมรับฟังประเด็นปัญหาในการขยายเวลาเปิดให้บริการของท่าอากาศยานเชียงใหม่ 24 ชั่วโมง ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองแม่เหียะ โดยมีนายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นาวาอากาศโท รณกร เฉลิมแสนยากร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศบาลเมืองแม่เหียะ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และผู้แทนภาคประชาชนในตำบลแม่เหียะ เข้าร่วมประชุม และซักถามในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เป็นข้อกังวลใจของประชาชน โดยผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.ได้ตอบทุกประเด็นปัญหา รวมถึงการดูแลชุมชนและประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบและมีมติเห็นชอบการขยายเวลาเปิดให้บริการของท่าอากาศยานเชียงใหม่ตามนโยบายรัฐบาล และจะนำผลการประชุมไปชี้แจงให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป

ภายหลังการประชุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. นายกเทศบาลเมืองแม่เหียะ และนายกเทศบาลตำบลสุเทพ ร่วมกันแถลงข่าวยืนยันการขยายเวลาเปิดให้บริการของท่าอากาศยานเชียงใหม่ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป โดยมีข้อสรุปที่ ทอท.ได้ดำเนินการและจะต้องดำเนินการ คือการขยายเวลาให้บริการของท่าอากาศยานเชียงใหม่ เป็นการดำเนินการตามรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เมื่อปี 2548 อย่างเคร่งครัด โดยมีเที่ยวบินในช่วงเวลากลางคืน ระหว่างเวลา 22.00 น.ถึง 07.00 น.ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 6 ของเที่ยวบินที่ทำการบินรวมตลอดทั้งวัน และการให้บริการในช่วงปีแรกจะทำการบินไม่เกินเวลา 01.00 น.และหลังจากนี้จะมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด EIA ใหม่ เพื่อศึกษาทบทวนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และดูแลตามกรอบกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ในการดูแลผลกระทบเฉพาะหน้าของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบในปัจจุบัน ทอท.จะสนับสนุนงบประมาณจัดตั้งกองทุนเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเสียง และซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชน จำนวน 4 กองทุน ตามพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในแนวเส้นเสียง โดยมีผู้นำชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำกับดูแล

นอกจากนี้ทอท.จะจัดการดูแลตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ให้แก่ประชาชนในแนวเส้นเสียง และติดตั้งเครื่องวัดเสียงตามจุดต่างๆ เพื่อประเมินผลกระทบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดสรรพื้นที่ในท่าอากาศยาน ให้วิสาหกิจชุมชนในตำบลแม่เหียะ และตำบลสุเทพ นำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายฟรี

ผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวด้วยว่า ทอท.จะดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับเสียงให้แก่โรงเรียนอนุบาลเมืองแม่เหียะ เพื่อลดผลกระทบด้านเสียงแก่เด็ก
ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มอบนโยบายให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว พิจารณาส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมอาชีพและผลผลิตของคนในชุมชนทั้งสองตำบลด้วย

นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะกล่าวว่า เทศบาลเมืองแม่เหียะได้สำรวจพื้นที่ซึ่งอยู่ในแนวขึ้นลงของเครื่องบินและพื้นที่เส้นเสียงมีประชาชนได้รับผลกระทบ 7 หมู่บ้าน 3,551 ครัวเรือน โดยมาตรการหลังจากที่เริ่มเปิดบิล 24 ชั่วโมงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ก็จะใช้ตามข้อตกลงใน EIA ปี 2548 ส่วนโครงการต่อขยายของธอสที่จะดำเนินการในปี 2570 ก็ยังอยู่ในขั้นตอนกระบวนการทำ EIA ทั้งนี้กองทุนเยียวยาที่ท.อ.ทมอบเงินให้เดิม 5,000 บาทนั้นทางทอท.ได้เพิ่มเป็น 1 ล้านบาทโดยเยียวยาหากเกิดผลกระทบทันทีอย่างเช่นกระเบื้องแตก นอกจากนั้นเทศบาลเมืองแม่เหียะได้แยกอีก 3 กองทุน คือกองทุนม.5 บ้านนิมมานรดี 5 หมื่นบาท,กองทุนม.1 และม.10 จำนวน 5 หมื่นบาทและกองทุนดูแลทั้งตำบลอีก 5หมื่นบาท หากกองทุนไหนเงินหมดก็จะเบิกจากการท่ามาเพิ่มในกองทุนนั้นๆต่อไป นอกจากนี้ก็ยังมีการดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆตลอดจนการตรวจสุขภาพหูประจำปีกับประชาชนทั้ง 7 หมู่บ้าน การติดตั้งเครื่องตรวจวัดระดับเสียงในหมู่บ้านที่เป็นแนวร่อนบินเป็นต้น

ทางด้านนายพศิน อัคเดชธนโชติ นายกเทศมนตรีตำบลสุเทพกล่าวว่า พื้นที่ตำบลสุเทพอยู่ด้านข้างสนามบินจึงได้รับผลกระทบน้อยกว่าอย่างไรก็ตามห่างท่าอากาศยานได้จัดตั้งกองทุนให้จำนวน 50,000 บาทเพื่อเยียวยาและดูแลด้านผลกระทบกับพี่น้องประชาชนซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด โดยที่ผ่านมาการท่าได้เปิดรับฟังความคิดเห็นก็ไม่มีเสียงคัดค้านการเปิดบินตลอด 24 ชั่วโมงด้วย.

You may also like

ดีป้า ปิดท้ายกิจกรรม Coding Inspire กระตุ้นเยาวชนเข้าถึงโค้ดดิ้งเท่าเทียมและทั่วถึง
ภายใต้ โครงการ Coding for Better Life ‘สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

จำนวนผู้