กรมอุทยานแห่งชาติฯ จัดระดมความคิดเห็น ขับเคลื่อนการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.อุทยานฯ

กรมอุทยานแห่งชาติฯ จัดระดมความคิดเห็น ขับเคลื่อนการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.อุทยานฯ

กรมอุทยานแห่งชาติฯ จัดระดมความคิดเห็น ขับเคลื่อนการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2562 มุ่งประโยชน์ทั้งประชาชนและการดูแลป่า


25 มิถุนายน 2566 เวลา 15.00 น. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมรับฟังการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 33 มาตรา 64 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 รุ่นที่ 3 (ภาคเหนือ) พร้อมมอบแนวทางเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ให้มีแนวทางการดำเนินงานตามบทบัญญัติมาตราที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน โดยมีนายพิชิต สมบัติมาก รองปลัด ทส. นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้อำนวยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ผู้อำนวยการส่วน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ หัวหน้าวนอุทยาน หัวหน้าศูนย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามภารกิจ ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 257 คนเข้าร่วม ณ ห้องเชียงใหม่ ชั้น 2 อาคารโรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

โดยที่ประชุมฯ ได้มีการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมสรุปปัญหา อุปสรรค ของการบริหารจัดการพื้นที่ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ตามบทบัญญัติมาตรา 22 อำนาจเจ้าหน้าที่ในการอนุญาตให้บุคคลกระทำการในอุทยานแห่งชาติ มาตรา 23 อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกระทำการในอุทยานแห่งชาติ มาตรา 33 การนำส่ง การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ มาตรา 64 การแก้ไขปัญหาที่ดินของประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาตินับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ มาตรา 65 การใช้ ประโยชน์ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ในอุทยานแห่งชาติเพื่อ แก้ไขปัญหาการดำรงชีพตามวิถีชุมชนรอบบริเวณอุทยานแห่งชาติ

นายจตุพร กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 4 ซึ่งจะเป็นการระดมความคิดเห็นของหน่วยงานในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อสรุปเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 33 มาตรา 64 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 อุทยานแห่งชาตินับเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่สำคัญ จำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากจะต้องยึดกฎหมายระเหลักและกฎหมายรองเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติงานแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมใรการดูแลทรัพยากร เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่อนุรักษ์ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ควบคู่กับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้อย่างยั่งยืน มุ่งประโยชน์ทั้งประชาชนในพื้นที่และการดูแลป่าอย่างสมดุล

สำหรับมาตรา 65 ค่อนข้างกระทบหัวหน้าอุทยานฯเพราะมาตรานี้เป็นการผ่อนปรนให้ประชาชนเข้าไปเก็บหาทรัพยากรธรรชาติที่เกิดใหม่ได้ เพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีพ โดยให้กรมอุทยานฯเสตอต่อครม.เสนอการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ประกาศดังกล่าวมีระยะเวลาถึง 20 ปี ซึ่งการเก็บทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดใหม่นี้ในกลุ่มได้มีการเสนอความเห็นว่าถ้าจะให้เกิดความยั่งยืนควรจะกำหนดขอบเขตเกี่ยวกับวิธีการจัดหา และควรกำหนดช่วงเวลาด้วย รวมถึงกำหนดคุณสมบัติและขอบเขตที่ชัดเจน มีการลงทะเบียนเข้าออกและวิธีการจัดการหรือจัดเก็บเป็นต้น

“มาตราที่สำคัญและห่วงก็คือม.64 การแก้ไขปัญหาที่ดินของประชาชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานฯนับแต่วันทึ่พ.ร บ.บังคับใช้ ต้องรอกรมการปกครองประกาศรับรองก่อน และมีตั้ง 200 กว่าแนวเขตที่ได้สำรวจและส่งไปให้กรมการปกครองแล้วแต่ก็ช้ามาก ซึ่งคทช.ก.ทรัพย์เป็นคนหาพื้นที่ แต่การจัดคนลงเป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยจึงทำให้เป็นปัญหา”นายจตุพรกล่าว.

You may also like

ดีป้า ปิดท้ายกิจกรรม Coding Inspire กระตุ้นเยาวชนเข้าถึงโค้ดดิ้งเท่าเทียมและทั่วถึง
ภายใต้ โครงการ Coding for Better Life ‘สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

จำนวนผู้